ชื่อเรื่อง | : | ฟิล์มเคลือบบริโภคได้สำหรับยืดอายุการเก็บรักษาเนื้อทุเรียนพันธุ์หมอนทอง |
นักวิจัย | : | ยุวลักษณ์ ศิริพลบุญ |
คำค้น | : | ทุเรียน -- การเก็บและรักษา , ฟิล์มบาง |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | โศรดา กนกพานนท์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2548 |
อ้างอิง | : | 9745315141 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4402 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 งานวิจัยนี้เป็นรายงานครั้งแรกที่มีการพัฒนาสูตร และทดสอบฟิล์มเคลือบบริโภคได้สำหรับเคลือบเนื้อทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ฟิล์มผลิตจากส่วนผสมของพอลิเมอร์ชีวภาพที่ผลิตได้ในประเทศไทย 2 ชนิด คือ ไคโตซาน และเจลาติน โดยมีการผสมสารซอร์บิทอลเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของฟิล์มแล้วนำไปทดสอบค่าความทนแรงดึง การยืดตัว ความสามารถในการแพร่ผ่านของไอน้ำ และอุณหภูมิเปลี่ยนสถานะคล้ายแก้ว ฟิล์มเคลือบเนื้อผลไม้ที่ผลิตขึ้นมีอุณหภูมิเปลี่ยนสถานะคล้ายแก้วอยู่ในระหว่าง -20 ถึง 5 องศาเซลเซียส มีความทนแรงดึงของฟิล์ม (tensile strength) ระหว่าง 2.40-13.74 เมกะปาสคาล การยืดตัว (% elongation) 99.8-216.68 เปอร์เซ็นต์ และความสามาราถในการแพร่ผ่านของไอน้ำ 1.7-4.4x10[superscript -10] กรัม-เมตรต่อพื้นที่-วินาที-ความดัน ในงานวิจัยนี้ได้มีการคัดเลือกสูตรของฟิล์มที่มีการศึกษาลักษณะทางกายภาพและทางกล 4 สูตร และนำมาพ่นเคลือบในอัตรา 23.2 มิลลิลิตร ต่อเนื้อทุเรียน 1 กิโลกรัม เป่าให้แห้ง แล้วเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 100 เปอร์เซ็นต์ เป็นระยะเวลา 26 วัน เนื้อทุเรียนหมอนทองกลุ่มที่ได้รับการเคลือบด้วยฟิล์มบริโภคได้มีลักษณะทางคุณภาพที่ดีกว่าเนื้อทุเรียนกลุ่มควบคุม (ไม่ได้รับการเคลือบ) โดยมีการสูญเสียน้ำหนัก อัตราการหายใจและอัตราการผลิตเอทิลีนต่ำกว่าเนื้อทุเรียนกลุ่มที่ไม่ได้เคลือบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่การเคลือบเนื้อทุเรียนด้วยฟิล์มเคลือบบริโภคได้ไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสีเนื้อ ค่าความแน่นเนื้อ และปริมาณของแข็งละลายน้ำได้ จากการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะทางคุณภาพของเนื้อทุเรียนในระหว่างกลุ่มที่มีการเคลือบพบว่าสูตรที่ให้ประสิทธิภาพการเก็บรักษาเนื้อทุเรียนหมอนทองดีที่สุดประกอบด้วย เจลาติน 2%, ไคโตซาน 1%, และซอร์บิทอล 0.2% (โดยน้ำหนัก) ซึ่งสามารถลดการสูญเสียน้ำหนักของเนื้อทุเรียนลง 36% และลดอัตราการหายใจลง 48.5 เปอร์เซ็นต์ และลดการผลิตเอทิลีนลง 27.5 เปอร์เซ็นต์ (ในวันที่ 5 ของการทดลอง (climacteric peak)) เมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อทุเรียนที่ไม่ได้เคลือบ การเคลือบฟิล์มนี้ไม่ทำให้เกิดกลิ่นและรสชาติผิดปกติ เป็นที่พึงพอใจของผู้บริโภค และสามารถใช้ในการเก็บรักษาเนื้อทุเรียนเป็นเวลาอย่างน้อย 26 วัน ที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ 100 เปอร์เซ็นต์ สูตรสารเคลือบดังกล่าวจึงมีความเหมาะสมที่จะถูกนำไปใช้ในการยืดอายุการเก็บรักษาเนื้อทุเรียนหมอนทอง และสามารถใช้เป็นสูตรพื้นฐานสำหรับพัฒนาสูตรสารเคลือบเนื้อทุเรียนในขั้นต่อไป หรือนำไปประยุกต์ใช้กับผลไม้เขตร้อนชนิดอื่นๆ |
บรรณานุกรม | : |
ยุวลักษณ์ ศิริพลบุญ . (2548). ฟิล์มเคลือบบริโภคได้สำหรับยืดอายุการเก็บรักษาเนื้อทุเรียนพันธุ์หมอนทอง.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ยุวลักษณ์ ศิริพลบุญ . 2548. "ฟิล์มเคลือบบริโภคได้สำหรับยืดอายุการเก็บรักษาเนื้อทุเรียนพันธุ์หมอนทอง".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ยุวลักษณ์ ศิริพลบุญ . "ฟิล์มเคลือบบริโภคได้สำหรับยืดอายุการเก็บรักษาเนื้อทุเรียนพันธุ์หมอนทอง."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548. Print. ยุวลักษณ์ ศิริพลบุญ . ฟิล์มเคลือบบริโภคได้สำหรับยืดอายุการเก็บรักษาเนื้อทุเรียนพันธุ์หมอนทอง. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.
|