ชื่อเรื่อง | : | ระดับคาร์บามายเลตเตด ฮีโมโกลบิน (วาลีน ไฮแดนโตอิน) ในผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรัง |
นักวิจัย | : | อดิศว์ ทัศณรงค์, 2513- |
คำค้น | : | ไตวายเรื้อรัง -- ผู้ป่วย , ไตวายเฉียบพลัน -- ผู้ป่วย , ฮีโมโกลบิน |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สมชาย เอี่ยมอ่อง , ธาดา สืบหลินวงศ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2542 |
อ้างอิง | : | 9743346449 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3930 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 ที่มาและเหตุผล ในภาวะปกติของร่างกาย ยูเรียในเลือดจะมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็น isocyanic acid ซึ่งจะทำปฏิกิริยา คาร์บามายเลชั่นกับสายโปรตีนบนฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงได้เป็น "คาร์บอนมายเลตเตด ฮีโมโกลบิน" ในผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายจะมีระดับยูเรียในเลือดสูงขึ้น ซึ่งก็จะทำให้ระดับคาร์บามายเลต ฮีโมโกลบินในเลือดสูงขึ้นด้วย โดยจะมีความสัมพันธ์ทั้งกับระดับของยูเรียในเลือดที่สูงขึ้นและระยะเวลาที่ในเลือดมีระดับยูเรียสูง ดังนั้นในผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันเมื่อเทียบกับผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง พบว่าระดับของยูเรียในเลือดของทั้ง 2 กลุ่ม อาจจะไม่แตกต่างกันแต่ระยะเวลาที่ในเลือดมีระดับยูเรียสูงในผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันนั้นสั้นกว่า จึงน่าที่จะมีระดับคาร์บามายเลตเตด ฮีโมโกลบินต่ำกว่าด้วย วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับคาร์บามายเลตเตด ฮีโมโกลบิน ในผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันเปรียบเทียบกับผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง 2. เพื่อหาค่าของ คาร์บามายเลตเตด ฮีโมโกลบิน ที่มีความไวและความจำเพาะสูงในการแยกผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันออกจากผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันออกจากผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ตัวอย่างและวิธีการศึกษา การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบไปข้างหน้าเพื่อการวินิจฉัยโรค โดยทำการศึกษาในช่วงเวลา 1 ปี จากเดือนมกราคม ถึง ธันวาคม ปี 2542 ผู้ป่วยที่เข้าสู่การศึกษาครั้งนี้เป็นผู้ป่วยไตวายเฉียบพลัน 35 คน และผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง 39 คน โดยการเจาะเลือดผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มแล้วนำไปตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาค่าคาร์บามายเลตเตด ฮีโมโกลบิน ด้วยวิธีการ hydrolysis, extraction และ high-performance liquid chromatography ซึ่งจะวัดค่าของระดับคาร์บามายเลตเตด ฮีโมโกลบินออกมาในรูปของ วาลีนไฮแดนโตอิน ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยของระดับคาร์บามายเลตเตด ฮีโมโกลบินในผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันมีค่าเท่ากับ 54.77+-23.64 mugVH/gHb เทียบกับในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่มีค่าเท่ากับ 121.17+-52.29 mugVH/gHb ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) พบว่าระดับคาร์บามายเลตเตด ฮีโมโกลบินที่ต่ำกว่า 80 muVH/gHb ใช้แยกผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันจากผู้ป่วยไตวายเรื้อรังได้ดี โดยมีความไว 89% และความจำเพาะ 82% รวมทั้งอัตราส่วนระหว่างระดับคาร์บามายเลตเตด ฮีโมโกลบินกับระดับยูเรียในเลือดที่ต่ำกว่า 1.5 ก็สามารถใช้ในการแยกผู้ป่วย ทั้ง 2 กลุ่มออกจากกันได้ดี โดยมีความไว 89% และความจำเพาะ 72% สรุป 1. การวัดระดับคาร์บามายเลตเตด ฮีโมโกลบิน สามารถใช้ในการแยกผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันออกจากผู้ป่วยไตวายเรื้อรังได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. ระดับคาร์บามายเลตเตด ฮีโมโกลบิน ที่ต่ำกว่า 80 mugVH/gHb และอัตราส่วนระหว่างระดับคาร์บามายเลตเตดฮีโมโกลบินกับระดับยูเรียในเลือดที่ต่ำกว่า 1.5 สามารถใช้แยกผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันออกจากผู้ป่วยเรื้อรังได้ |
บรรณานุกรม | : |
อดิศว์ ทัศณรงค์, 2513- . (2542). ระดับคาร์บามายเลตเตด ฮีโมโกลบิน (วาลีน ไฮแดนโตอิน) ในผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรัง.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อดิศว์ ทัศณรงค์, 2513- . 2542. "ระดับคาร์บามายเลตเตด ฮีโมโกลบิน (วาลีน ไฮแดนโตอิน) ในผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรัง".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อดิศว์ ทัศณรงค์, 2513- . "ระดับคาร์บามายเลตเตด ฮีโมโกลบิน (วาลีน ไฮแดนโตอิน) ในผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรัง."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542. Print. อดิศว์ ทัศณรงค์, 2513- . ระดับคาร์บามายเลตเตด ฮีโมโกลบิน (วาลีน ไฮแดนโตอิน) ในผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรัง. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.
|