ชื่อเรื่อง | : | การเหนี่ยวนำดิฟเฟอเรนชิเอชั่นของเซลล์จากเนื้อเยื่อโพรงฟันของมนุษย์โดยเดกซาเมธาโซน : รายงานผลการวิจัย |
นักวิจัย | : | ศิริวิมล ศรีสวัสดิ์ , นีรชา เรืองพานิช , ประสิทธิ์ ภวสันต์ |
คำค้น | : | การเพาะเลี้ยงเซลล์ , เนื้อเยื่อฟัน , เดกซาเมธาโซน , เซลล์สร้างเส้นใย |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาทันตกรรมหัตถการ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์. ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์. ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3234 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | เซลล์โพรงฟันเป็นเซลล์ที่มีหน้าที่สำคัญในการซ่อมแซมเนื้อฟัน โดยเมื่ออยู่ในภาวะที่เหมาะสม จะมีความสามารถดิฟเฟอเรนซิเอทเป็นเซลล์สร้างเนื้อฟัน แต่ปัจจัยที่มีผลต่อการดิฟเฟอเรนซิเอชั่นนี้ยังไม่ชัดเจน การทดลองนี้เป็นการศึกษาผลของเดกซาเมธาโซน ที่ขนาดและเวลาต่างๆ ที่มีต่อดิฟเฟอเรนชิเอชั่นของเซลล์สร้างเส้นใยที่เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อโพรงประสาทฟันของมนุษย์ ในแง่ของระดับการทำงานของเอนไซม์อัลคาไลน์ฟอสฟาเตส การแสดงออกของออสติโอพอนติน ปริมาณของคอลลาเจนที่เซลล์ผลิต โดยวัดปริมาณของไฮดรอกซีโพรลีน สัดส่วนปริมาณของคอลลาเจนชนิดที่ I และชนิดที่ III ที่ เซลล์ผลิต ระดับของไลซิลไฮดรอกซิเลชั่นของคอลลาเจนชนิดที่ I และระดับของเอมไซม์ LH1 และ LH 2 ผลการทอดลองพบว่าความเข้มข้นของเดกซาเมธาโซนที่มีผลต่อการกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์อัลคาไลน์ฟอสฟาเตสให้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนคือ 200 นาโนโมลาร์ โดยเดกซาเมธาโซนสามารถเพิ่มการแสดงออกของทั้งอัลคาไลน์ฟอสฟาเตส และออสติโอพอนติน โดยเห็นผลชัดเจนที่วันที่ 10 หลังจากเริ่มกระตุ้น เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับการกระตุ้น พบว่ามีการสร้างคอลลาเจนเพิ่มขึ้นเมื่อกระตุ้นเซลล์โพรงฟันมนุษย์ด้วยเดกซาเมธาโซนเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับการกระตุ้น และระดับการสร้างเพิ่มนี้สัมพันธ์กับระยะเวลาที่ผ่านไป ระดับการสร้างคอลลาเจนชนิดที่ III มีปริมาณน้อยมากจนไม่สามารถตรวจพบวิธีที่ใช้ในการทดลองนี้ จึงไม่สามารถสรุปผลของเดกซาเมธาโซนที่มีต่อการสร้างคอลลาเจนชนิดที่ III นอกจากนี้ ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของระดับของไลซิลไฮดรอกซิเลชันของคอลลาเจน ซึ่งสอดคล้องกับการที่ระดับของเอนไซม์ LH1 และ LH2 ไม่มีการเปลี่ยนแปลง |
บรรณานุกรม | : |
ศิริวิมล ศรีสวัสดิ์ , นีรชา เรืองพานิช , ประสิทธิ์ ภวสันต์ . (2546). การเหนี่ยวนำดิฟเฟอเรนชิเอชั่นของเซลล์จากเนื้อเยื่อโพรงฟันของมนุษย์โดยเดกซาเมธาโซน : รายงานผลการวิจัย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศิริวิมล ศรีสวัสดิ์ , นีรชา เรืองพานิช , ประสิทธิ์ ภวสันต์ . 2546. "การเหนี่ยวนำดิฟเฟอเรนชิเอชั่นของเซลล์จากเนื้อเยื่อโพรงฟันของมนุษย์โดยเดกซาเมธาโซน : รายงานผลการวิจัย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศิริวิมล ศรีสวัสดิ์ , นีรชา เรืองพานิช , ประสิทธิ์ ภวสันต์ . "การเหนี่ยวนำดิฟเฟอเรนชิเอชั่นของเซลล์จากเนื้อเยื่อโพรงฟันของมนุษย์โดยเดกซาเมธาโซน : รายงานผลการวิจัย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. ศิริวิมล ศรีสวัสดิ์ , นีรชา เรืองพานิช , ประสิทธิ์ ภวสันต์ . การเหนี่ยวนำดิฟเฟอเรนชิเอชั่นของเซลล์จากเนื้อเยื่อโพรงฟันของมนุษย์โดยเดกซาเมธาโซน : รายงานผลการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|