ชื่อเรื่อง | : | เครื่องชี้วัดคุณภาพของการรักษาพยาบาลในหน่วยบริการปฐมภูมิภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในมุมมองของผู้ให้บริการ |
นักวิจัย | : | เชิดชัย ศิริมหา, 2519- |
คำค้น | : | ประกันสุขภาพ -- การประเมิน |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ , อานนท์ วรยิ่งยง , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2548 |
อ้างอิง | : | 9741747799 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3780 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ให้บริการในหน่วยบริการปฐมภูมิเกี่ยวกับเครื่องชี้วัดคุณภาพของการรักษาพยาบาล สำหรับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนกันยายน 2548-ธันวาคม 2548 จากตัวแทนผู้ให้บริการในหน่วยบริการปฐมภูมิ จำนวน 9 จังหวัด ของทั้งประเทศ รวมทั้งหมด 304 แห่ง ได้รับการตอบกลับคิดเป็นร้อยละ 86.5 เครื่องชี้วัดที่ได้รับคะแนนสูงสุดในด้านการวัดได้ตรงกับงานหรือนโยบายที่ปฏิบัติ, มีความน่าเชื่อถือ, ปลอดจากอิทธิพลในการเสริมแต่งข้อมูล รวมถึงการยอมรับได้ คือ ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งรายใหม่และรายเก่าที่ได้รับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดทุกครั้งที่มาพบแพทย์ ส่วนความคิดเห็นด้านการไม่เป็นภาระงานและค่าใช้จ่ายมากไป เครื่องชี้วัดที่ได้รับคะแนนมากที่สุด คือ ร้อยละของผู้ป่วยวัณโรคปอดที่รักษาหายขาด, ร้อยละของผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงที่เป็นผู้ป่วยนอกได้รับการรักษาโดยสารละลายเกลือแร่ ส่วนจากการเรียงลำดับเครื่องชี้วัดที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรกในแต่ละด้านทั้งหมด 5 ด้าน พบว่าเครื่องชี้วัดที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดทั้ง 5 ด้าน ประกอบด้วย ร้อยละของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ที่ได้รับการประเมินและบันทึกไว้ในเวชระเบียนและทะเบียนผู้ป่วย, ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ที่ได้รับการประเมินและบันทึกไว้ในเวชระเบียนและทะเบียนผู้ป่วย, ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งรายใหม่และรายเก่าที่ได้รับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดทุกครั้งที่มาพบแพทย์, ร้อยละของผู้ป่วยวัณโรคทุกรายได้รับการรักษาโดยการกินยาภายใต้การสังเกต (DOTS), ร้อยละของผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ขาดยา ได้รับการติดตามโดยทางจดหมาย, โทรศัพท์ หรือการติดตามเยี่ยมบ้าน ตามความเหมาะสม, ร้อยละของผู้ป่วยวัณโรคปอดที่รักษาครบ, ร้อยละของผู้ป่วยวัณโรคปอดที่รักษาหายขาด, ร้อยละของผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงที่เป็นผู้ป่วยนอกได้รับการรักษาโดยสารละลายเกลือแร่ เมื่อศึกษาความคิดเห็นในด้านความน่าเชื่อถือของข้อมูลในการประเมินคุณภาพของผู้ให้บริการในหน่วยบริการปฐมภูมิที่จัดตั้งในโรงพยาบาลและที่จัดตั้งนอกโรงพยาบาลพบว่ามีเครื่องชี้วัดที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จำนวน 7 ตัว ข้อเสนอแนะที่พบมากที่สุดจากการศึกษา คือ การไม่มีระบบการจัดเก็บข้อมูลที่ดี เจ้าหน้าที่มีความสับสนเกี่ยวกับหลักการของเครื่องชี้วัดคุณภาพบริการและไม่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลที่มีอยู่มาใช้เพื่อการตอบเครื่องชี้วัดจากแหล่งของข้อมูลได้ ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องปัจจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาความรู้และความเข้าใจของผู้ให้บริการเกี่ยวกับระบบเครือข่ายการจัดเก็บข้อมูลและฐานข้อมูล ในการตอบเครื่องชี้วัดคุณภาพของการรักษาพยาบาล เพื่อให้การพัฒนาระบบบริการมีความถูกต้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน |
บรรณานุกรม | : |
เชิดชัย ศิริมหา, 2519- . (2548). เครื่องชี้วัดคุณภาพของการรักษาพยาบาลในหน่วยบริการปฐมภูมิภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในมุมมองของผู้ให้บริการ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เชิดชัย ศิริมหา, 2519- . 2548. "เครื่องชี้วัดคุณภาพของการรักษาพยาบาลในหน่วยบริการปฐมภูมิภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในมุมมองของผู้ให้บริการ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เชิดชัย ศิริมหา, 2519- . "เครื่องชี้วัดคุณภาพของการรักษาพยาบาลในหน่วยบริการปฐมภูมิภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในมุมมองของผู้ให้บริการ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548. Print. เชิดชัย ศิริมหา, 2519- . เครื่องชี้วัดคุณภาพของการรักษาพยาบาลในหน่วยบริการปฐมภูมิภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในมุมมองของผู้ให้บริการ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.
|