ชื่อเรื่อง | : | ระบบบ่งชี้ผู้พูดแบบระบบเปิดโดยใช้แบบจำลองฮิตเดนมาร์คอฟแบบหลายชุดรหัส |
นักวิจัย | : | พงศ์ไท ทาสระคู |
คำค้น | : | การรู้จำเสียงพูดอัตโนมัติ , แบบจำลองฮิดเดนมาร์คอฟ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สมชาย จิตะพันธ์กุล , จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2542 |
อ้างอิง | : | 9743340386 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4186 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอระบบบ่งชี้ผู้พูดแบบระบบเปิด โดยใช้แบบจำลองฮิดเดนมาร์คอฟร่วมกับการควอนไทซ์แบบเวกเตอร์ โดยใช้ชุดรหัสแบบหลายชุดรหัส ระบบบ่งชี้ผู้พูดนี้เป็นระบบที่ขึ้นกับบทคำพูด และใช้กับเสียงพูดต่อเนื่อง ในขั้นตอนการตรวจสอบผู้พูดซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของระบบบ่งชี้ผู้พูดแบบระบบเปิดนั้น ได้มีการนำเสนอฟังก์ชันของความแตกต่างขึ้นมาใช้ สำหรับการทดลองทำกับฐานข้อมูลเสียงพูดกับตัวเลขต่อเนื่อง "สาม-ห้า-สอง-เก้า-สี่" โดยแบ่งเป็นจำนวนผู้พูดในระบบ 10 คน และจำนวนของผู้พูดนอกระบบ 17 คน ผู้พูดแต่ละคนจะบันทึกเสียงแยกกัน 2 ช่วง แต่ละช่วงเว้นห่างกัน 1 เดือน และการบันทึกเสียงในแต่ละช่วงจะบันทึกคนละ 10 เสียง ผลการทดลองปรากฏว่า ลักษณะสำคัญ MFCC ให้ผลดีที่สุดจากการศึกษาลักษณะสำคัญ 3 แบบ ได้แก่ LPC, CEP, และ MFCC พบว่า MFCC ให้อัตราการบ่งชี้ผิดพลาดเฉลี่ยเป็น 0.40 เปอร์เซ็นต์ อัตราการยอมรับผิดพลาดเฉลี่ย 0.71 เปอร์เซ็นต์ และอัตราการปฏิเสธผิดพลาดเฉลี่ย 9.40 เปอร์เซ็นต์ |
บรรณานุกรม | : |
พงศ์ไท ทาสระคู . (2542). ระบบบ่งชี้ผู้พูดแบบระบบเปิดโดยใช้แบบจำลองฮิตเดนมาร์คอฟแบบหลายชุดรหัส.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พงศ์ไท ทาสระคู . 2542. "ระบบบ่งชี้ผู้พูดแบบระบบเปิดโดยใช้แบบจำลองฮิตเดนมาร์คอฟแบบหลายชุดรหัส".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พงศ์ไท ทาสระคู . "ระบบบ่งชี้ผู้พูดแบบระบบเปิดโดยใช้แบบจำลองฮิตเดนมาร์คอฟแบบหลายชุดรหัส."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542. Print. พงศ์ไท ทาสระคู . ระบบบ่งชี้ผู้พูดแบบระบบเปิดโดยใช้แบบจำลองฮิตเดนมาร์คอฟแบบหลายชุดรหัส. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.
|