ชื่อเรื่อง | : | ผลของการบริหารกล้ามเนื้อลำตัวชนิดไอโซเมตริก ต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลำตัวและรูปร่าง |
นักวิจัย | : | เพ็ญพักตร์ หนูผุด, 2517- |
คำค้น | : | การออกกำลังกาย , ไอโซเมตริก (กายบริหาร) , การฝึกกำลังกล้ามเนื้อ , กำลังกล้ามเนื้อ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ราตรี สุดทรวง , อารีรัตน์ อนันต์นนท์ศักดิ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2542 |
อ้างอิง | : | 9743329633 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3243 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 ศึกษาผลการฝึกบริหารกล้ามเนื้อลำตัวชนิดไอโซเมตริก (trunk muscle isometric exercise) ต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลำตัวและรูปร่าง ศึกษาในบุคลากรหญิงของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 30 คน อายุระหว่าง 25-40 ปี ที่มีค่าดัชนีมวลกาย (body mass index) ไม่เกิน 25 ไม่เคยออกกำลังกายมาก่อนในช่วง 6 เดือนก่อนเข้าโปรแกรมฝึกบริหารกล้ามเนื้อลำตัวชนิดไอโซเมตริก ที่ประกอบด้วยท่าบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลัง ทดสอบผลความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลำตัวกลุ่มงอลำตัว (trunk flexor) และกลุ่มเหยียดลำตัว (trunk extensor) ขณะกล้ามเนื้อหดตัวชนิดไอโซเมตริก (isometric) และไอโซคิเนติค (isokinetic) โดยบันทึกค่าแรงสูงสุดที่กระทำในเชิงมุม ขณะกล้ามเนื้อหดตัวอยู่กับที่ (peak isometric torque) ที่ 0 องศาและ 30 องศา ค่าแรงสูงสุดที่กระทำในเชิงมุมขณะกล้ามเนื้อหดตัวด้วยความเร็วคงที่ ตลอดช่วงการเคลื่อนไหว (peak isokinetic torque) ที่ความเร็ว 60 องศาและ 120 องศาต่อวินาที วัดความหนาของไขมันใต้ผิวหนังบริเวณหน้าท้อง (suprailiac) ซึ่งเป็นบริเวณที่ออกกำลังกับบริเวณใต้ท้องแขน (triceps) ซึ่งเป็นบริเวณที่ไม่ได้ออกกำลัง รวมทั้งขนาดเส้นรอบวงของเอวและสะโพกก่อนการฝึกและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 2 4 6 และ 8 นำผลที่ได้จากการทดสอบมาวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ที่มีมิติเดียว (one-way repeated measurement) โดยกำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เพื่อศึกษาผลความแตกต่างจากการฝึก ระหว่างก่อนการฝึกกับหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 2 4 6 และ 8 หากพบว่ามีความแตกต่างก็จะทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยใช้วิธีของตูกี (เอ) [Tukey (a)] การศึกษาครั้งนี้ พบว่าประชากรที่สามารถเข้ารับการฝึกตามโปรแกรมได้ตลอด 8 สัปดาห์มี 27 คน ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อกลุ่มงอลำตัวและกลุ่มเหยียดลำตัว ขณะกล้ามเนื้อหดตัวชนิดไอโซเมตริกและไอโซคิเนติทุกการทดสอบ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หลังการฝึก 2 สัปดาห์และสามารถเพิ่มความแข็งแรงได้ตลอดช่วงที่มีการฝึก 8 สัปดาห์ (p<0.05) จากผลความหนาของไขมันใต้ผิวหนังบริเวณหน้าท้อง และขนาดเส้นรอบวงของเอว ซึ่งเป็นบริเวณที่ออกกำลังลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังการฝึก 2 สัปดาห์ และ 8 สัปดาห์ตามลำดับ (p<0.05) ส่วนขนาดเส้นรอบวงของสะโพกลดลงแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) หลังการฝึก 8 สัปดาห์ แสดงให้เห็นว่าการฝึกบริหารกล้ามเนื้อลำตัวชนิด isometric สามารถปรับปรุงรูปร่างของผู้หญิงได้ โดยไม่ทำให้ขนาดของกล้ามเนื้อใหญ่ขึ้น แต่จะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงกระชับขึ้น และโปรแกรมนี้สามารถนำไปใช้สำหรับผู้ที่ต้องฝึก เพื่อป้องกันอาการปวดหลังและสามารถปรับปรุงท่วงท่าได้ด้วยตัวเอง |
บรรณานุกรม | : |
เพ็ญพักตร์ หนูผุด, 2517- . (2542). ผลของการบริหารกล้ามเนื้อลำตัวชนิดไอโซเมตริก ต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลำตัวและรูปร่าง.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เพ็ญพักตร์ หนูผุด, 2517- . 2542. "ผลของการบริหารกล้ามเนื้อลำตัวชนิดไอโซเมตริก ต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลำตัวและรูปร่าง".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เพ็ญพักตร์ หนูผุด, 2517- . "ผลของการบริหารกล้ามเนื้อลำตัวชนิดไอโซเมตริก ต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลำตัวและรูปร่าง."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542. Print. เพ็ญพักตร์ หนูผุด, 2517- . ผลของการบริหารกล้ามเนื้อลำตัวชนิดไอโซเมตริก ต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลำตัวและรูปร่าง. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.
|