ชื่อเรื่อง | : | การเปรียบเทียบการเหนี่ยวนำดิฟเฟอเรนซิเอชัน และการสร้างเนื้อเยื่ออนินทรีย์ ในเซลล์เพาะเลี้ยงจากเอ็นยึดปริทันต์ของมนุษย์ โดยเมทริกซ์ของกระดูก (DFDB) และ ผงกระดูก (FDB) : รายงานผลการวิจัย |
นักวิจัย | : | ทัศนีย์ ดรงค์สุวรรณ , ประสิทธิ์ ภวสันต์ |
คำค้น | : | ฟัน -- ดิฟเฟอเรนชิเอชัน , เซลล์สร้างเส้นใย , เอ็นยึดปริทันต์ , เนื้อเยื่อฟัน |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์. ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์. ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2543 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3236 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | เมทริกซ์ของกระดูก (DFDB) และผงกระดูก (FDB) เป็นสารที่มีการนำไปใช้ร่วมกับการทำศัลย์ปริทันต์ เพื่อหวังผลในการกระตุ้นการเสริมสร้างใหม่ของเนื้อเยื่อปริทันต์ อย่างไรก็ตาม รายงานถึงผลของการใช้สารทั้งสองชนิดในผู้ป่วยยังคงมีความขัดแย้งและไม่ชัดเจน เพื่อเป็นการศึกษาเพิ่มเติมถึงการตอบสนองโดยตรงของเซลล์เอ็นยึดปริทันต์ที่มีต่อสารทั้งสองชนิด คณะผู้วิจัยได้ทำการทดลองศึกษาผลของ DFDB และ FDB ที่มีต่อดิฟเฟอเรนชิเอชันของเซลล์ดังกล่าวในห้องปฏิบัติการ ผลการทดลองพบว่า ที่ความเข้มข้น 2 และ 4 มิลลิกรัม/ตารางเซนติเมตรของ DFDB และ FDB จะมีผลในการลดระดับของเอนไซม์อัลคาไลน์ฟอสฟาเตส ในขณะที่ระดับความเข้มข้นที่ 0.5 และ 1 มิลลิกรัม/ตารางเซนติเมตร ไม่มีผลต่อการทำงานของเอนไซม์อัลคาไลน์ฟอสฟาเตส นอกจากนี้ เมื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของออสติโอพอนทีนและโบนไซเอโลโปรตีน ด้วยเทคนิคอาร์ที-พีซีอาร์ พบว่าเซลล์จะตอบสนองต่อสารทั้งสองชนิดโดยการเพิ่มระดับของออสติโอพอนทีน เมื่อใช้ความเข้มข้นของทั้ง DFDB และ FDB ที่ 1 มิลลิกรัม/ตารางเซนติเมตร ในวันที่ 4 และเมื่อเลี้ยงต่อเป็นเวลา 8 และ 18 วัน พบว่าระดับของทั้งออสติโอพอนทีนและโบนไซเอโลโปรตีน จะเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม อย่างไรก็ดี ไม่ปรากฎความแตกต่างอย่างชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบผลระหว่างการใช้ DFDB และ FDB รวมทั้งไม่พบการสร้างตะกอนอนินทรีย์อย่างชัดเจนบนจานเลี้ยงเซลล์ ในสภาวะที่มี DFDB และ FDB ด้วย เมื่อทดลองโรยสารทั้งสองชนิดลงใน tissue culture insert เพื่อไม่ให้เซลล์ได้สัมผัสกับสารทั้งสองชนิดโดยตรง ผลการทดลองแสดงว่าสารที่ละลายออกจากทั้ง DFDB และ FDB สามารถกระตุ้นการแสดงออกของออสติดอพอนทีนได้ภายใน 3 วัน ผลการทดลองทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นว่าเซลล์เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อเอ็นยึดปริทันต์ของมนุษย์สามารถตอบสนองโดยตรงต่อสารทั้งสองชนิด แต่ผลของการตอบสนองนั้น จะไม่เกิดถึงระดับที่สามารถเหนี่ยวนำการสร้างตะกอนอนินทรีย์ได้ และองค์ประกอบในสารทั้งสองชนิดที่มีต่อผลเซลล์เอ็นยึดปริทันต์อาจเป็นสารจำพวกโกร๊ทแฟคเตอร์ที่ละลายออกจาก DFDB และ FDB |
บรรณานุกรม | : |
ทัศนีย์ ดรงค์สุวรรณ , ประสิทธิ์ ภวสันต์ . (2543). การเปรียบเทียบการเหนี่ยวนำดิฟเฟอเรนซิเอชัน และการสร้างเนื้อเยื่ออนินทรีย์ ในเซลล์เพาะเลี้ยงจากเอ็นยึดปริทันต์ของมนุษย์ โดยเมทริกซ์ของกระดูก (DFDB) และ ผงกระดูก (FDB) : รายงานผลการวิจัย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทัศนีย์ ดรงค์สุวรรณ , ประสิทธิ์ ภวสันต์ . 2543. "การเปรียบเทียบการเหนี่ยวนำดิฟเฟอเรนซิเอชัน และการสร้างเนื้อเยื่ออนินทรีย์ ในเซลล์เพาะเลี้ยงจากเอ็นยึดปริทันต์ของมนุษย์ โดยเมทริกซ์ของกระดูก (DFDB) และ ผงกระดูก (FDB) : รายงานผลการวิจัย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทัศนีย์ ดรงค์สุวรรณ , ประสิทธิ์ ภวสันต์ . "การเปรียบเทียบการเหนี่ยวนำดิฟเฟอเรนซิเอชัน และการสร้างเนื้อเยื่ออนินทรีย์ ในเซลล์เพาะเลี้ยงจากเอ็นยึดปริทันต์ของมนุษย์ โดยเมทริกซ์ของกระดูก (DFDB) และ ผงกระดูก (FDB) : รายงานผลการวิจัย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543. Print. ทัศนีย์ ดรงค์สุวรรณ , ประสิทธิ์ ภวสันต์ . การเปรียบเทียบการเหนี่ยวนำดิฟเฟอเรนซิเอชัน และการสร้างเนื้อเยื่ออนินทรีย์ ในเซลล์เพาะเลี้ยงจากเอ็นยึดปริทันต์ของมนุษย์ โดยเมทริกซ์ของกระดูก (DFDB) และ ผงกระดูก (FDB) : รายงานผลการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2543.
|