ชื่อเรื่อง | : | การปรับปรุงสมรรถนะของตัวเร่งปฏิกิริยาสำหรับขั้วแอโนดเซลล์เชื้อเพลิงพีอีเอ็ม ที่ทนทานคาร์บอนมอนอกไซด์ |
นักวิจัย | : | กาญจนา พงษ์ศักดิ์ |
คำค้น | : | เซลล์เชื้อเพลิง , เมมเบรน (เทคโนโลยี) , ตัวเร่งปฏิกิริยา |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สงบทิพย์ พงศ์สถาบดี , เก็จวลี พฤกษาทร |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9741769288 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3629 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 ศึกษาหาสภาวะในการเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อปรับปรุงสมรรถนะตัวเร่งปฏิกิริยาในขั้วไฟฟ้าแอโนด ให้มีความทนทานแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ ที่ปนเปื้อนเข้ามากับกระแสเชื้อเพลิง ในเซลล์เชื้อเพลิงแบบเยื่อแผ่นแลกเปลี่ยนโปรตอน เนื่องจากโลหะแพลทินัมสามารถเร่งปฏิกิริยาได้ดี แต่เมื่อมีแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ปนเปื้อนเข้ามาในกระแสเชื้อเพลิง แม้ในปริมาณที่น้อยมากๆ สามารถทำให้ประสิทธิภาพของเซลล์เชื้อเพลิงลดลงอย่างชัดเจน ในงานวิจัยนี้ใช้โลหะผสมแพลทินัมสองและสามชนิดบนตัวรองรับคาร์บอนไจแกนติก โลหะที่ใช้คือ รูทิเนียม พาลลาเดียม ดีบุก และโมลิปดีนัม ซึ่งเตรียมโดยวิธีเตรียมแบบฝังโดยตรง และปรับปรุงคุณภาพตัวเร่งด้วยการเผาในบรรยากาศเฉื่อยที่อุณหภูมิ 350 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง และรีดิวส์ด้วยแก๊สไฮโดรเจนที่ 400 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 2 ชั่วโมง ตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะผสมตรวจสอบสมบัติและโครงสร้างด้วย TPR การดูดซับทางเคมีของไฮโดรเจนและคาร์บอนมอนนอกไซด์ ภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบทรานสมิสชันและเอ๊กซเรย์ดิฟแฟรกชั่น หน่วยเยื่อแผ่นและอิเล็กโทรดเตรียมโดยวิธี กดอัดด้วยความร้อนโดยใช้โลหะตัวเร่งปฏิกิริยา 1 มิลลิกรัมต่อตารางเซนติเมตร เซลล์เชื้อเพลิงทำงานที่ 60 องศาเซลเซียส โดยใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่มีคาร์บอนมอนนอกไซด์ 20 ส่วนในล้านส่วน เพื่อทดสอบความทนทานคาร์บอนมอนอกไซด์ พบว่าตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะผสมแพลทินัมแบบสามชนิด ให้ผลดีกว่าสองชนิดและดีกว่าแพลทินัม โดยขั้นตอนการปรับปรุงสมบัติและสัดส่วนของโลหะผสม มีผลต่อความสามารถในการทนทานคาร์บอนมอนอกไซด์ในเซลล์เชื้อเพลิง และตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะผสม PtRuSn/C และ PtRuMo/C ในอัตราส่วน 1:1:0.22 โดยอะตอมให้ผลความทนทานแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ดีที่สุดในงานวิจัยนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะผสมชนิดและสัดส่วนอื่นๆ |
บรรณานุกรม | : |
กาญจนา พงษ์ศักดิ์ . (2547). การปรับปรุงสมรรถนะของตัวเร่งปฏิกิริยาสำหรับขั้วแอโนดเซลล์เชื้อเพลิงพีอีเอ็ม ที่ทนทานคาร์บอนมอนอกไซด์.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กาญจนา พงษ์ศักดิ์ . 2547. "การปรับปรุงสมรรถนะของตัวเร่งปฏิกิริยาสำหรับขั้วแอโนดเซลล์เชื้อเพลิงพีอีเอ็ม ที่ทนทานคาร์บอนมอนอกไซด์".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กาญจนา พงษ์ศักดิ์ . "การปรับปรุงสมรรถนะของตัวเร่งปฏิกิริยาสำหรับขั้วแอโนดเซลล์เชื้อเพลิงพีอีเอ็ม ที่ทนทานคาร์บอนมอนอกไซด์."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. กาญจนา พงษ์ศักดิ์ . การปรับปรุงสมรรถนะของตัวเร่งปฏิกิริยาสำหรับขั้วแอโนดเซลล์เชื้อเพลิงพีอีเอ็ม ที่ทนทานคาร์บอนมอนอกไซด์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|