ชื่อเรื่อง | : | ผลของการสอนกลวิธีในการปฏิสัมพันธ์ ที่มีต่อความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และการใช้กลวิธีในการปฏิสัมพันธณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 |
นักวิจัย | : | ชูขวัญ รัตนพิทักษ์ธาดา, 2505- |
คำค้น | : | ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน , ภาษาอังกฤษ -- การพูด , การสื่อทางภาษา |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุมิตรา อังวัฒนกุล , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2543 |
อ้างอิง | : | 9741310285 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3878 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 ศึกษาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนกลวิธีในการปฏิสัมพันธ์ เปรียบเทียบความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการสอนกลวิธีในการปฏิสัมพันธ์ และกลุ่มที่ได้รับการสอนปกติ ศึกษาปริมาณการใช้กลวิธีในการปฏิสัมพันธ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนกลวิธีในการปฏิสัมพันธ์ และเปรียบเทียบปริมาณการใช้กลวิธีในการปฏิสัมพันธ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังได้รับการสอนกลวิธีในการปฏิสัมพันธ์ ตัวอย่างประชากรในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดทรงธรรม สมุทรปราการ ปีการศึกษา 2543 ซึ่งได้จากการสุ่มแบบเจาะจงมา 2 กลุ่มๆ ละ 30 คน โดยสุ่มให้นักเรียนกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มทดลอง ที่ได้รับการสอนกลวิธีในการปฏิสัมพันธ์ และอีกกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนปกติ ผู้วิจัยสอนนักเรียนทั้งสองกลุ่มด้วยตนเอง โดยใช้เวลาสอนทั้งสิ้น 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 คาบ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการสอนกลุ่มละ 12 แผนการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร จำนวน 2 ฉบับ ซึ่งเป็นแบบสอบคู่ขนาน และแบบสังเกตปริมาณการใช้กลวิธีในการปฏิสัมพันธ์ จำนวน 1 ฉบับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผู้วิจัยทดสอบความสามารถ ในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนทั้ง 2 กลุ่ม ก่อนการทดลองด้วยแบบสอบฉบับที่ 1 และหลังการทดลองด้วยแบบสอบฉบับที่ 2 อีกทั้งประเมินความถี่ในการใช้กลวิธีในการปฏิสัมพันธ์ ของกลุ่มทดลองก่อนและหลังการทดลอง ด้วยแบบสังเกตปริมาณการใช้กลวิธีในการปฏิสัมพันธ์ แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าร้อยละของค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าที และค่าไคสแควร์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนกลวิธีในการปฏิสัมพันธ์ มีความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร จากการทำกิจกรรมการสัมภาษณ์ การเล่าเรื่องจากภาพ และการบรรยายภาพเพื่อหาความแตกต่าง อยู่ในระดับดี ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ และต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ ตามลำดับ 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนกลวิธีในการปฏิสัมพันธ์ มีความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนปกติ |
บรรณานุกรม | : |
ชูขวัญ รัตนพิทักษ์ธาดา, 2505- . (2543). ผลของการสอนกลวิธีในการปฏิสัมพันธ์ ที่มีต่อความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และการใช้กลวิธีในการปฏิสัมพันธณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ชูขวัญ รัตนพิทักษ์ธาดา, 2505- . 2543. "ผลของการสอนกลวิธีในการปฏิสัมพันธ์ ที่มีต่อความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และการใช้กลวิธีในการปฏิสัมพันธณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ชูขวัญ รัตนพิทักษ์ธาดา, 2505- . "ผลของการสอนกลวิธีในการปฏิสัมพันธ์ ที่มีต่อความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และการใช้กลวิธีในการปฏิสัมพันธณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543. Print. ชูขวัญ รัตนพิทักษ์ธาดา, 2505- . ผลของการสอนกลวิธีในการปฏิสัมพันธ์ ที่มีต่อความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และการใช้กลวิธีในการปฏิสัมพันธณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2543.
|