ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียขนาดเล็กแบบติดกับที่สำหรับร้านอาหารริมน้ำ |
นักวิจัย | : | ณฤทธิ์ สนทอง |
คำค้น | : | น้ำเสีย -- การบำบัด |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ชวลิต รัตนธรรมสกุล , อรทัย ชวาลภาฤทธิ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9745315915 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4194 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 การพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียขนาดเล็กแบบติดกับที่สำหรับร้านอาหารริมน้ำ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียขนาดเล็กสำหรับบำบัดน้ำเสียจากร้านอาหารให้ได้ประสิทธิภาพและมีความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐศาสตร์สูงที่สุด โดยทำการศึกษาระบบบำบัดน้ำเสีย 3 รูปแบบ คือ แบบถังเกรอะ+กรองเติมอากาศสัมผัสที่มีระยะเวลาเก็บกักน้ำเสีย 56 (32+24) ชั่วโมง และระบบบำบัดน้ำเสียแบบถังเกรอะ+กรองไร้อากาศ+กรองแบบเติมอากาศสัมผัส ที่มีระยะเวลาเก็บกักต่างกัน คือ ระยะเวลาเก็บกักน้ำเสีย 68 (32+18+18) และ 80 (32+24+24) ชั่วโมง ตามลำดับ ซึ่งแต่ละระบบมีค่าอัตราการไหลเข้าของน้ำเสีย 3 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน และอัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์เท่ากับ 2.4 กิโลกรัมบีโอดีต่อลูกบาศก์เมตรต่อวัน ทำการทดลอง 1 ครั้งต่อสัปดาห์ รวม 16 ครั้ง พบว่าระบบบำบัดน้ำเสียแบบถังเกรอะ+กรองเติมอากาศสัมผัส มีประสิทธิภาพในการบำบัดบีโอดี ของแข็งแขวนลอย ของแข็งตะกอนหนัก ของแข็งละลายได้ทั้งหมด ซัลไฟด์ ไนโตรเจนในรูปทีเคเอ็น และน้ำมันและไขมัน ได้ร้อยละ 95.14 95.48 99.55 15.37 96.95 94.60 และ 94.61 ตามลำดับ ระบบบำบัดน้ำเสียแบบถังเกรอะ+กรองไร้อากาศ+กรองเติมอากาศสัมผัสที่มีระยะเวลาเก็บกักน้ำเสีย 68 (32-18+18) ชั่วโมง มีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียพารามิเตอร์ดังกล่าวร้อยละ 95.17 97.13 98.95 92.84 25.40 98.12 และ 87.37 ตามลำดับ และระบบบำบัดน้ำเสียแบบถังเกรอะ+กรองไร้อากาศ+กรองเติมอากาศสัมผัสที่มีระยะเวลาเก็บกักน้ำเสีย 80 (32+24+24) ชั่วโมง มีประสิทธิภาพในการบำบัดร้อยละ 95.76 98.11 97.34 93.98 13.41 97.35 และ 99.06 ตามลำดับ โดยพบว่า ระบบบำบัดน้ำเสียทั้ง 3 รูปแบบ สามารถบำบัดน้ำเสียพารามิเตอร์ต่างๆ ได้ดีไม่แตกต่างกัน ยกเว้นประสิทธิภาพการบำบัดไนโตรเจนในรูปของทีเคเอ็น ที่พบว่าระบบที่มีถังกรองไร้อากาศสามารถบำบัดได้ดีกว่า และแตกต่างจากระบบที่ไม่มีถังกรองไร้อากาศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อีกทั้งพบว่าระบบที่มีถังกรองไร้อากาศที่มีระยะเวลาเก็บกักน้ำเสีย 68 (32+18+18) ชั่วโมง สามารถบำบัดของแข็งละลายได้ทั้งหมดได้สูงที่สุดและแตกต่างจากระบบอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่โดยสรุประบบบำบัดน้ำเสียทั้ง 3 รูปแบบมีประสิทธิภาพการบำบัดบีโอดี ของแข็งแขวนลอย ของแข็งตะกอนหนัก ซัลไฟด์ ไนโตรเจนในรูปทีเคเอ็น และน้ำมันและไขมันได้ตามมาตรฐานน้ำทิ้งจากอาคารประเภท ง ยกเว้นของแข็งละลายได้ทั้งหมดซึ่งไม่สามารถบำบัดได้ตามมาตรฐานน้ำทิ้งจากอาคารประเภท ง โดยระบบบำบัดน้ำเสียแบบกังเกรอะ+กรองเติมอากาศสัมผัสที่มีระยะเวลาเก็บกัก 56 (32+34) ชั่วโมงมีการลงทุนทางด้านเศรษฐศาสตร์ต่ำสุด จึงเป็นระบบที่มีความเหมาะสมทั้งทางด้านประสิทธิภาพและความคุ้มทุนทางด้านเศรษฐศาสตร์สำหรับร้านอาหารริมน้ำ |
บรรณานุกรม | : |
ณฤทธิ์ สนทอง . (2547). การพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียขนาดเล็กแบบติดกับที่สำหรับร้านอาหารริมน้ำ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ณฤทธิ์ สนทอง . 2547. "การพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียขนาดเล็กแบบติดกับที่สำหรับร้านอาหารริมน้ำ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ณฤทธิ์ สนทอง . "การพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียขนาดเล็กแบบติดกับที่สำหรับร้านอาหารริมน้ำ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. ณฤทธิ์ สนทอง . การพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียขนาดเล็กแบบติดกับที่สำหรับร้านอาหารริมน้ำ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|