ชื่อเรื่อง | : | ภาพลักษณ์สตรีเวียดนามใน ทวี้ เกี่ยว |
นักวิจัย | : | นุสรัต รยะสวัสดิ์, 2516- |
คำค้น | : | สตรีในวรรณคดี , วรรณคดีเวียดนาม |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ตรีศิลป์ บุญขจร , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9741766653 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2716 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวรรณคดีเอกของเวียดนามเรื่อง ทวี้ เกี่ยว ของเหงียนยู ในด้านเนื้อหาและลักษณะคำประพันธ์ และศึกษาวิเคราะห์ภาพลักษณ์และบทบาทของสตรีเวียดนามใน ทวี้ เกี่ยว ผลการศึกษาสรุปได้ว่า วรรณคดีเรื่อง ทวี้ เกี่ยว เป็นวรรณคดีเอกของเวียดนามที่มีความดีเด่นด้านวรรณศิลป์จากการใช้ภาษาและสหบทที่ก่อให้เกิดความลึกซึ้งยิ่งขึ้นในบทประพันธ์ประกอบกับการใช้ฉันทลักษณ์หลุกบ๊าดซึ่งเป็นฉันทลักษณ์ของเวียดนามแท้อันมีจุดเด่นที่ท่วงทำนองจนได้รับการเรียกขานว่าเป็น "ลมหายใจของชาวเวียดนาม" ตลอดจนการยอมรับในบทประพันธ์จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีประชาของชาวเวียดนาม ด้านการศึกษาวิเคราะห์ภาพลักษณ์และบทบาทสตรี วรรณคดีเรื่อง ทวี้ เกี่ยว นำเสนอภาพลักษณ์และบทบาทสตรีเวียดนามสามประการดังนี้ ประการแรก วิถีชีวิตของสตรีเวียดนามดำเนินตามขนบธรรมเนียมปฏิบัติแบบขงจื้อที่ชาวเวียดนามเรียกว่า "ตามต่อง" นั่นคือ เมื่อเป็นลูกสาวต้องเชื่อฟังบิดา เมื่อเป็นภรรยาต้องเชื่อฟังสามี และเมื่อเป็นมารดาต้องเชื่อฟังบุตรชายของตน ประการที่สอง สตรีเวียดนามมีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบต่อครอบครัวและสังคมโดยยกย่องสตรีที่ให้ความสำคัญกับภาระหน้าที่มากกว่าความต้องการส่วนตน ประการสุดท้าย ความกล้าเผชิญกับชะตากรรมเป็นภาพลักษณ์สำคัญของสตรีเวียดนาม |
บรรณานุกรม | : |
นุสรัต รยะสวัสดิ์, 2516- . (2547). ภาพลักษณ์สตรีเวียดนามใน ทวี้ เกี่ยว.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นุสรัต รยะสวัสดิ์, 2516- . 2547. "ภาพลักษณ์สตรีเวียดนามใน ทวี้ เกี่ยว".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นุสรัต รยะสวัสดิ์, 2516- . "ภาพลักษณ์สตรีเวียดนามใน ทวี้ เกี่ยว."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. นุสรัต รยะสวัสดิ์, 2516- . ภาพลักษณ์สตรีเวียดนามใน ทวี้ เกี่ยว. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|