ชื่อเรื่อง | : | การกำจัดตะกั่วในน้ำเสียสังเคราะห์โดยใช้ซีโอไลต์ที่สังเคราะห์จากเถ้าลอยถ่านหินและจากเถ้าลอยชานอ้อย |
นักวิจัย | : | จุฑาทิพย์ เพชรอินทร์, 2521- |
คำค้น | : | ขี้เถ้าลอย , เถ้าถ่านหิน , เถ้าชานอ้อย , ซีโอไลต์ , น้ำเสีย--การบำบัด--การกำจัดโลหะหนัก , ตะกั่ว |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ธเรศ ศรีสถิตย์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9741759509 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3776 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการสังเคราะห์ซโอไลต์จากเถ้าลอยถ่านหินและจากเถ้าลอยชานอ้อย ได้ทำการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสังเคราะห์ซีโอไลต์จากเถ้าลอยถ่านหินและจากเถ้าลอยชานอ้อย โดยตรวจสอบคุณสมบัติของความสามารถในการแลกเปลี่ยนไอออนบวกของซีโอไลต์ที่สังเคราะห์ได้ จากผลการทดลองพบว่าสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการสังเคราะห์ซีโอไลต์จากเถ้าถ่านลอยถ่านหินคือ อุณหภูมิในการทำปฏิกิริยา 100 องศาเซลเซียส ความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 2 โมลาร์ และระยะเวลาในการทำปฏิกิริยา 5 วัน ซึ่งจะให้ค่าความสามารถในการแลกเปลี่ยนไอออนบวกเท่ากับ 565.62 cmol/kg ส่วนสภาวะที่เหมาะสำหรับการสังเคราะห์ซีโอไลต์จากเถ้าลอยชานอ้อย คือ อุณหภูมิในการทำปฏิกิริยา 90 องศาเซลเซียส ความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 2 โมลาร์ แลชะระยะเวลาในการทำปฏิกิริยา 4 วัน ซึ่งจะให้ค่าความสามารถในการแลกเปลี่ยนไอออนบวกเท่ากับ 303.19 cmol/kg การศึกษาครั้งนี้นำซีโอไลต์สังเคราะห์ที่ได้ไปทดสอบาความสามารถในการกำจัดตะกั่วแบบไม่ต่อเนื่อง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการกำจัดตะกั่วในน้ำเสียสังเคราะห์ได้แก่ พีเอช ความเข้มข้นของโลหะหนัก และปริมาณซีโอไลต์เพื่อทดสอบไอโซเทอมการดูดติดผิวตะกั่ว พบว่า ที่พีเอช 5 และความเข้มข้น 10 มิลลิกรัมต่อลิตรมีเปอร์เซ็นต์การกำจัดตะกั่วดีที่สุด ซึ่งผลการทดลองไอโซเทอมของการดูดติดผิวตะกั่วที่สภาวะดังกล่าว โดยสมการการดูดติดผิวแบบแลงมัวร์ แสดงให้เห็นว่าซีโอไลต์ที่สังเคราะห์จากเถ้าลอยถ่านหินและจากเถ้าลอยชานอ้อยมีความสามารถในการดูดติดผิวตะกั่วสูงสุดท่ากับ 94.07 และ76.74 มิลลิกรัมต่อกรัมซีโอไลต์ ตามลำดับ ซีโอไลต์ที่สังเคราะห์จากเถ้าลอยถ่านหินและจากเถ้าลอยชานอ้อยมีความสามรถในการกำจัดตะกั่วในน้ำเสียจากกระบวนการผลิตตะกั่วจากแบตเตอรี่เก่า ได้เท่ากับตะกั่วในน้ำเสียจากกระบวนการผลิตตะกั่วแห้งของโรงงานหลอมตะกั่วจากแบตเตอรี่เก่า ได้เท่ากับร้อย93.24% และ 91.36% ตามลำดับ |
บรรณานุกรม | : |
จุฑาทิพย์ เพชรอินทร์, 2521- . (2547). การกำจัดตะกั่วในน้ำเสียสังเคราะห์โดยใช้ซีโอไลต์ที่สังเคราะห์จากเถ้าลอยถ่านหินและจากเถ้าลอยชานอ้อย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จุฑาทิพย์ เพชรอินทร์, 2521- . 2547. "การกำจัดตะกั่วในน้ำเสียสังเคราะห์โดยใช้ซีโอไลต์ที่สังเคราะห์จากเถ้าลอยถ่านหินและจากเถ้าลอยชานอ้อย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จุฑาทิพย์ เพชรอินทร์, 2521- . "การกำจัดตะกั่วในน้ำเสียสังเคราะห์โดยใช้ซีโอไลต์ที่สังเคราะห์จากเถ้าลอยถ่านหินและจากเถ้าลอยชานอ้อย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. จุฑาทิพย์ เพชรอินทร์, 2521- . การกำจัดตะกั่วในน้ำเสียสังเคราะห์โดยใช้ซีโอไลต์ที่สังเคราะห์จากเถ้าลอยถ่านหินและจากเถ้าลอยชานอ้อย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|