ชื่อเรื่อง | : | รูปแบบการพัฒนาความคิดอย่างเป็นระบบเพื่อสร้างเสริมความสามารถ ด้านทักษะการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยใช้แนวคิดทฤษฎีไตรอาร์ขิกและวิธีการแบบสแกฟโฟลดิ์ |
นักวิจัย | : | กมล โพธิเย็น |
คำค้น | : | ภาษาไทย -- การเขียน , ความคิดและการคิด |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ , ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9745312975 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3327 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความคิดอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างเสริมความสามารถด้านทักษะการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยใช้แนวคิดทฤษฎีไตรอาร์ขิกและวิธีการแบบสแกฟโฟลด์ และประเมินคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอน ที่พัฒนาขึ้นโดยเปรียบเทียบคะแนน ความสามารถด้านทักษะการเขียนความเรียงภาษาไทย และด้านการคิดอย่างเป็นระบบของนักศึกษาที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น และของนักศึกษาที่เรียนตามปกติ การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เริ่มจากการวิเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีไตรอาร์ขิก การพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ การเรียนการสอนโดยใช้วิธีการแบบ สแกฟโฟลด์ เทคนิคการระดมสมอง เทคนิคผังความคิด และวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการในการสร้างเสริมความสามารถ ด้านทักษะการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีแล้ว นำข้อมูลที่ได้มาพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน และประเมินคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอน ที่พัฒนาขึ้นโดยนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพณิชยการพระนคร จำนวน 90 คน แบ่งแบบสุ่มเป็นกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้คะแนนความสามารถพื้นฐานทางการเขียน เป็นตัวควบคุม โดยแต่ละกลุ่มจะมีตัวอย่าง 30 คน การทดลอง 6 สัปดาห์ รวม 18 ชั่วโมง โดยมีการวัดความสามารถด้านทักษะการเขียนความเรียงภาษาไทย และด้านการคิดอย่างเป็นระบบของกลุ่มตัวอย่างทั้งก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ One way analysis of variance และ Two way analysis of variance และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี 1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยหลักการคือ การช่วยเหลือสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ โดยการวางแผนความคิดอย่างเป็นระบบและชัดเจน ก่อนที่จะลงมือเขียนและมอบหมายงานให้แก่ผู้เรียน ต้องเหมาะสมกับระดับความสามารถของผู้เรียน วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความคิดอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างเสริมความสามารถด้านทักษะการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ขั้นตอนการเรียนมี 6 ขั้น ได้แก่ 1) สร้างความน่าสนใจและให้เสรีในการฝึก 2) ใช้ประสบการณ์และปรับบริบทในการเรียนรู้ 3) สร้างความชัดเจนทางความคิด 4) ตรวจสอบทบทวนความคิด 5) ลงมือปฏิบัติงานตามผังโครงร่างความคิด 6) ตรวจประเมินผลงานเพื่อการปรับปรุง การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน มีทั้งระหว่างและภายหลังการเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอน 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียน พบว่า 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน พบว่า 2.1 คะแนนความสามารถด้านทักษะการเขียนความเรียงภาษาไทยของกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 1 และกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 2 หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 คะแนนความสามารถด้านทักษะการเขียนความเรียงภาษาไทยของกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 1 และกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 2 หลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3 คะแนนความสามารถด้านการคิดอย่างเป็นระบบของกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 1 และกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 2 หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.4 คะแนนความสามารถด้านการคิดอย่างเป็นระบบของกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 1 และกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 2 หลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.5 การวิเคราะห์เนื้อหาจากบันทึกผลการเรียนรู้ของกลุ่มทดลองทั้งสองกลุ่ม แสดงให้เห็นว่าการเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ส่งเสริมการพัฒนาความคิดอย่างเป็นระบบและพัฒนาความสามารถด้านทักษะการเขียนความเรียงภาษาไทย อันเป็นผลจากการที่ผู้เรียนได้สร้างแผนผังโครงร่างความคิดก่อนลงมือเขียน ได้มีปฏิสัมพันธ์ ทำงานร่วมกันและช่วยเหลือการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน |
บรรณานุกรม | : |
กมล โพธิเย็น . (2547). รูปแบบการพัฒนาความคิดอย่างเป็นระบบเพื่อสร้างเสริมความสามารถ ด้านทักษะการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยใช้แนวคิดทฤษฎีไตรอาร์ขิกและวิธีการแบบสแกฟโฟลดิ์.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กมล โพธิเย็น . 2547. "รูปแบบการพัฒนาความคิดอย่างเป็นระบบเพื่อสร้างเสริมความสามารถ ด้านทักษะการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยใช้แนวคิดทฤษฎีไตรอาร์ขิกและวิธีการแบบสแกฟโฟลดิ์".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กมล โพธิเย็น . "รูปแบบการพัฒนาความคิดอย่างเป็นระบบเพื่อสร้างเสริมความสามารถ ด้านทักษะการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยใช้แนวคิดทฤษฎีไตรอาร์ขิกและวิธีการแบบสแกฟโฟลดิ์."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. กมล โพธิเย็น . รูปแบบการพัฒนาความคิดอย่างเป็นระบบเพื่อสร้างเสริมความสามารถ ด้านทักษะการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยใช้แนวคิดทฤษฎีไตรอาร์ขิกและวิธีการแบบสแกฟโฟลดิ์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|