ชื่อเรื่อง | : | การแสวงหาผู้มีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรถ้ำในลุ่มน้ำลางและลุ่มน้ำของจังหวัดแม่ฮ่องสอน |
นักวิจัย | : | สิทธิพงษ์ ดิลกวณิช |
คำค้น | : | Cave Resources , Co-management , Mae Hong Son , Stakeholders , การมีส่วนร่วมในการจัดการ , ทรัพยากรถ้ำ , ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง , แม่ฮ่องสอน |
หน่วยงาน | : | สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | http://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=PPG4430002 , http://research.trf.or.th/node/875 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | โครงการนี้ มีเป้าหมายทำการเสาะหาและคัดเลือกผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจากกลุ่มสาย อาชีพต่างๆ ได้แก่ กลุ่มชุมชน กลุ่มกำนันผู้ใหญ่และองค์การบริหารส่วนตำบล กลุ่มข้าราชการ จากส่วนกลางและส่วนจังหวัด กลุ่มครูและสาธารณสุข กลุ่มองค์การพัฒนาเอกชน กลุ่มภาค ธุรกิจเอกชน และกลุ่มนักวิชาการ ซึ่งสนใจในการจัดการทรัพยากรถ้ำและทรัพยากรอื่นๆ ที่ เกี่ยวข้อง ในพื้นที่อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อดำเนินงานการจัดการทรัพยากรถ้ำ อย่างเป็นระบบ โดยคณะผู้วิจัยได้ทำการค้นหารายชื่อของบุคคลที่คาดว่าน่าจะมีส่วนสัมพันธ์กับ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ จากเอกสารงานวิจัยและสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ จากนั้นจึงทำ การสอบถามบุคคลดังกล่าวเพื่อขอคำแนะนำในการให้ชื่อของผู้ที่มีความสนใจอื่นๆ ซึ่งคณะผู้ วิจัยจะทำการประเมินความคิดเห็นเป็นรายบุคคลทั้งหมด โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกในเรื่องคุณ ค่าของทรัพยากรต่างๆ และการจัดการทรัพยากรเหล่านั้น แล้วคณะผู้วิจัยจึงทำการกลั่นกรองผู้ ที่มีความสนใจจริงอีกครั้ง ด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึกเฉพาะกลุ่มที่อยู่ในสายอาชีพเดียวกัน พร้อมกับแจกแจงบทบาทและหน้าที่ในการจัดการทรัพยากรถ้ำและทรัพยากรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ก่อนที่จะนำผู้ที่มีความสนใจจริงทั้งหมดมาประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกัน เพื่อระดมความคิดเห็น ในการสร้างแนวทางหรือแผนกลยุทธ์เบื้องต้นที่สามารถนำไปสู่แผนการปฏิบัติงานของการจัด การทรัพยากรถ้ำและทรัพยากรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ต่อจากนี้ คณะผู้วิจัยจะทำการคัดเลือกผู้ที่มี ความตั้งใจจริงและสามารถจะทำการศึกษาเรื่องการจัดการทรัพยากรถ้ำในเชิงลึกต่อไป ผลของการวิจัยครั้งนี้ พบว่า แผนกลยุทธ์ของการจัดการทรัพยากรถ้ำ ต้องเริ่มจากการ หาความรู้ด้านต่างๆ เกี่ยวกับถ้ำ เพื่อทราบถึงคุณค่าของถ้ำต่อการกำหนดเป้าหมายการใช้ ประโยชน์ที่สอดคล้องกัน โดยผู้ที่จะเข้ามาจัดการถ้ำควรประกอบด้วยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจากตัว แทนฝ่ายต่างๆ เช่น ชุมชน ครู ส่วนราชการระดับท้องถิ่นและส่วนกลาง ภาคธุรกิจเอกชน องค์ กรพัฒนาเอกชน และนักวิชาการ เป็นต้น ซึ่งผู้แทนเหล่านี้สามารถรวมตัวกันอยู่ในรูปคณะ กรรมการถ้ำประจำหมู่บ้าน เพื่อทำการบริหารจัดการในเรื่องสำคัญ 4 ด้าน ได้แก่ 1) การรวบ รวมหาความรู้เกี่ยวข้องกับทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่ในชุมชน 2) สร้างกระบวนการถ่ายทอด ความรู้ 3) บริหารจัดการทรัพยากรถ้ำและทรัพยากรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการบริหารการ เงิน และ 4) ประเมินติดตามผลโครงการวิจัยและโครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ พร้อมกับ การเปลี่ยนแปลงตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรต่างๆ หลังจากการทำแผนกลยุทธ์แล้ว จึงคัดเลือกพื้นที่นำร่อง คือ ชุมชนบ้านถ้ำลอดและบ้านเมืองแพม สำหรับดำเนินการเสาะหาผู้ที่ ตั้งใจจริงในการพัฒนาโครงการวิจัยและโครงการพัฒนาด้านการจัดการทรัพยากรถ้ำ พร้อมกับ กำหนดประเด็นและผู้รับผิดชอบการศึกษาเบื้องต้น โครงการนี้ มีเป้าหมายทำการเสาะหาและคัดเลือกผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจากกลุ่มสาย อาชีพต่างๆ ได้แก่ กลุ่มชุมชน กลุ่มกำนันผู้ใหญ่และองค์การบริหารส่วนตำบล กลุ่มข้าราชการ จากส่วนกลางและส่วนจังหวัด กลุ่มครูและสาธารณสุข กลุ่มองค์การพัฒนาเอกชน กลุ่มภาค ธุรกิจเอกชน และกลุ่มนักวิชาการ ซึ่งสนใจในการจัดการทรัพยากรถ้ำและทรัพยากรอื่นๆ ที่ เกี่ยวข้อง ในพื้นที่อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อดำเนินงานการจัดการทรัพยากรถ้ำ อย่างเป็นระบบ โดยคณะผู้วิจัยได้ทำการค้นหารายชื่อของบุคคลที่คาดว่าน่าจะมีส่วนสัมพันธ์กับ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ จากเอกสารงานวิจัยและสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ จากนั้นจึงทำ การสอบถามบุคคลดังกล่าวเพื่อขอคำแนะนำในการให้ชื่อของผู้ที่มีความสนใจอื่นๆ ซึ่งคณะผู้ วิจัยจะทำการประเมินความคิดเห็นเป็นรายบุคคลทั้งหมด โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกในเรื่องคุณ ค่าของทรัพยากรต่างๆ และการจัดการทรัพยากรเหล่านั้น แล้วคณะผู้วิจัยจึงทำการกลั่นกรองผู้ ที่มีความสนใจจริงอีกครั้ง ด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึกเฉพาะกลุ่มที่อยู่ในสายอาชีพเดียวกัน พร้อมกับแจกแจงบทบาทและหน้าที่ในการจัดการทรัพยากรถ้ำและทรัพยากรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ก่อนที่จะนำผู้ที่มีความสนใจจริงทั้งหมดมาประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกัน เพื่อระดมความคิดเห็น ในการสร้างแนวทางหรือแผนกลยุทธ์เบื้องต้นที่สามารถนำไปสู่แผนการปฏิบัติงานของการจัด การทรัพยากรถ้ำและทรัพยากรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ต่อจากนี้ คณะผู้วิจัยจะทำการคัดเลือกผู้ที่มี ความตั้งใจจริงและสามารถจะทำการศึกษาเรื่องการจัดการทรัพยากรถ้ำในเชิงลึกต่อไป ผลของการวิจัยครั้งนี้ พบว่า แผนกลยุทธ์ของการจัดการทรัพยากรถ้ำ ต้องเริ่มจากการ หาความรู้ด้านต่างๆ เกี่ยวกับถ้ำ เพื่อทราบถึงคุณค่าของถ้ำต่อการกำหนดเป้าหมายการใช้ ประโยชน์ที่สอดคล้องกัน โดยผู้ที่จะเข้ามาจัดการถ้ำควรประกอบด้วยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจากตัว แทนฝ่ายต่างๆ เช่น ชุมชน ครู ส่วนราชการระดับท้องถิ่นและส่วนกลาง ภาคธุรกิจเอกชน องค์ กรพัฒนาเอกชน และนักวิชาการ เป็นต้น ซึ่งผู้แทนเหล่านี้สามารถรวมตัวกันอยู่ในรูปคณะ กรรมการถ้ำประจำหมู่บ้าน เพื่อทำการบริหารจัดการในเรื่องสำคัญ 4 ด้าน ได้แก่ 1) การรวบ รวมหาความรู้เกี่ยวข้องกับทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่ในชุมชน 2) สร้างกระบวนการถ่ายทอด ความรู้ 3) บริหารจัดการทรัพยากรถ้ำและทรัพยากรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการบริหารการ เงิน และ 4) ประเมินติดตามผลโครงการวิจัยและโครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ พร้อมกับ การเปลี่ยนแปลงตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรต่างๆ หลังจากการทำแผนกลยุทธ์แล้ว จึงคัดเลือกพื้นที่นำร่อง คือ ชุมชนบ้านถ้ำลอดและบ้านเมืองแพม สำหรับดำเนินการเสาะหาผู้ที่ ตั้งใจจริงในการพัฒนาโครงการวิจัยและโครงการพัฒนาด้านการจัดการทรัพยากรถ้ำ พร้อมกับ กำหนดประเด็นและผู้รับผิดชอบการศึกษาเบื้องต้น |
บรรณานุกรม | : |
สิทธิพงษ์ ดิลกวณิช . (2545). การแสวงหาผู้มีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรถ้ำในลุ่มน้ำลางและลุ่มน้ำของจังหวัดแม่ฮ่องสอน.
กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. สิทธิพงษ์ ดิลกวณิช . 2545. "การแสวงหาผู้มีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรถ้ำในลุ่มน้ำลางและลุ่มน้ำของจังหวัดแม่ฮ่องสอน".
กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. สิทธิพงษ์ ดิลกวณิช . "การแสวงหาผู้มีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรถ้ำในลุ่มน้ำลางและลุ่มน้ำของจังหวัดแม่ฮ่องสอน."
กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2545. Print. สิทธิพงษ์ ดิลกวณิช . การแสวงหาผู้มีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรถ้ำในลุ่มน้ำลางและลุ่มน้ำของจังหวัดแม่ฮ่องสอน. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย; 2545.
|