ชื่อเรื่อง | : | ผลของการใช้กระบวนการสอนอ่านแบบปฏิบัติการที่มีต่อ ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาไทย และทัศนคติต่อการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กรุงเทพมหานคร |
นักวิจัย | : | จิตราภรณ์ ด้วงจุมพล, 2515- |
คำค้น | : | ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน , ภาษาไทย -- การอ่าน , การอ่านขั้นมัธยมศึกษา |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุมิตรา อังวัฒนกุล , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2543 |
อ้างอิง | : | 9740300421 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3312 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนด้วยกระบวนการอ่านแบบปฏิบัติการ 2) เพื่อศึกษาทัศนคติต่อการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนด้วยกระบวนการอ่านแบบปฏิบัติการ 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนด้วยกระบวนการอ่าน แบบปฏิบัติการกับวิธีการสอนปกติ 4) เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติต่อการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนด้วยกระบวนการอ่านแบบปฏิบัติการกับวิธีการสอนปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย กรุงเทพมหานคร จำนวน 2 กลุ่ม ที่มีความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาไทยไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กำหนดให้กลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 26 คน โดยได้รับการสอนด้วยกระบวนการอ่านแบบปฏิบัติการ และอีกกลุ่มหนึ่ง จำนวน 30 คน ได้รับการสอนโดยวิธีปกติ ผู้วิจัยดำเนินการสอนทั้ง 2 กลุ่ม ด้วยตนเอง ใช้เวลาสอนกลุ่มละ 2 คาบ ต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 6 สัปดาห์เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ และแบบสอบถามทัศนคติต่อการอ่านภาษาไทย แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่ามัชฌิมเลขคณิต (X) ค่ามัชฌิมเลขคณิตคิดเป็นร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนอ่านแบบปฏิบัติการมีความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจอยู่ในระดับดีมาก โดยมีค่ามัชฌิมเลขคณิตของความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจคิดเป็นร้อยละ 89.15 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนอ่านแบบปฏิบัติการมีทัศนคติต่อการอ่านภาษาไทยอยู่ในระดับดี โดยมีค่ามัชฌิมเลขคณิตของทัศนคติต่อการอ่านภาษาไทยเท่ากับ 3.96 3. นักเรียนได้รับการสอนด้วยวิธีการสอนอ่านแบบปฏิบัติการมีความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาไทยสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยวิธีปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนได้รับการสอนด้วยวิธีการสอนอ่านแบบปฏิบัติการมีทัศนคติต่อการอ่านภาษาไทยแตกต่างจากนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยวิธีปกติ |
บรรณานุกรม | : |
จิตราภรณ์ ด้วงจุมพล, 2515- . (2543). ผลของการใช้กระบวนการสอนอ่านแบบปฏิบัติการที่มีต่อ ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาไทย และทัศนคติต่อการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กรุงเทพมหานคร.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จิตราภรณ์ ด้วงจุมพล, 2515- . 2543. "ผลของการใช้กระบวนการสอนอ่านแบบปฏิบัติการที่มีต่อ ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาไทย และทัศนคติต่อการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กรุงเทพมหานคร".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จิตราภรณ์ ด้วงจุมพล, 2515- . "ผลของการใช้กระบวนการสอนอ่านแบบปฏิบัติการที่มีต่อ ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาไทย และทัศนคติต่อการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กรุงเทพมหานคร."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543. Print. จิตราภรณ์ ด้วงจุมพล, 2515- . ผลของการใช้กระบวนการสอนอ่านแบบปฏิบัติการที่มีต่อ ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาไทย และทัศนคติต่อการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2543.
|