ชื่อเรื่อง | : | ปรัชญาการสื่อสารในธรรมสารของพุทธทาสภิกขุ |
นักวิจัย | : | ปุณยนุช ชุติมา, 2518- |
คำค้น | : | การสื่อสาร , พุทธปรัชญา , การวิเคราะห์เนื้อหา , พุทธทาสภิกขุ, 2449-2536 |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2543 |
อ้างอิง | : | 9741313446 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3847 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยเอกสารหลักที่ศึกษา คือปาฐกถาและธรรมบรรยายของพุทธทาสภิกขุที่ตีพิมพ์เผยแพร่สู่สาธารณะ วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปรัชญาความคิดของพุทธทาสภิกขุและศึกษาแนวคิดหรือทฤษฎีเกี่ยวกับการสื่อสารของพุทธทาสภิกขุ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า พุทธทาสภิกขุเห็นว่าความจริงมีสองระดับคือ (1) ปรมัตถสัจจะ (ความจริงแท้) คือธรรมะซึ่งเป็นความจริงสากล มีลักษณะเป็นความว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน (2) สมมุตสัจจะ (ความจริงเชิงสมมุติ) เป็นความจริงที่ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน การสื่อสารคือระบบสัมพันธภาพของมนุษย์ แบ่งระดับของการสื่อสารได้เป็น (1) การสื่อสารในระดับของมนุษย์กับธรรมชาติและมนุษย์กับตนเอง เน้นบทบาทในการเป็นผู้รับสาร มีเป้าหมายส่วนบุคคลเพื่อสร้างความสมดุลให้แก่ระบบปฏิสัมพันธ์ภายในตัวมนุษย์แต่ละคน โดยที่ "ภาษาธรรม" อาจชีไปยังความหมายเชิงปรมัตถสัจจะได้ใกล้เคียงที่สุด การสื่อสารระดับนี้อยู่เหนือการประเมินค่าดีหรือชั่ว งามหรืออัปลักษณ์ (2) การสื่อสารในระดับของมนุษย์กับเพื่อนมนุษย์ และมนุษย์กับสังคม ใช้ "ภาษาคน" สื่อความหมายในเชิงสมมุติสัจจะ เพื่อบรรลุเป้าหมายทางศีลธรรมคือเพื่อสันติภาพในโลก ถือว่าความดีคือการสื่อสารเพื่อขจัดความเห็นแก่ตัว และความงามเป็นหนทางสู่ความดีโดยโน้มนำจิตใจมนุษย์ให้ลืมความยึดมั่นในตัวตน มนุษย์เป็นทั้งผู้รับสารและผู้ส่งสารในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคม เน้นบทบาทการเป็นผู้ส่งสารที่ดี เช่นการใช้วจนสาร (วจีกรรม) ที่เป็นประโยชน์และไม่ประทุษร้ายต่อ สัจจะ สุนทรียภาพ และภราดรภาพการสื่อสารสู่สาธารณชนของพุทธทาสภิกขุก็จัดเป็นการสื่อสารในระดับนี้ โดยการส่งธรรมสารผ่านสื่อต่างๆ อย่างหลากหลาย ทั้งสื่อบุคคล สื่อธรรมชาติ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อระคน พุทธทาสภิกขุมีทฤษฎีความรู้ในแนวทางประจักษ์นิยมแบบเฉพาะตน เพราะนอกจากจะยอมรับข้อมูลเชิงประจักษ์จากประสาทสัมผัสทั้งห้าแล้ว ช่องทางการรับรู้ในพุทธศาสนายังที่อายตนะทาง "ใจ"ไว้รับรู้ข้อมูลที่เป็นความคิดและอารมณ์ ท่านถือว่าการรับรู้ข้อมูลจากช่องทางใจนี้เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสัมพันธภาพของมนุษย์กับตนเองและโลกภายนอก คุณค่าของความรู้สำหรับท่านเป็นทั้งประโยชน์นิยมและปฏิบัตินิยม โดยถือว่าความรู้ต้องนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายได้และเป็นหนทางสู่การปฏิบัติ ความเป็นมนุษยนิยมของท่านเห็นได้ชัดจากความเชื่อมั่นในศักยภาพของมนุษย์ที่จะบรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต ซึ่งการสื่อสารควรจะนำไปสู่เป้าหมายสูงสุดนั้น คือ ความจริงแท้, ธรรมะ, นิพพาน หรือความสงบ อันเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับปรัชญาแบบวิมุตตินิยม |
บรรณานุกรม | : |
ปุณยนุช ชุติมา, 2518- . (2543). ปรัชญาการสื่อสารในธรรมสารของพุทธทาสภิกขุ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปุณยนุช ชุติมา, 2518- . 2543. "ปรัชญาการสื่อสารในธรรมสารของพุทธทาสภิกขุ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปุณยนุช ชุติมา, 2518- . "ปรัชญาการสื่อสารในธรรมสารของพุทธทาสภิกขุ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543. Print. ปุณยนุช ชุติมา, 2518- . ปรัชญาการสื่อสารในธรรมสารของพุทธทาสภิกขุ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2543.
|