ชื่อเรื่อง | : | การปรับปรุงตัวบ่งชี้สำหรับการประกันคุณภาพการศึกษาในหลักสูตรอุดมศึกษา หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
นักวิจัย | : | ทักษิณา คุณมาศ |
คำค้น | : | ประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา , การศึกษาขั้นอุดมศึกษา , การบริหารความเสี่ยง , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ดำรงค์ ทวีแสงสกุลไทย , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2548 |
อ้างอิง | : | 9745328154 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4492 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 พัฒนาตัวบ่งชี้ สำหรับการประกันคุณภาพการศึกษา หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยอาศัยแนวคิดของดัชนีชี้วัดความสำเร็จแบบสมดุล และการบริหารความเสี่ยง การพัฒนาตัวบ่งชี้เริ่มจากการสร้างแผนที่กลยุทธ์ของคณะฯ จากนั้นกำหนดตัวบ่งชี้พร้อมทั้งจำแนกออกเป็น 4 มุมมอง ผลการดำเนินการทำให้ได้ตัวบ่งชี้ทั้งหมด 55 ตัวบ่งชี้ ภายใต้ 13 หลักเกณฑ์ที่สอดคล้องกับแผนที่กลยุทธ์ ประกอบด้วย คุณภาพบัณฑิต ผลงานวิชาการ นิสิต กลไกการเรียนการสอน กลไกการพัฒนางานวิจัยและบริการวิชาการ ระบบคุณภาพภายในคณะ ระบบการบริหารจัดการ การประชาสัมพันธ์ภายในและภายนอกคณะ โครงสร้างพื้นฐานทางการศึกษา ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาคณาจารย์ การพัฒนาบุคลากรและการเงิน ถัดมาเป็นการแปลงตัวบ่งชี้ดังกล่าวสู่ระดับหน่วยงาน และเสนอแผนปฏิบัติเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติของหน่วยงาน จากนั้นเลือกตัวบ่งชี้ "ระดับความพึงพอใจของผู้ประกอบการที่ว่าจ้างบัณฑิต" มาทดลองปฏิบัติ ผลจากการรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามพบว่า ช่วงปีการศึกษา 2542-2544 และช่วงปีการศึกษา 25444-2546 ระดับความพึงพอใจคุณภาพบัณฑิต คิดเป็น 77.7% และ 78.6% ตามลำดับ สำหรับการจัดทำระบบบริหารความเสี่ยง กำหนดวัตถุประสงค์การดำเนินการว่า "ระดับความพึงพอใจของผู้ประกอบการที่ว่าจ้างบัณฑิต ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 85" จากการประเมินพบว่ามีเหตุปัจจัยเสี่ยงทั้งหมด 18 ประการ และเมื่อพิจารณาจากคะแนนซึ่งเป็นผลคูณระหว่างโอกาสเกิดความเสี่ยง และความรุนแรงของความเสี่ยงพบว่ามีเหตุปัจจัยเสี่ยงขั้นรุนแรง 2 ประการคือ ขาดความรับผิดชอบ และไม่สามารถวิเคราะห์ปัญหาและตัดสินใจอย่างมีระบบ จากนั้นอาศัยการวิเคราะห์แขนงความบกพร่องเพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุ พร้อมทั้งเสนอแผนจัดการความเสี่ยงจำนวน 5 แผน เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานนำไปปฏิบัติ และจากตัวบ่งชี้ที่พัฒนาขึ้น 55 ตัวนั้นพบว่ามี 19 ตัวที่เพิ่มเติมขึ้นเพื่อใช้เป็นกลไกในการป้องกันความเสี่ยงจากการดำเนินการ โดยเน้นเรื่องคุณภาพบัณฑิต ผลงานวิชาการ นิสิต กลไกการเรียนการสอนที่ต้องได้รับการยอมรับทั้งระดับประเทศและนานาชาติ |
บรรณานุกรม | : |
ทักษิณา คุณมาศ . (2548). การปรับปรุงตัวบ่งชี้สำหรับการประกันคุณภาพการศึกษาในหลักสูตรอุดมศึกษา หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทักษิณา คุณมาศ . 2548. "การปรับปรุงตัวบ่งชี้สำหรับการประกันคุณภาพการศึกษาในหลักสูตรอุดมศึกษา หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทักษิณา คุณมาศ . "การปรับปรุงตัวบ่งชี้สำหรับการประกันคุณภาพการศึกษาในหลักสูตรอุดมศึกษา หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548. Print. ทักษิณา คุณมาศ . การปรับปรุงตัวบ่งชี้สำหรับการประกันคุณภาพการศึกษาในหลักสูตรอุดมศึกษา หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.
|