ชื่อเรื่อง | : | ผู้เสพกับการดัดแปลงเนื้อหาและตัวละครเรื่องพระอภัยมณี ในวัฒนธรรมประชานิยมในช่วงปีพุทธศักราช 2545-2546 |
นักวิจัย | : | เปรม สวนสมุทร, 2523- |
คำค้น | : | พระอภัยมณี , ประชานิยม , วรรณคดีไทย |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9741767676 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2694 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 ศึกษาอิทธิพลของผู้เสพที่มีผลต่อการดัดแปลงเนื้อหาและตัวละครในเรื่องพระอภัยมณี ที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่และนำเสนอในสื่อวัฒนธรรมประชานิยมระหว่างปี พ.ศ. 2545-2546 และศึกษาผลกระทบจากการดัดแปลงเนื้อหาและตัวละคร ที่มีผลต่อคุณค่าของวรรณกรรมเรื่องพระอภัยมณี ของสุนทรภู่ ผู้วิจัยได้เลือกข้อมูลเรื่องพระอภัยมณีสำนวนที่สร้างสรรค์ใหม่ระหว่างปี พ.ศ. 2545-2546 จำนวน 3 สำนวน ได้แก่ สำนวนการ์ตูนภาพลายเส้นเรื่องอภัยมณีซาก้า ของบริษัทเนชั่นเอ็ดดูเทนเมนท์จำกัด สำนวนการ์ตูนภาพเคลื่อนไหวของบริษัทแฟนตาซีทาว์นจำกัด และสำนวนภาพยนตร์ลิขสิทธิ์จัดจำหน่ายของบริษัทไร้ท์บิยอนจำกัด จากการศึกษาเปรียบเทียบการดัดแปลงเนื้อหาและตัวละคร ระหว่างสำนวนนิทานคำกลอนและสำนวนที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ด้านการดัดแปลงเนื้อหาพบว่าสำนวนใหม่ทั้ง 3 สำนวน มีการดัดแปลงเนื้อหาเพื่อให้เหมาะสมกับธรรมชาติ และแนวโน้มปัจจุบันของสื่อชนิดใหม่ที่ใช้ในการถ่ายทอด ด้านตัวละครพบว่าทั้ง 3 สำนวนนั้น คงไว้แต่เฉพาะตัวละครที่เป็นหลักและมีบทบาทสำคัญในตอนที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ผู้สร้างสำนวนใหม่ได้ตีความคุณลักษณะของตัวละครใหม่ ด้วยการสร้างให้เป็นตัวละครหลายมิติส่งผลให้ตัวละครดูสมจริงมากขึ้น อนึ่งผู้เสพส่งผลสำคัญต่อการดัดแปลงดังกล่าว เนื่องด้วยการดัดแปลงดังกล่าวนั้นดัดแปลงตามแนวโน้มความนิยมของสื่อประเภทต่างๆ ในปัจจุบัน ด้านการสืบสานคุณค่าพบว่าสำวนที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ รักษาเนื้อเรื่องเฉพาะแต่โครงเรื่องเท่านั้น ด้านแนวคิดสำคัญและแก่นเรื่องได้มีการเลือกสืบสานเฉพาะบางประเด็น ที่ผู้สร้างแต่ละสำนวนเห็นว่าสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับธรรมชาติและแนวโน้มปัจจุบันของสื่อประเภทนั้นๆ ทั้งนี้ได้เสริมแนวคิดจริยธรรมคุณธรรมร่วมสมัยอื่นๆ ประกอบในเนื้อหาที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ด้วย ด้านผลกระทบที่มีต่อคุณค่าของสำนวนนิทานคำกลอนพบว่า สำนวนใหม่นี้ทำให้เห็นความเป็นสากลของสำนวนนิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณี และทำให้ผู้เสพที่ใฝ่รู้สนใจติดตามอ่านสำนวนนิทานคำกลอนซึ่งเป็นสำนวนดั้งเดิมต่อไป |
บรรณานุกรม | : |
เปรม สวนสมุทร, 2523- . (2547). ผู้เสพกับการดัดแปลงเนื้อหาและตัวละครเรื่องพระอภัยมณี ในวัฒนธรรมประชานิยมในช่วงปีพุทธศักราช 2545-2546.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เปรม สวนสมุทร, 2523- . 2547. "ผู้เสพกับการดัดแปลงเนื้อหาและตัวละครเรื่องพระอภัยมณี ในวัฒนธรรมประชานิยมในช่วงปีพุทธศักราช 2545-2546".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เปรม สวนสมุทร, 2523- . "ผู้เสพกับการดัดแปลงเนื้อหาและตัวละครเรื่องพระอภัยมณี ในวัฒนธรรมประชานิยมในช่วงปีพุทธศักราช 2545-2546."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. เปรม สวนสมุทร, 2523- . ผู้เสพกับการดัดแปลงเนื้อหาและตัวละครเรื่องพระอภัยมณี ในวัฒนธรรมประชานิยมในช่วงปีพุทธศักราช 2545-2546. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|