ชื่อเรื่อง | : | การเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ และทัศนคติของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ที่มีต่อการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ตของหน่วยงานภาครัฐ |
นักวิจัย | : | จรัสศรี ปักกัดตัง |
คำค้น | : | การเปิดรับข่าวสาร , การรับรู้ , ทัศนคติ , ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต , อินเตอร์เน็ต , การประชาสัมพันธ์ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อุบลวรรณ ปิติพัฒนะโฆษิต , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2542 |
อ้างอิง | : | 9743345353 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3737 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 ศึกษาความแตกต่างและความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากร การเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ และทัศนคติของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ที่มีต่อการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ตของหน่วยงานภาครัฐ การวิจัยเป็นเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล มีกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 470 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความแตกต่างระหว่างตัวแปร และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน นำมาประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows95 ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า 1. ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตที่มี อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และประสบการณ์ในการใช้อินเตอร์เน็ตแตกต่างกัน จะมีการรับรู้ในเรื่องการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต ของหน่วยงานภาครัฐในระดับที่ต่างกัน 2. ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตที่มี อายุ และระดับการศึกษา แตกต่างกัน จะมีทัศนคติต่อการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต ของหน่วยงานภาครัฐในระดับที่ต่างกัน 3.ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตที่มี ประสบการณ์ในการใช้อินเตอร์เน็ต แตกต่างกัน จะมีการเปิดรับข่าวสารในเรื่องการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต ของหน่วยงานภาครัฐในระดับที่ต่างกัน 4. อายุของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ ในเรื่องการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ตของหน่วยงานภาครัฐ ส่วนตัวแปรอื่นๆ ได้แก่ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และประสบการณ์ในการใช้อินเตอร์เน็ต มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ในเรื่องการประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ตของหน่วยงานภาครัฐ แต่ไม่พบความสัมพันธ์นี้ในตัวแปรเพศและอาชีพ 5. อายุและอาชีพของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต มีความสัมพันธ์ทางบวกกับทัศนคติในเรื่องการประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่ออินเตอรเน็ตของหน่วยงานภาครัฐ แต่ไม่พบความสัมพันธ์นี้ในตัวแปรเพศ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และประสบการณ์ในการใช้อินเตอร์เน็ต 6. การเปิดรับข่าวสารเพื่อรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ตของหน่วยงานภาครัฐของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ในเรื่องการประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ตของหน่วยงานภาครัฐ 7. การเปิดรับข่าวสารเพื่อรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ตของหน่วยงานภาครัฐของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต มีความสัมพันธ์ทางบวกกับทัศนคติที่มีต่อการประชาสัมพันธ์ผ่าน สื่ออินเตอร์เน็ตของหน่วยงานภาครัฐ จากการสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ในเรื่องของการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ตของหน่วยงานภาครัฐในอนาคต พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 99.4 เห็นด้วยกับการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตเพื่อการประชาสัมพันธ์ เนื่องจากเห็นว่ามีประโยชน์ ทันสมัย สะดวก และสามารถให้ข้อมูลได้รวดเร็ว |
บรรณานุกรม | : |
จรัสศรี ปักกัดตัง . (2542). การเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ และทัศนคติของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ที่มีต่อการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ตของหน่วยงานภาครัฐ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จรัสศรี ปักกัดตัง . 2542. "การเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ และทัศนคติของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ที่มีต่อการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ตของหน่วยงานภาครัฐ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จรัสศรี ปักกัดตัง . "การเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ และทัศนคติของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ที่มีต่อการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ตของหน่วยงานภาครัฐ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542. Print. จรัสศรี ปักกัดตัง . การเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ และทัศนคติของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ที่มีต่อการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ตของหน่วยงานภาครัฐ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.
|