ชื่อเรื่อง | : | แลกติกแอซิดแบคทีเรียที่ใช้เป็นโพรไบโอติกสำหรับปลากะพงขาว Lates calcarifer |
นักวิจัย | : | ทศพร เรืองรักษ์ลิขิต, 2524- |
คำค้น | : | แบคทีเรียกรดแล็กติก , โพรไบโอติก , ปลากะพงขาว |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สมเกียรติ ปิยะธีรธิติวรกุล , ศิริรัตน์ เร่งพิพัฒน์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9741764774 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3628 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 แยกแลกติกแอซิดแบคทีเรียจากทางเดินอาหารของปลากะพงขาว เพื่อคัดเลือกแบคทีเรียที่มีสมบัติเป็นโพรไพโอติก ด้วยเทคนิค well agar diffusion พบ 5 ไอโซเลต (กำหนดให้เป็น LAB-1-LAB-5) ที่สามารถยับยั้งการเจริญของ Aeromonas hydrophila แบคทีเรียก่อโรคในปลาได้ ผลการวิเคราะห์ปริมาณองค์ประกอบในอาหารผสมแบบเปียก พบว่า ในอาหารมีปริมาณสารอาหารต่างๆ เพียงพอกับความต้องการของปลากะพงขาว ยกเว้นปริมาณไขมันที่ต่ำเกินไป ความเข้มข้นของ A. hydrophila ที่ทำให้ปลาตาย 50 เปอร์เซ็นต์ (LC[subscript 50]) หลังจากที่ปลาได้รับเชื้อแล้ว 72 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 7.76 log[subscript 10] เซลล์/มิลลิลิตร และที่ 96 และ 120 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 7.47 และ 7.26 log[subscript 10] เซลล์/มิลลิลิตร ตามลำดับ นำอาหารที่เตรียมได้ไปเลี้ยงปลากะพงขาวในตู้กระจก โดยผสมอาหารกับแต่ละไอโซเลตที่คัดแยกได้ให้มีความเข้มข้น 10[superscript 7] เซลล์/กรัมอาหาร พบว่า มีเพียง LAB-4 เท่านั้น ที่มีความสามารถในการเสริมการเจริญเติบโตของปลาและต้านโรคที่เกิดจาก A. hydrophila ได้อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) เมื่อทำการเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังโดยใช้ LAB-4 ผสมในอาหารปลาโดยใช้ความเข้มข้น 10[superscript 5] และ 10[superscript 7] เซลล์/กรัมอาหาร พบว่า ทุกกลุ่มทดลองมีอัตราการรอดชีวิต การเจริญเติบโตและความสามารถในการต้านโรคที่เกิดจาก A. hydrophila ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p>0.05) สามารถตรวจพบ LAB-4 ในลำไส้ของปลากะพงขาวทั้ง 2 กลุ่มทดลองและไม่พบ LAB-4 ในกลุ่มควบคุม ปลากะพงขาวที่ตายหลังจากการเหนี่ยวนำให้เกิดโรคด้วย A. hydrophila แสดงวิธีการของโรคอย่างชัดเจนและสามารถตรวจพบ A. hydrophila ในเนื้อเยื่อของปลาที่ตายด้วยเทคนิคทาง Immunohistochemistry พิสูจน์เอกลักษณ์ของ LAB-4 ด้วยการตรวจสอบรูปร่างลักษณะ ปริมาณกรดแลกติกด้วยเทคนิค HPLC และสมบัติบางประการทางชีวเคมี รวมทั้งการหาลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ 16S rDNA เพื่อใช้เทียบเคียงกับลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ 16S rDNA ของ Weissella confusa ที่มีรายงานใน Genbank พบว่า ลำดับนิวคลีโอไทด์ของ LAB-4 มีความใกล้เคียงกับ Weissella sp |
บรรณานุกรม | : |
ทศพร เรืองรักษ์ลิขิต, 2524- . (2547). แลกติกแอซิดแบคทีเรียที่ใช้เป็นโพรไบโอติกสำหรับปลากะพงขาว Lates calcarifer.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทศพร เรืองรักษ์ลิขิต, 2524- . 2547. "แลกติกแอซิดแบคทีเรียที่ใช้เป็นโพรไบโอติกสำหรับปลากะพงขาว Lates calcarifer".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทศพร เรืองรักษ์ลิขิต, 2524- . "แลกติกแอซิดแบคทีเรียที่ใช้เป็นโพรไบโอติกสำหรับปลากะพงขาว Lates calcarifer."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. ทศพร เรืองรักษ์ลิขิต, 2524- . แลกติกแอซิดแบคทีเรียที่ใช้เป็นโพรไบโอติกสำหรับปลากะพงขาว Lates calcarifer. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|