ชื่อเรื่อง | : | การวิเคราะห์ธาตุหลักบางชนิดในดิน ณ พื้นที่โดยใช้เทคนิคนิวตรอน |
นักวิจัย | : | พรรณี เสถียรศรี |
คำค้น | : | นิวตรอน , รังสีแกมมา , ธาตุ -- การวิเคราะห์ , ดิน -- การวิเคราะห์ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | นเรศร์ จันทน์ขาว , พรรัตน์ ศรีสวัสดิ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2542 |
อ้างอิง | : | 9743342621 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4185 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 ทดลองใช้เทคนิคนิวตรอนในการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ และเชิงกึ่งปริมาณของธาตุบางชนิดในดิน ณ พื้นที่ เทคนิคที่ใช้มีสามเทคนิค คือ เทคนิคการวัดรังสีพรอมต์แกมมาจากปฏิกิริยาการจับนิวตรอน เทคนิคการวัดรังสีพรอมต์แกมมาจากปฏิกิริยาการชนแบบไม่ยืดหยุ่นของนิวตรอน และเทคนิคนิวตรอนแอกติเวชัน ส่วนสำคัญของระบบวิเคราะห์ที่ใช้ คือ ต้นกำเนิดนิวตรอนอะเมริเซียม -241/เบริลเลียม ความแรง 1 คูรี (37 กิกะเบคเคอเรล) และหัววัดรังสีเจอร์มาเนียมบริสุทธิ์สูง ชนิดรีเวอร์สอิเล็กโทรดแบบที่ใช้งานในภาคสนาม ผลการวิจัยพบว่ามี จำนวน 8 ธาตุที่มาวิเคราะห์ได้ด้วยเทคนิคการวัดรังสีพรอมต์แกมมา จากปฏิกิริยาการจับนิวตรอน คือ ไฮโดรเจน โบรอน ออกซิเจน อะลูมิเนียม ซิลิกอน แคลเซียม ไททาเนียมและเหล็ก และมี 5 ธาตุที่สามารถวิเคราะห์ ได้ด้วยเทคนิคการวัดรังสีพรอมต์แกมมาจากปฏิกิริยาการชน แบบไม่ยืดหยุ่นของนิวตรอน คือ ออกซิเจน อะลูมิเนียม ซิลิกอน โปแตสเซียมและเหล็ก ส่วนเทคนิคนิวตรอนแอกติเวชันเหมาะสำหรับการวิเคราะห์ โซเดียม อะลูมิเนียม คลอรีน และแมงกานีส การทดลองวิเคราะห์ธาตุเชิงกึ่งปริมาณ ณ พื้นที่ ได้ใช้ผลการวิเคราะห์ดินโดยเทคนิคนิวตรอนแอกติเวชันในห้องปฏิบัติการ มาสร้างกราฟปรับเทียบและใช้พีคแกมมา จากปฏิกิริยาจับนิวตรอนของอินเดียม ในหัววัดรังสีในการปรับแก้ความเข้มรังสีแกมมาของธาตุต่างๆ ผลการทดลองวิเคราะห์ธาตุ 5 ธาตุ เชิงกึ่งปริมาณ ณ พื้นที่ 8 แห่ง ได้ผลดังนี้ คือ จากเทคนิคการวัดรังสีพรอมต์แกมมา จากปฏิกิริยาการจับนิวตรอน ได้ปริมาณ ซิลิกอน ไททาเนียม และเหล็ก อยู่ในช่วง 256.53-453.75, 3.54-8.75 และ 10.95-65.97 g/kg ตามลำดับ จากเทคนิคนิวตรอนแอกติเวชัน ณ พื้นที่ ได้ปริมาณอะลูมิเนียมและแมงกานีส อยู่ในช่วง 11.26-67.11 และ 0.11-2.28 g/kg ตามลำดับ นอกจากนี้ผลการวัดรังสีแกมมาโดยตรง ณ พื้นที่ จากโปแตสเซียม-40 ได้ปริมาณโปแตสเซียมอยู่ในช่วง 0.23-1.26% ส่วนผลการวิเคราะห์ธาตุโดยเทคนิคการวัดรังสีพรอมต์แกมมา จากปฏิกิริยาการชนแบบไม่ยืดหยุ่นของนิวตรอน ยังได้ผลไม่แน่นอน เนื่องจากมีข้อมูลไม่เพียงพอสำหรับการปรับเทียบ และผลการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคนิวตรอนแอกติเวชัน ในห้องปฏิบัติการมีความแปรปรวนสูง |
บรรณานุกรม | : |
พรรณี เสถียรศรี . (2542). การวิเคราะห์ธาตุหลักบางชนิดในดิน ณ พื้นที่โดยใช้เทคนิคนิวตรอน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พรรณี เสถียรศรี . 2542. "การวิเคราะห์ธาตุหลักบางชนิดในดิน ณ พื้นที่โดยใช้เทคนิคนิวตรอน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พรรณี เสถียรศรี . "การวิเคราะห์ธาตุหลักบางชนิดในดิน ณ พื้นที่โดยใช้เทคนิคนิวตรอน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542. Print. พรรณี เสถียรศรี . การวิเคราะห์ธาตุหลักบางชนิดในดิน ณ พื้นที่โดยใช้เทคนิคนิวตรอน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.
|