ชื่อเรื่อง | : | การสื่อสารเพื่อสร้างการยอมรับจากผู้บังคับบัญชาของข้าราชการตำรวจในสถานีตำรวจนครบาล |
นักวิจัย | : | เขมรินทร์ พิศมัย, ว่าที่ร้อยตำรวจโท, 2518- |
คำค้น | : | ตำรวจ , การสื่อสาร , ผู้บังคับบัญชา |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | นงลักษณ์ ศรีอัษฎาพร เจริญงาม , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2542 |
อ้างอิง | : | 9743346252 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3722 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ที่ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องการยอมรับจากผู้บังคับบัญชาในการปฎิบัติหน้าที่ในสถานีตำรวจนครบาล ลักษณะกลยุทธ์ในการสร้างการยอมรับของผู้ใต้บังคับบัญชาทัศนคติของผู้บังคับบัญชาต่อกลยุทธ์การสร้างการยอมรับ ตลอดจนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับของผู้บังคับบัญชา โดยเก็บข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 365 คน ซึ่งเป็นข้าราชการตำรวจในสังกัดสถานีตำรวจนครบาล 18 สถานี และเก็บข้อมูลเพิ่มเติมด้วยการสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่างเดิมอีก 36 คน ผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์ที่ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องการการยอมรับจากผู้บังคับบัญชาในการปฏิบัติหน้าที่ในสถานีตำรวจนครบาลมี 5 สถานการณ์คือ 1) เมื่อวิธีการทำงานที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการไม่สามารถปฏิบัติได้และผู้ใต้บังคับบัญชาเสนอวิธีที่คิดว่าดีกว่า 2) ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องการให้ผู้บังคับบัญชายอมรับฟังปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อปรับเปลี่ยนนโยบายหรือคำสั่ง 3) ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องการให้ผู้บังคับบัญชายอมรับในความสามารถ เพื่อปรับเปลี่ยนให้ทำหน้าที่ที่ต้องการ 4) ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องการให้ผู้บังคับบัญชายอมรับในผลงาน เพื่อให้พิจารณาผลงานและความดีความชอบ และ 5) ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องการให้ผู้บังคับบัญชายอมรับในบรรทัดฐาน และธรรมเนียมการปฏิบัติงานที่ยึดถือกันอยู่ โดยสถานการณ์ที่เกิดขึ้นมากที่สุด ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องการให้ผู้บังคับบัญชายอมรับฟังปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ในการปฎิบัติหน้าที่ โดยปรับเปลี่ยนนโยบายหรือคำสั่ง ส่วนการใช้กลยุทธ์เพื่อสร้างการยอมรับจากผู้บังคับบัญชานั้นพบว่า ผู้ใต้บังคับบัญชาใช้กลยุทธ์เชิงบวก (เช่น การชี้แจงเหตุผลให้ผู้บังคับบัญชาทราบอย่างตรงไปตรงมา การพูดถึงผลประโยชน์ต่อส่วนรวม การพูดถึงผลสำเร็จในอดีต เป็นต้น) ในการสร้างการยอมรับจากผู้บังคับบัญชามากกว่ากลยุทธ์เชิงลบ (เช่น การข่มขู่ หรือกล่าวอ้างถึงความผิด หรือผลร้ายเป็นต้น และพบว่าผู้บังคับบัญชามีทัศนคติที่ดีต่อกลยุทธ์เชิงบวก โดยยอมรับกลยุทธ์เชิงบวกมากกว่ากลยุทธ์เชิงลบ ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับของผู้บังคับบัญชา พบว่า ปัจจัยด้านบุคลิกและคุณลักษณะส่วนตัวของผู้บังคับบัญชาที่มีผลต่อการยอมรับของผู้บังคับบัญชาได้แก่ ความยึดมั่นในยศ ตำแหน่ง และศักดิ์ศรีของผู้บังคับบัญชา และคุณลักษณะผู้นำของผู้บังคับบัญชา ส่วนปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ ความสัมพันธ์ ส่วนตัวระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาความคล้ายคลึงกันระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา รวมทั้งปัจจัยด้านบุคลิก และคุณลักษณะส่วนตัวของผู้ใต้บังคับบัญชา ทั้งในเรื่องของอายุ ระดับการศึกษา ชั้นยศ และอายุราชการ พบว่า ปัจจัยดังกล่าวไม่มีผลต่อการยอมรับของผู้บังคับบัญชา |
บรรณานุกรม | : |
เขมรินทร์ พิศมัย, ว่าที่ร้อยตำรวจโท, 2518- . (2542). การสื่อสารเพื่อสร้างการยอมรับจากผู้บังคับบัญชาของข้าราชการตำรวจในสถานีตำรวจนครบาล.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เขมรินทร์ พิศมัย, ว่าที่ร้อยตำรวจโท, 2518- . 2542. "การสื่อสารเพื่อสร้างการยอมรับจากผู้บังคับบัญชาของข้าราชการตำรวจในสถานีตำรวจนครบาล".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เขมรินทร์ พิศมัย, ว่าที่ร้อยตำรวจโท, 2518- . "การสื่อสารเพื่อสร้างการยอมรับจากผู้บังคับบัญชาของข้าราชการตำรวจในสถานีตำรวจนครบาล."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542. Print. เขมรินทร์ พิศมัย, ว่าที่ร้อยตำรวจโท, 2518- . การสื่อสารเพื่อสร้างการยอมรับจากผู้บังคับบัญชาของข้าราชการตำรวจในสถานีตำรวจนครบาล. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.
|