ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนาหัววัดรังสีพรอพอร์ชันแนลที่มีแอโนดรูปแบบใหม่ |
นักวิจัย | : | จีรยุทธ ธำรงพุทธิกุล, 2522- |
คำค้น | : | หัววัดรังสีพรอพอร์ชันแนล , รังสีเอกซ์--การวัด , หัววัดรังสีเอกซ์ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุวิทย์ ปุณณะชัยยะ , นเรศร์ จันทน์ขาว , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9745314692 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3112 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 ได้พัฒนาหัววัดรังสีชนิดพรอพอร์ชันแนลแบบก๊าซไหล 3 รูปแบบ ได้แก่ หัววัดรังสีแบบหน้าต่างด้านข้างชนิดแอโนดวางแนวขนานหัววัดรังสีแบบหน้าต่างด้านหน้าชนิดแอโนดวางแนวขนานกับแคโทด และหัววัดรังสีแบบหน้าต่างด้านหน้าชนิดแอโนดวางตั้งฉากกับผนังแคโทด ชิ้นส่วนต่างๆ เลือกใช้วัสดุที่สามารถจัดหาได้ภายในประเทศเป็นหลัก หัววัดรังสีแบบหน้าต่างด้านข้างและหน้าต่างด้านหน้าชนิดแอโนดวางแนวขนานใช้วัสดุแคโทดเป็นท่อเหล็กกล้าไร้สนิม 304 ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 23.4 mm ส่วนหัววัดรังสีแบบหน้าต่างด้านหน้าและแอโนดวางแนวตั้งฉากกับผนังแคโทดใช้วัสดุแคโทดเป็นเหล็กกล้าไร้สนิมชนิดภาชนะถ้วย ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 50 mm สูง 30 mm สำหรับเส้นลวดแอโนดใช้เส้นลวดทังสเตนเคลือบทองขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 30 micrometre ศึกษาเปรียบเทียบกับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 100 micrometre หน้าต่างของหัววัดรังสีใช้อลูมิไนซ์โพลิโพรพีลีนหนา 25 micrometre และใช้ก๊าซอาร์กอน-มีเทน (P-10) ซึ่งควบคุมอัตราการไหลของก๊าซด้วยอุปกรณ์ควบคุมความดันเป็นก๊าซตัวกลางในการวัดรังสี ผลทดสอบ หัววัดรังสีแบบหน้าต่างด้านข้างชนิดแอโนดวางแนวขนาน หัววัดรังสีแบบหน้าต่างด้านหน้าชนิดแอโนดวางแนวขนานและหัววัดรังสีแบบหน้าต่างด้านหน้าชนิดแอโนดวางแนวตั้งฉากกับผนังแคโทดที่พัฒนาขึ้น โดยใช้อัตราการไหลของก๊าซ 20 ml/min พบว่ามีช่วงพลาโตที่ 1800-2200 V, 1200-1700 V และ 1300-1650 V และมีค่าความสามารถในการแจกแจงพลังงานรังสีเอกซ์ที่พลังงาน 5.9 keV ของ Fe-55 เท่ากับ 16.8%, 19.1% และ 34% ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าหัววัดรังสีแบบหน้าต่างด้านข้างชนิดแอโนดวางแนวขนานและหัววัดรังสีแบบหน้าต่างด้านหน้าชนิดแอโนดวางแนวขนาน สามารถวัดพลังงานรังสีเอกซ์ได้ตั้งแต่ช่วงพลังงานสูง 30 keV ลงไปถึงพลังงานรังสีอัลตราไวโอเลตย่านพลังงงานสูงได้ โดยมีความเป็นเชิงเส้นของการวัดพลังงาน R[superscript 2] = 0.9999 |
บรรณานุกรม | : |
จีรยุทธ ธำรงพุทธิกุล, 2522- . (2547). การพัฒนาหัววัดรังสีพรอพอร์ชันแนลที่มีแอโนดรูปแบบใหม่.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จีรยุทธ ธำรงพุทธิกุล, 2522- . 2547. "การพัฒนาหัววัดรังสีพรอพอร์ชันแนลที่มีแอโนดรูปแบบใหม่".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จีรยุทธ ธำรงพุทธิกุล, 2522- . "การพัฒนาหัววัดรังสีพรอพอร์ชันแนลที่มีแอโนดรูปแบบใหม่."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. จีรยุทธ ธำรงพุทธิกุล, 2522- . การพัฒนาหัววัดรังสีพรอพอร์ชันแนลที่มีแอโนดรูปแบบใหม่. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|