ชื่อเรื่อง | : | ปัญหาทางกฎหมายในการหักกลบลบหนี้ : ศึกษากรณีธุรกิจธนาคารพาณิชย์ |
นักวิจัย | : | เอกสิทธิ์ จารุวัฒน์จีรังกร, 2521- |
คำค้น | : | การบรรเทาภาระหนี้ -- ไทย , หนี้ต่างประเทศ -- ไทย , การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ , ธนาคารพาณิชย์ -- ไทย , ล้มละลาย -- ไทย , กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- หนี้ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อรพรรณ พนัสพัฒนา , ธัชชัย ศุภผลศิริ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2548 |
อ้างอิง | : | 9741744196 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3714 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการหักกลบลบหนี้ โดยเน้นศึกษากรณีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธนาคารพาณิชย์ ซึ่งยังมีปัญหาในการใช้กฎหมายและการตีความอยู่หลายกรณี จากการศึกษาปัญหาต่างๆ พบว่า ลักษณะของสิทธิเรียกร้องที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่ไม่อาจนำมาหักกลบลบหนี้อาจแบ่งได้เป็น 4 ลักษณะ ได้แก่ มีการชำระหนี้ที่ขอหักกลบไปแล้ว หนี้ที่ขอหักกลบยังกำหนดจำนวนได้ไม่แน่นอน ไม่ได้เป็นหนี้ที่ขอหักกลบ และมีเหตุไม่ต้องชำระหนี้ที่ขอหักกลบ แต่ประเด็นนี้มักจะเกิดในชั้นศาลเพราะฝ่ายที่ขอหักกลบลบหนี้จะดำเนินการหักกลบลบหนี้ทั้งที่ยังมีข้อโต้แย้ง ส่วนฝ่ายที่เสียหายก็จะไปดำเนินคดีเพื่อขอให้ศาลเพิกถอนการหักกลบลบหนี้เป็นอีกส่วนหนึ่ง ส่วนการหักกลบลบหนี้ระหว่างพิจารณาคดีของศาล หากหนี้ที่ขอหักกลบลบหนี้ยังเป็นหนี้ที่มีข้อต่อสู้อยู่แนววินิจฉัยของศาลฎีกาส่วนใหญ่จะไม่ให้มีการหักกลบลบหนี้กัน การหักกลบลบหนี้ในชั้นบังคับคดีนั้น ปัจจุบันศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่อาจทำได้หากคำพิพากษากำหนดให้บังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองก่อนจะบังคับกับทรัพย์สินอื่น โดยโจทก์จะต้องบังคับคดีตามลำดับที่ศาลพิพากษาเท่านั้น สำหรับการหักกลบลบหนี้ภายหลังจากได้รับคำสั่งจากเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ส่งเงินฝากของลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือคำสั่งอายัดและส่งเงินฝากของผู้มีภาษีอากรค้าง ศาลจะวินิจฉัยไปในทางที่ไม่อาจหักกลบลบหนี้ได้ แต่ในส่วนของการหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลายและคดีฟื้นฟูกิจการ แนวคำวินิจฉัยของศาลฎีกาจะให้หักกลบลบหนี้กันได้เป็นส่วนใหญ่เพราะมีบทบัญญัติของกฎหมายรองรับไว้โดยเฉพาะ นอกจากนี้การศึกษายังพบว่าในกรณีการแปลงหนี้เป็นทุนของบริษัทมหาชนที่สามารถหักกลบลบหนี้กับเงินค่าหุ้นได้นั้นจะเกิดปัญหาในกรณีที่ลูกหนี้มีเจ้าหนี้หลายรายเกี่ยวกับการกำหนดราคาหุ้นที่จะนำมาหักกลบลบหนี้ งานวิจัยนี้ได้เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาการหักกลบลบหนี้ในระหว่างพิจารณาคดีและระหว่างการบังคับคดีรวมถึงการหักกลบลบหนี้ของธนาคารพาณิชย์เมื่อได้รับหมายอายัดเงินฝากของลูกหนี้ โดยได้เสนอแนวทางการตีความกฎหมายเพื่อให้หลักกฎหมายว่าด้วยการหักกลบลบหนี้สามารถใช้ได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายฟื้นฟูกิจการให้มีความชัดเจนในการใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ และให้นำหลักกฎหมายเรื่องการแปลงหนี้เป็นทุนมาใช้กับกรณีของบริษัทจำกัดด้วย |
บรรณานุกรม | : |
เอกสิทธิ์ จารุวัฒน์จีรังกร, 2521- . (2548). ปัญหาทางกฎหมายในการหักกลบลบหนี้ : ศึกษากรณีธุรกิจธนาคารพาณิชย์.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เอกสิทธิ์ จารุวัฒน์จีรังกร, 2521- . 2548. "ปัญหาทางกฎหมายในการหักกลบลบหนี้ : ศึกษากรณีธุรกิจธนาคารพาณิชย์".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เอกสิทธิ์ จารุวัฒน์จีรังกร, 2521- . "ปัญหาทางกฎหมายในการหักกลบลบหนี้ : ศึกษากรณีธุรกิจธนาคารพาณิชย์."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548. Print. เอกสิทธิ์ จารุวัฒน์จีรังกร, 2521- . ปัญหาทางกฎหมายในการหักกลบลบหนี้ : ศึกษากรณีธุรกิจธนาคารพาณิชย์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.
|