ชื่อเรื่อง | : | ลักษณะสมบัติของเชื้อไวรัสที่แยกได้จากปลาบู่ทราย Oxyeleotris marmoratus (Bleeker, 1852) ที่เป็นโรค |
นักวิจัย | : | ผ่องพรรณ ประสารกก, 2520- |
คำค้น | : | ปลาบู่ทราย , ปลา--โรค |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | มาลินี ฉัตรมงคลกุล , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2544 |
อ้างอิง | : | 9741706405 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2800 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 โรคของปลาบู่ทรายที่ทำให้มีการตายสูงได้เกิดระบาดขึ้นที่จังหวัดนครปฐมซึ่งอยู่ในเขตภาคกลางของประเทศไทยในเดือนมีนาคม 2543 ปลาที่เป็นโรคมีอาการเป็นแผลหลุมตื้นข้างตัว และบริเวณริมฝีปาก จากการตรวจโรคไม่พบปริสิตภายนอก และปรสิตในเลือด ไม่สามารถสกัดแบคทีเรียจากอวัยวะภายในต่างๆ ได้แก่ ตับ ไต และม้ามได้ ดังนั้นจึงนำปลาที่มีอาการของโรคจำนวน 3 ตัว มาทำการศึกษาเรื่องไวรัส โดยการนำเนื้อเยื่อจากอวัยวะต่างๆ และบริเวณที่เป็นแผลมาบดรวมกัน กรองเนื้อเยื่อที่บดนี้ผ่านแผ่นกรอง ขนาด 0.45 mu แล้วนำไปใส่ในเซลล์ Epithelioma papulosum cyprini (EPC) ที่เพาะเลี้ยงไว้ที่ 25 ํC ในระยะแรกของการติดเชื้อ ไวรัสทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการตายของเซลล์เป็นวงกว้าง เมื่อนำไวรัสไปบ่มด้วยสาร IUdR และคลอโรฟอร์ม ไวรัสไตเตอร์มากกว่า 6 log10 TCID50/ml แสดงว่าไวรัสมีจีโนมเป็นชนิดดีเอ็นเอและมีเปลือกหุ้ม จากการศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็คตรอนแบบลำแสงผ่าน พบไวรัสมีนิวคลีโอแคปซิดเป็นรูป 6 เหลี่ยม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 132.49+-7.77 nm ซึ่งพบอยู่ภายในไซโตพลาสซึมของเซลล์ จากลักษณะสมบัติเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าไวรัสชนิดใหม่ที่สกัดได้นี้เป็นไวรัสที่จัดอยู่ในวงศ์ Iridoviridae ไวรัสจากปลาบู่ทรายเจริญได้ดีในเซลล์เพาะเลี้ยงของปลาได้แก่ bluegill fry (BF-2), EPC, fathead minnow (FHM), brown bullhead (BB), striped snakehead whole fry tissue (SSN-1), และ discuss tail (DT) และเซลล์เพาะเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลาน 2 ชนิดได้แก่ soft-shelled turtle embryo (STE) และ Siamese crocodile embryo (SCE) ที่อุณหภูมิ 25-30 ํC โดยเจริญได้ดีที่สุดในเซลล์เพาะเลี้ยง BF-2 โดยมีค่าไวรัสไตเตอร์สูงถึง 9.2 log10TCID50/ml ไวรัสรุ่นลูกถูกปลดปล่อยออกจากเซลล์ หลังจากการติดเชื้อ 15 ชั่วโมง มีความไวต่อความร้อนที่อุณหภูมิ 56 ํC จากการเพิ่มปริมาณยีนด้วยเทคนิคพีซีอาร์ด้วยไพรเมอร์สำหรับยีน major capsid protein ของไวรัสสกุล Ranavirus พบว่า ได้ผลผลิตพีซีอาร์ เหมือนกับไวรัสในสกุลRanavirus จากการเปรียบเทียบองค์ประกอบของแถบโปรตีน รูปแบบของชิ้นดีเอ็นเอหลังการตัดด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะ ความสัมพันธ์ระหว่างแอนติบอดี และการเรียงลำดับเบสของยีน แสดงให้เห็นว่าไวรัสจากปลาบู่ทรายคล้ายกับไวรัส Rana trigrina ranavirus จากการศึกษานี้สามารถสรุปได้ว่า ไวรัสจากปลาบู่ทรายเป็น Iridovirus และอาจเป็นสาเหตุของโรคในปลาบู่ทรายและมีลักษณะสมบัติคล้ายกับไวรัสสกุล Ranavirus มากที่สุด และได้ตั้งชื่อไวรัสนี้ว่า Oxyeleotris marmoratus ranavirus หรือ OMRV |
บรรณานุกรม | : |
ผ่องพรรณ ประสารกก, 2520- . (2544). ลักษณะสมบัติของเชื้อไวรัสที่แยกได้จากปลาบู่ทราย Oxyeleotris marmoratus (Bleeker, 1852) ที่เป็นโรค.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ผ่องพรรณ ประสารกก, 2520- . 2544. "ลักษณะสมบัติของเชื้อไวรัสที่แยกได้จากปลาบู่ทราย Oxyeleotris marmoratus (Bleeker, 1852) ที่เป็นโรค".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ผ่องพรรณ ประสารกก, 2520- . "ลักษณะสมบัติของเชื้อไวรัสที่แยกได้จากปลาบู่ทราย Oxyeleotris marmoratus (Bleeker, 1852) ที่เป็นโรค."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544. Print. ผ่องพรรณ ประสารกก, 2520- . ลักษณะสมบัติของเชื้อไวรัสที่แยกได้จากปลาบู่ทราย Oxyeleotris marmoratus (Bleeker, 1852) ที่เป็นโรค. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.
|