ชื่อเรื่อง | : | การหาภาวะที่เหมาะสมในการตรึงรูปเดกซ์แทรนเนสบนผิวทรายในเครื่องปฏิกรณ์แบบฟลูอิดไดซ์เบด |
นักวิจัย | : | นฤมล วงศาสุข, 2522- |
คำค้น | : | เด็กซ์แทรนเนส , เครื่องปฏิกรณ์แบบฟลูอิไดซ์ , น้ำตาลทราย -- การผลิต , เพนนิซิลเลียม |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุเทพ ธนียวัน , สมศักดิ์ ดำรงค์เลิศ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9745313319 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3983 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 ในการศึกษาครั้งนี้ ได้ทำการตรึงรูปเดกซ์แทรนเนสจากเชื้อ Penicillium sp. สายพันธุ์ SMCU 3-14 ซึ่งมีความสามารถในการผลิตเด็กซ์แทรนเนส บนผิวของทรายที่มีขนาด 16-20 เมซ โดยใช้กลูตารัลดีไฮด์เป็นสารช่วยตรึง ได้ทำการศึกษาตัวแปรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการตรึงรูป ได้แก่ ความเป็นกรดด่าง, ปริมาณเอนไซม์, ความเข้มข้นของกลูตารัลดีไฮด์, ระยะเวลาในการทำปฏิกิริยา ทั้งในการทดลองระดับขวดเขย่าและในเครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิดไดซ์เบด และได้ทำการเปรียบเทียบสมบัติของเดกซ์แทรนเนสตรึงรูปกับเดกซ์แทรนเนสอิสระ พบว่าภาวะที่เหมาะสม สำหรับการตรึงรูป คือ ใช้กลูตารัลดีไฮด์ที่ความเข้มข้น 2.5% (โดยปริมาตร) และเดกซ์แทรนเนสเริ่มต้นที่ 0.778 มก.ต่อมล. ในระดับขวดเขย่า และเอนไซม์เจือจาง 10 เท่า ในการตรึงในเครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิดไดซ์เบด ทำการตรึงที อุณหภูมิห้องที่มีความเร็ว 200 รอบต่อนาที สำหรับการตรึงในขวดเขย่า และอัตราการให้อากาศ 2.0 ปริมาตรอากาศต่อปริมาตรสารละลายในเครื่องปฏิกรณ์ โดยใช้เวลา 120 นาทีในการตรึงกลูตารัลดีไฮด์ในขวดเขย่าและ 60 นาที ในเครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิดไดซ์ที่ความเป็นกรดด่าง 7.0 และในขั้นตอนการตรึงรูปใช้เวลา 45 นาทีในขวดเขย่า 30 นาทีในเครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิดไดซ์ที่ความเป็นกรดด่าง 4.0 เมื่อทำการเปรียบเทียบสมบัติของเดกซ์แทรนเนสตรึงรูปที่ได้กับเอนไซม์อิสระ พบว่า เดกซ์แทรนเนสตรึงรูปมีอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการทำงานเท่ากันคือ 55 องศาเซลเซียส ความเป็นกรดค่างที่เหมาะสมกับการทำงานเปลี่ยนจาก 4.5 เป็น 5.0 สามารถทำงานได้ที่ช่วงความเป็นกรดด่างกว้างขึ้นที่ 4.5-6.0 มีความเสถียรต่ออุณหภูมิและความเป็นกรดด่างมากขึ้น และค่า K[subscript M] ของเอนไซม์ตรึงมีค่ามากกว่าเอนไซม์อิสระที่ 0.002 และ 0.0009 มิลลิโมลาร์ ตามลำดับ และเมื่อนำมาใช้ซ้ำพบว่ามีแอคติวิตีเหลืออยู่ 25% หลังจาการใช้รอบที่ 6 |
บรรณานุกรม | : |
นฤมล วงศาสุข, 2522- . (2547). การหาภาวะที่เหมาะสมในการตรึงรูปเดกซ์แทรนเนสบนผิวทรายในเครื่องปฏิกรณ์แบบฟลูอิดไดซ์เบด.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นฤมล วงศาสุข, 2522- . 2547. "การหาภาวะที่เหมาะสมในการตรึงรูปเดกซ์แทรนเนสบนผิวทรายในเครื่องปฏิกรณ์แบบฟลูอิดไดซ์เบด".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นฤมล วงศาสุข, 2522- . "การหาภาวะที่เหมาะสมในการตรึงรูปเดกซ์แทรนเนสบนผิวทรายในเครื่องปฏิกรณ์แบบฟลูอิดไดซ์เบด."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. นฤมล วงศาสุข, 2522- . การหาภาวะที่เหมาะสมในการตรึงรูปเดกซ์แทรนเนสบนผิวทรายในเครื่องปฏิกรณ์แบบฟลูอิดไดซ์เบด. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|