ชื่อเรื่อง | : | ปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการคิดและประเภทของตัวชี้นำความลึก ในภาพบนจอคอมพิวเตอร์ที่มีผลต่อการรับรู้ความลึกของภาพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 |
นักวิจัย | : | เบ็ญจา แม่นหมาย, 2519- |
คำค้น | : | แบบการคิด , ภาพ , การรับรู้ , การรับรู้ทางสายตา , การรับรู้ทางสายตาในเด็ก , การรับรู้ภาพ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ประศักดิ์ หอมสนิท , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2543 |
อ้างอิง | : | 9741308078 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3831 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการคิดและประเภทของตัวชี้นำความลึก ในภาพบนจอคอมพิวเตอร์ที่มีผลต่อการรับรู้ความลึกของภาพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 60 คน ของโรงเรียนบูรณะศึกษา ปีการศึกษา 2543 ที่มีแบบการคิดในมิติของ Field Dependence (FD) และ Field Independence (FI) โดยใช้แบบทดสอบ The Group Embedded Figures Test (GEFT) แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีแบบการคิดแบบ FD จำนวน 30 คน และกลุ่มที่มีแบบการคิดแบบ FI จำนวน 30 คน และทดลองโดยใช้ตัวชี้นำความลึกของภาพ 7 ประเภท คือ ตัวชี้นำความลึกแบบพื้นผิว แบบมุมสูง แบบซ้อนทับ แบบขนาด แบบแนวเส้น แบบเลือนหายและแบบแสงเงา ซึ่งกลุ่มตัวอย่างทุกคนได้ผ่านการทดสอบตาบอดสี โดยใช้เครื่องมือที่พัฒนาโดย ถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เครื่องมือที่ใช้ คือ ตัวชี้นำความลึกในภาพบนจอคอมพิวเตอร์ สร้างโดยใช้โปรแกรม Authorware วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) วิเคราะห์หาค่าความแปรปรวนแบบ 2 ทาง (Two-Way Analysis of Variance) และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของคะแนนแต่ละคู่ โดยวิธีผลต่างอย่างมีนัยสำคัญ น้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. นักเรียนที่มีแบบการคิดต่างกัน มีการรับรู้ความลึกในภาพบนคอมพิวเตอร์ได้แตกต่างกัน โดยนักเรียนที่มีรูปแบบการคิดแบบ FI มีการรับรู้ตัวชี้นำความลึกได้ดีกว่านักเรียนที่มีแบบการคิดแบบ FD อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่ได้รับตัวชี้นำความลึกต่างกัน มีการรับรู้ความลึกในภาพบนจอคอมพิวเตอร์ได้แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนจะรับรู้ตัวชี้นำความลึกในภาพแบบเลือนหายได้ดีที่สุด และเมื่อเปรียบเทียบตัวชี้นำความลึกเป็นรายคู่แล้ว นักเรียนรับรู้ตัวชี้นำความลึกแบบซ้อนทับได้ดีกว่าแบบพื้นผิว แบบมุมสูง แบบแนวเส้นและแบบแสงเงา นักเรียนรับรู้ตัวชี้นำความลึกแบบขนาดได้ดีกว่าแบบพื้นผิว แบบมุมสูง แบบแนวเส้น และแบบแสงเงา นักเรียนรับรู้ตัวชี้นำความลึกแบบเลือนหายดีกว่าแบบพื้นผิว แบบมุมสูง แบบแนวเส้น และแบบแสงเงา และนักเรียนรับรู้ตัวชี้นำความลึกแบบพื้นผิวดีกว่าแบบแสงเงา 3. ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการคิดและประเภทของตัวชี้นำความลึก ต่อการรับรู้ความลึกในภาพบนจอคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 |
บรรณานุกรม | : |
เบ็ญจา แม่นหมาย, 2519- . (2543). ปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการคิดและประเภทของตัวชี้นำความลึก ในภาพบนจอคอมพิวเตอร์ที่มีผลต่อการรับรู้ความลึกของภาพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เบ็ญจา แม่นหมาย, 2519- . 2543. "ปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการคิดและประเภทของตัวชี้นำความลึก ในภาพบนจอคอมพิวเตอร์ที่มีผลต่อการรับรู้ความลึกของภาพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เบ็ญจา แม่นหมาย, 2519- . "ปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการคิดและประเภทของตัวชี้นำความลึก ในภาพบนจอคอมพิวเตอร์ที่มีผลต่อการรับรู้ความลึกของภาพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543. Print. เบ็ญจา แม่นหมาย, 2519- . ปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการคิดและประเภทของตัวชี้นำความลึก ในภาพบนจอคอมพิวเตอร์ที่มีผลต่อการรับรู้ความลึกของภาพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2543.
|