ชื่อเรื่อง | : | การให้ความร้อนโดยวิธีโอห์มมิกเพื่อการพาสเจอไรซ์นมเปรี้ยวพร้อมดื่มผสมเนื้อสับปะรด |
นักวิจัย | : | ปนิธัตถ์ พลายชุม |
คำค้น | : | น้ำนม--กระบวนการความร้อน , น้ำนม--การทำลายเชื้อ , นมเปรี้ยว |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | กัลยา เลาหสงคราม , สายวรุฬ ชัยวานิชศิริ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741728344 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2865 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 ศึกษาผลของอุณหภูมิและปริมาณของแข็งที่มีต่อสภาพนำไฟฟ้าของ นมเปรี้ยวพร้อมดื่มผสมเนื้อสับปะรดและศึกษาการให้ความร้อนโดยวิธีโอห์มมิกเพื่อการพาสเจอไรซ์แบบ HTST โดยขั้นตอนแรกออกแบบและสร้างเซลล์สำหรับการให้ความร้อนโดยวิธีโอห์มมิกแบบสถิตย์ แล้วทดสอบ การทำงานและความถูกต้องของเซลล์ด้วยสารละลายโซเดียมคลอไรด์เข้มข้น 0.1 และ 0.02 โมลาร์ และสารละลายโมโนโซเดียมฟอสเฟตเข้มข้น 0.1 โมลาร์ ความต่างศักย์ 4-6 โวลท์ ความถี่ 50 เฮิร์ทซ พบว่า สภาพนำไฟฟ้าที่วัดได้ที่อุณหภูมิ 25ํC มีความคลาดเคลื่อนจากค่าอ้างอิง 2-4% 5% และ 11-14% ตามลำดับ ขั้นต่อมาศึกษาผลของชนิดของวัสดุที่ใช้ทำขั้วอิเลคโทรด (เหล็กปลอดสนิมเบอร์ 304 316 และไทเทเนียม) และความเข้มสนามไฟฟ้า (10 20 30 และ 40 โวลท์/เซนติเมตร) ที่มีต่อสภาพนำไฟฟ้าของ นมเปรี้ยวซึ่งประกอบด้วยโยเกิร์ต 50% น้ำสับปะรดเข้มข้น 10ํBrix 15% น้ำตาลทราย 7% และน้ำ 28% ที่มีเนื้อสับปะรดรูปลูกบาศก์ขนาด 1x1x1 เซนติเมตร ปริมาณ 5%(w/w) พบว่า วัสดุที่ใช้ทำขั้วอิเลคโทรดไม่มีผลต่อสภาพนำไฟฟ้าของนมเปรี้ยวอย่างมีนัยสำคัญ (p>0.05) แต่ความเข้มสนามไฟฟ้ามีผลต่อสภาพนำไฟฟ้าของนมเปรี้ยวอย่างมีนัยสำคัญ (p<_0.05) โดยสภาพนำไฟฟ้ามีค่าสูงขึ้นเมื่อความเข้มสนามไฟฟ้าเพิ่มขึ้นที่ความเข้มสนามไฟฟ้า 10 โวลท์/เซนติเมตร อัตราการเพิ่มอุณหภูมิของนมเปรี้ยวผสมเนื้อสับปะรดต่ำโดยไม่มีความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของนมเปรี้ยวและเนื้อสับปะรด ที่ความเข้มสนามไฟฟ้า 20 และ 30 โวลท์/เซนติเมตร มีความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของนมเปรี้ยวและเนื้อสับปะรดเล็กน้อย และที่ ความเข้มสนามไฟฟ้า 40 โวลท์/เซนติเมตร มีอัตราการเพิ่มอุณหภูมิของนมเปรี้ยวผสมเนื้อสับปะรดสูงและมีความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของนมเปรี้ยวและเนื้อสับปะรดมาก ขั้นที่สามศึกษาผลของปริมาณเนื้อสับปะรด (0-20%,w/w) ที่มีต่อสภาพนำไฟฟ้าของนมเปรี้ยวผสมเนื้อสับปะรด โดยใช้ความเข้มสนามไฟฟ้า 20-30 โวลท์/เซนติเมตร พบว่า ปริมาณเนื้อสับปะรดมีผลต่อสภาพนำไฟฟ้าของนมเปรี้ยวผสมเนื้อสับปะรดอย่างมีนัยสำคัญ (p<_0.05) โดยสภาพนำไฟฟ้ามีค่าลดลงเมื่อปริมาณของแข็งเพิ่มขึ้นในช่วง 5-20%(w/w) จากการหา สมการความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิกับเวลาของนมเปรี้ยวผสมเนื้อสับปะรดขนาด 1x1x1เซนติเมตร พบว่า สมการดังกล่าวไม่สามารถทำนายการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในช่วง 0-80 องศาเซลเซียสได้ เนื่องจากผลของขนาด รูปร่าง และการจัดเรียงของชิ้นเนื้อสับปะรดในนมเปรี้ยวพร้อมดื่ม |
บรรณานุกรม | : |
ปนิธัตถ์ พลายชุม . (2545). การให้ความร้อนโดยวิธีโอห์มมิกเพื่อการพาสเจอไรซ์นมเปรี้ยวพร้อมดื่มผสมเนื้อสับปะรด.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปนิธัตถ์ พลายชุม . 2545. "การให้ความร้อนโดยวิธีโอห์มมิกเพื่อการพาสเจอไรซ์นมเปรี้ยวพร้อมดื่มผสมเนื้อสับปะรด".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปนิธัตถ์ พลายชุม . "การให้ความร้อนโดยวิธีโอห์มมิกเพื่อการพาสเจอไรซ์นมเปรี้ยวพร้อมดื่มผสมเนื้อสับปะรด."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. ปนิธัตถ์ พลายชุม . การให้ความร้อนโดยวิธีโอห์มมิกเพื่อการพาสเจอไรซ์นมเปรี้ยวพร้อมดื่มผสมเนื้อสับปะรด. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|