ชื่อเรื่อง | : | อนาคตภาพของการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในกรุงเทพมหานคร |
นักวิจัย | : | นิลวรรณ แซ่จิว, 2517- |
คำค้น | : | การจัดการศึกษาโดยครอบครัว , วิจัยอนาคต |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุวิมล ว่องวาณิช , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2543 |
อ้างอิง | : | 9741313012 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3856 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 ศึกษาอนาคตภาพของการจัดการศึกษาโดยครอบครัว คาดการณ์ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น จากการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในแต่ละอนาคตภาพ และเพื่อกศึกษาความคิดเห็นของบุคคลทั่วไปในกรุงเทพมหานคร ที่มีต่อการศึกษาโดยครอบครัว โดยแบ่งการดำเนินการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะสำรวจ ศึกษาความคิดเห็นของบุคคลทั่วไปในแต่ละกลุ่มอาชีพ โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นจากจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 450 คน ระยะอนาคตภาพ สร้างอนาคตภาพของการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในกรุงเทพมหานครอีก 10 ปีข้างหน้า โดยการใช้เทคนิควิธีอนาคนภาพแบบนิรนัย (Deductive approach) ซึ่งใช้กลุ่มของผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 คน และระยะตรวจสอบอนาคตภาพ ตรวจสอบอนาคตโดยผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษาจำนวน 7 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ในการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ของคะแนนความคิดเห็นเกี่ยวกับ การจัดการศึกษาโดยครอบครัวตามกลุ่มอาชีพ และทดสอบความสัมพันธ์ด้วยค่าไคสแควร์ ส่วนข้อมูลจากระยะอนาคตภาพและระยะตรวจสอบ ใช้การวิเคาะห์เนื้อหาและสถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยสรุปได้ว่า บุคคลที่มีอาชีพในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานด้านวิชาชีพวิชาการ เห็นด้วยต่อการจัดการศึกษาโดยครอบครัวมากที่สุด (3.76) รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปฏิบัติงานด้านธุรกิจการค้า (3.66) ในขณะที่กลุ่มผู้ปฏิบัติงานด้านกสิกรรมเห็นด้วยน้อยที่สุด (3.37) โดยภาพรวมแล้วประชาชนในกรุงเทพมหานคร ที่มีกลุ่มอาชีพแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการจัดการศึกษาโดยครอบครัว แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 แต่กลุ่มอาชีพไม่มีความสัมพันธ์ กับความสนใจจัดการศึกษาโดยครอบครัว ผลจากการพัฒนาอนาคตภาพของการจัดการศึกษาโดยครอบครัว ในกรุงเทพมหานครอีก 10 ปีข้างหน้า ได้ภาพอนาคตทั้งหมด 4 ภาพ โดยภาพอนาคตที่เห็นว่ามีความเป็นไปได้มากที่สุด คือ ภาพอนาคตที่ 2 ที่คาดว่าจำนวนของครอบครัวที่จัดการศึกษาด้วยตนเอง จะมีเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน แต่คงไม่มากนัก โดยส่วนใหญ่จะเป็นครอบครัวที่มีความมุ่งมั่น และมีความพร้อมทางด้านฐานะเศรษฐกิจ สังคม และศึกษาในระดับที่พึ่งพาตนเองได้ ส่วนรูปแบบอาจเป็นได้ทั้งครอบครัวเดี่ยวและกลุ่มครอบครัว ซึ่งผลกระทบที่คาดว่าจะตามมาคือ เอกชนจะเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาโดยครอบครัวมากขึ้น เกิดการรวมกลุ่มของพ่อแม่ที่มีแนวคิดทางการศึกษาคล้ายคลึงกับ แนวคิดของกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองมากขึ้น |
บรรณานุกรม | : |
นิลวรรณ แซ่จิว, 2517- . (2543). อนาคตภาพของการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในกรุงเทพมหานคร.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นิลวรรณ แซ่จิว, 2517- . 2543. "อนาคตภาพของการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในกรุงเทพมหานคร".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นิลวรรณ แซ่จิว, 2517- . "อนาคตภาพของการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในกรุงเทพมหานคร."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543. Print. นิลวรรณ แซ่จิว, 2517- . อนาคตภาพของการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2543.
|