ชื่อเรื่อง | : | การส่งผ่านของความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยจากประเทศไทย ไปประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเอเชีย |
นักวิจัย | : | นบพงศ์ เอี่ยมไพบูลย์พันธ์, 2522- |
คำค้น | : | อัตราดอกเบี้ย -- เอเชียตะวันออก , ดอกเบี้ย , การเงินการธนาคาร , ไทย -- ภาวะเศรษฐกิจ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | พรชนก คัมภีรยส คูเวนเบิร์ค , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9745310433 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3257 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทำการศึกษาถึงความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยของประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และ เกาหลีใต้ ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1996-ค.ศ. 1998 และทำการทดสอบว่ามีการส่งผ่านของความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Volatility Transmission) จากไทยไปยังประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเกิดขึ้นในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเอเชียหรือไม่ ทั้งนี้ความอ่อนแอของระบบเศรษฐกิจในไทยซึ่งอาจสะท้อนจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นในไทยอาจส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงค่าของอัตราดอกเบี้ยในประเทศต่างๆ โดยผ่านทางช่องทางความเชื่อมโยงด้านการเงิน การศึกษาครั้งนี้ทำการทดสอบการส่งผ่านของความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยจากไทยไปยังประเทศอื่นๆ โดยใช้แบบจำลอง VARX-Multivariate GARCH สำหรับ Mean Equation จะเป็นการประมาณค่าแบบจำลอง VARX เพื่อใช้ในการอธิบาย (Capture) การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในลักษณะ First Moment ขณะที่การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในลักษณะ Second Moment จะถูกประมาณค่าโดยแบบจำลอง Multivariate (MV) GARCH ซึ่งเป็นการประมาณค่า Variance Equation โดยตัวแบบที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ BEKK(1,1) MV Model ข้อมูลที่ใช้ในการทดสอบประกอบด้วยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารแบบ Overnight รายวันของประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ และ Federal Fund Rate ของสหรัฐอเมริกา โดยเก็บข้อมูลตั้งแต่ปี ค.ศ. 1996-ค.ศ. 1998 จากการทดสอบเชิงประจักษ์ พบผลการศึกษาที่สำคัญสามารถสรุปได้ คือ เกิดการส่งผ่านของความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยจากประเทศไทยไปยังความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยของอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเกาหลีใต้ ณ ระดับนัยสำคัญ 1% และเกิดการส่งผ่านของ Shock จากประเทศไทยไปยังความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยของมาเลเซีย อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้ ณ ระดับนัยสำคัญ 1% จากผลการศึกษาที่ได้ข้างต้นสามารถอธิบายได้ว่าความเชื่อมโยงด้านการเงินโดยเฉพาะอย่างยิ่งความเชื่อมโยงด้านการเงินทางอ้อมซึ่งส่งผ่านทางนักลงทุนระหว่างประเทศจัดเป็นช่องทางที่มีความสำคัญในการอธิบายการส่งผ่านของความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยของไทยไปประเทศต่างๆ นอกจากนั้น ยังพบอีกว่าความอ่อนแอของปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจภายในประเทศและความคล้ายคลึงกันของปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจก็อาจเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่มีบทบาทในการอธิบายการส่งผ่านของความผันผวนที่เกิดขึ้น |
บรรณานุกรม | : |
นบพงศ์ เอี่ยมไพบูลย์พันธ์, 2522- . (2547). การส่งผ่านของความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยจากประเทศไทย ไปประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเอเชีย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นบพงศ์ เอี่ยมไพบูลย์พันธ์, 2522- . 2547. "การส่งผ่านของความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยจากประเทศไทย ไปประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเอเชีย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นบพงศ์ เอี่ยมไพบูลย์พันธ์, 2522- . "การส่งผ่านของความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยจากประเทศไทย ไปประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเอเชีย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. นบพงศ์ เอี่ยมไพบูลย์พันธ์, 2522- . การส่งผ่านของความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยจากประเทศไทย ไปประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเอเชีย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|