ชื่อเรื่อง | : | การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถภาพทางวิชาชีพ สำหรับนักเรียนสาขาพาณิชยกรรม สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก 2 : โมเดลจาก 3 มุมมอง |
นักวิจัย | : | จิรดี ประยูรศิริ, 2505- |
คำค้น | : | การศึกษาทางอาชีพ -- หลักสูตร , สมรรถภาพทางวิชาชีพ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุชาดา บวรกิติวงศ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9745322407 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3289 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 ศึกษา 1) องค์ประกอบสมรรถภาพทางวิชาชีพสำหรับนักเรียนสาขาพาณิชยกรรม ของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก 2 2) ความสอดคล้องของสมรรถภาพทางวิชาชีพสาขาพาณิชยกรรม โดยสำรวจความคิดเห็นจากสถานประกอบการ ครู และนักเรียน ศึกษาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างสถานประกอบการ และครูโดยการสุ่มอย่างง่าย ประกอบด้วยสถานประกอบการ จำนวน 212 แห่ง ครูที่สอนนักเรียนสาขาพาณิชยกรรมในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก 2 จำนวน 206 คน และนักเรียนสาขาพาณิชยกรรมโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น จำนวน 500 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ โดยวิธีสกัดองค์ประกอบหลักและหมุนแกนองค์ประกอบแบบตั้งฉากด้วยวิธีแวริแมกซ์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจจากนักเรียน ครู และสถานประกอบการ พบว่ามีจำนวนองค์ประกอบเท่ากันคือ 10 องค์ประกอบ และพบว่าทั้ง 3 กลุ่มให้ความสำคัญองค์ประกอบด้านพฤติกรรมการทำงาน มีความสำคัญมากที่สุดตรงกัน 2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของนักเรียน ได้องค์ประกอบที่สำคัญจำนวน 10 องค์ประกอบ ได้แก่ พฤติกรรมการทำงาน การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทักษะการทำงาน การสื่อสาร การทำงานร่วมกัน ความมั่นคงทางอารมณ์ บุคลิกภาพ การใช้เทคโนโลยี การนำเสนอ ความรู้ทางวิชาการ ตามลำดับ และองค์ประกอบทั้งหมดร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของสมรรถภาพทางวิชาชีพได้ 61.61% 3. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของครู ได้องค์ประกอบที่สำคัญจำนวน 10 องค์ประกอบ ได้แก่ พฤติกรรมการทำงาน การทำงานร่วมกัน มนุษยสัมพันธ์และการให้บริการ การคิดริเริ่มและคิดสร้างสรรค์ การก้าวทันเทคโนโลยี ความรู้ทางวิชาการบุคลิกภาพ ทักษะในการทำงาน ความมั่นคงทางอารมณ์และทักษะการสื่อสาร ความชำนาญในงานวิชาชีพ ตามลำดับ และองค์ประกอบทั้งหมดร่วมกันอธิบายความแปรปรวน ของสมรรถภาพทางวิชาชีพได้ 68.79% 4. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของสถานประกอบการ ได้องค์ประกอบที่สำคัญจำนวน 10 องค์ประกอบ ได้แก่ พฤติกรรมการทำงาน มนุษยสัมพันธ์และการสื่อสาร การคิดริเริ่มและคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะในการทำงานบุคลิกภาพ ความชำนาญในงานวิชาชีพ ความมั่นคงทางอารมณ์และความอดทน ความรอบรู้ การคิดคำนวณ ตามลำดับ และองค์ประกอบทั้งหมดร่วมกันอธิบายความแปรปรวน ของสมรรถภาพทางวิชาชีพได้ 58.51% 5. องค์ประกอบที่เหมือนกันทั้ง 3 กลุ่มได้แก่ พฤติกรรมการทำงาน ความคิดริเริ่มและคิดสร้างสรรค์ ทักษะการทำงานและบุคลิกภาพ ส่วนองค์ประกอบที่เหมือนกันระหว่างครูกับสถานประกอบการคือ ความชำนาญในงานอาชีพ องค์ประกอบที่เหมือนกันระหว่างครูกับนักเรียนคือ ความรู้ทางวิชาการ และการทำงานร่วมกัน |
บรรณานุกรม | : |
จิรดี ประยูรศิริ, 2505- . (2547). การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถภาพทางวิชาชีพ สำหรับนักเรียนสาขาพาณิชยกรรม สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก 2 : โมเดลจาก 3 มุมมอง.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จิรดี ประยูรศิริ, 2505- . 2547. "การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถภาพทางวิชาชีพ สำหรับนักเรียนสาขาพาณิชยกรรม สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก 2 : โมเดลจาก 3 มุมมอง".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จิรดี ประยูรศิริ, 2505- . "การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถภาพทางวิชาชีพ สำหรับนักเรียนสาขาพาณิชยกรรม สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก 2 : โมเดลจาก 3 มุมมอง."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. จิรดี ประยูรศิริ, 2505- . การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถภาพทางวิชาชีพ สำหรับนักเรียนสาขาพาณิชยกรรม สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก 2 : โมเดลจาก 3 มุมมอง. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|