ชื่อเรื่อง | : | ผลการดัดแปรด้วยปฏิกิริยาการแทนที่ และปฏิกิริยาเชื่อมขวางด้วยหมู่ฟอสเฟต ต่อสมบัติทางเคมีกายภาพของสตาร์ชสาคูไทย (Maranta arundinaceae L.) และสตาร์ชสาคูจีน (Canna edulis Ker.) |
นักวิจัย | : | นพร แซ่เบ๊, 2523- |
คำค้น | : | สาคูไทย , สาคูจีน , สตาร์ช , ปฏิกิริยาการแทนที่ , ฟอสเฟต |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | กัลยา เลาหสงคราม , สายวรุฬ ชัยวานิชศิริ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9745310522 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3422 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของอายุการเก็บเกี่ยว และการดัดแปรสตาร์ชด้วยปฏิกิริยาการแทนที่ และปฏิกิริยาเชื่อมขวางด้วยหมู่ฟอสเฟตต่อสมบัติทางเคมีกายภาพของสตาร์ชสาคูไทย (Maranta arundinaceae L.) และสาคูจีน (Canna edulis Ker.) พบว่าอายุการเก็บเกี่ยวไม่มีผลต่อสมบัติทางเคมีกายภาพของสตาร์ชสาคูไทย และสาคูจีน โดยสตาร์ชสาคูไทย และสาคูจีนที่ผลิตได้มีความบริสุทธิ์สูง (ปริมาณสตาร์ช > 95%) มีองค์ประกอบอื่นๆ อยู่น้อย มีปริมาณอะไมโลสประมาณ 38.45% และ 53.18% ตามลําดับ รูปร่าง แกรนูลของสตาร์ชสาคูไทย ค่อนข้างกลม และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10-25 ?m ส่วนสตาร์ชสาคูจีนมีลักษณะเป็นวงกลม และวงรี และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20-80 ?m. สตาร์ชทั้งสองชนิดมีการพองตัว และการละลายน้อย จากการศึกษาสมบัติด้านความหนืดของสารละลายสตาร์ชทั้งสองชนิดด้วย RVA พบว่าสตาร์ชสาคูไทย และสาคูจีนมีอุณหภูมิในการเกิดเจลที่ 81.6 และ 75.7 C มีความทนทานต่อแรงเฉือนและความร้อนสูง แต่มีเสถียรภาพของความหนืดลดลงที่ pH 3 และ pH 9 โดยเสถียรภาพของความหนืดที่ pH 9 ต่ำกว่าที่ pH 3 และสตาร์ชทั้งสองชนิดไม่มีความเสถียรต่อการแช่แข็ง-การละลายน้ำแข็ง เมื่อนําสตาร์ชสาคูไทย และสาคูจีนมาดัดแปรด้วยปฏิกิริยาการแทนที่ โดยแปรความเข้มข้นของโซเดียมไตรโพลีฟอสเฟต (STPP) ที่ 2, 4, 6% และเวลาในการทําปฏิกิริยา 1, 2, 3 ชั่วโมง พบว่าสตาร์ชสาคูไทยดัดแปรมีโครงสร้างผลึกแบบ A ซึ่งแตกต่างจากสตาร์ชธรรมชาติที่มีโครงสร้างผลึกแบบ C ส่วนสตาร์ชสาคูจีนดัดแปรมีโครงสร้างผลึกแบบ B เหมือนสตาร์ชธรรมชาติ โดยสตาร์ชที่ดัดแปรที่ความเข้มข้นของ STPP และเวลาในการทําปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น มีกําลังการพองตัว และการละลายสูงขึ้น จนถึงระดับการแทนที่หนึ่ง หลังจากนั้นสตาร์ชมีกําลังการพองตัวลดลง สตาร์ชดัดแปรมี pasting temperature ค่า peak viscosity ค่า setback ค่า enthalpy ที่ใช้ในการเกิดเจล และ % retrogradation ต่ำกว่าสตาร์ชธรรมชาติ แต่มีความทนทานต่อแรงเฉือน ความร้อน และมีเสถียรภาพต่อการแช่แข็ง-การละลายน้ำแข็งเพิ่มขึ้น เมื่อดัดแปรสตาร์ชด้วยปฏิกิริยาเชื่อมขวาง โดยแปรความเข้มข้นของโซเดียมไตรเมตาฟอสเฟต (STMP) ที่ 0.05, 0.10, 0.15% และเวลาในการทําปฏิกิริยา 1, 2.5, 4 ชั่วโมง พบว่าสตาร์ชสาคูไทยดัดแปรมีโครงสร้างผลึกแบบ A ส่วนสตาร์ชสาคูจีนดัดแปรมีโครงสร้างผลึกแบบ B โดยสตาร์ชที่ดัดแปรที่ความเข้มข้นของ STMP และเวลาในการทําปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น มีกําลังการพองตัวและการละลายต่ำลง ค่า peak viscosity ค่า setback และ %retrogradation ลดลง และมีความทนทานต่อแรงเฉือน ความร้อน ความเป็นกรด และด่างเพิ่มขึ้น ส่วนค่า enthalpy ที่ใช้ในการเกิดเจลของสตาร์ชสาคูไทยดัดแปรจะลดลง แต่สตาร์ชสาคูจีนดัดแปรไม่เปลี่ยนแปลง |
บรรณานุกรม | : |
นพร แซ่เบ๊, 2523- . (2547). ผลการดัดแปรด้วยปฏิกิริยาการแทนที่ และปฏิกิริยาเชื่อมขวางด้วยหมู่ฟอสเฟต ต่อสมบัติทางเคมีกายภาพของสตาร์ชสาคูไทย (Maranta arundinaceae L.) และสตาร์ชสาคูจีน (Canna edulis Ker.).
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นพร แซ่เบ๊, 2523- . 2547. "ผลการดัดแปรด้วยปฏิกิริยาการแทนที่ และปฏิกิริยาเชื่อมขวางด้วยหมู่ฟอสเฟต ต่อสมบัติทางเคมีกายภาพของสตาร์ชสาคูไทย (Maranta arundinaceae L.) และสตาร์ชสาคูจีน (Canna edulis Ker.)".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นพร แซ่เบ๊, 2523- . "ผลการดัดแปรด้วยปฏิกิริยาการแทนที่ และปฏิกิริยาเชื่อมขวางด้วยหมู่ฟอสเฟต ต่อสมบัติทางเคมีกายภาพของสตาร์ชสาคูไทย (Maranta arundinaceae L.) และสตาร์ชสาคูจีน (Canna edulis Ker.)."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. นพร แซ่เบ๊, 2523- . ผลการดัดแปรด้วยปฏิกิริยาการแทนที่ และปฏิกิริยาเชื่อมขวางด้วยหมู่ฟอสเฟต ต่อสมบัติทางเคมีกายภาพของสตาร์ชสาคูไทย (Maranta arundinaceae L.) และสตาร์ชสาคูจีน (Canna edulis Ker.). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|