ชื่อเรื่อง | : | ดัชนีการคัดเลือกโคนมลูกผสม จากลักษณะปริมาณน้ำนม อายุเมื่อคลอดครั้งแรก และช่วงการคลอดครั้งแรก |
นักวิจัย | : | เทอดไชย ระลึกมูล, 2521- |
คำค้น | : | โคนม , น้ำนม |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | จันทร์จรัส เรี่ยวเดชะ , ศานิต เก้าเอี้ยน , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9745314617 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2583 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 การศึกษาครั้งนี้รวบรวมบันทึกข้อมูลลักษณะทางเศรษฐกิจ 3 ลักษณะ ได้แก่ ลักษณะ ปริมาณน้ำนมที่ 305 วัน ช่วงการคลอดครั้งแรก และอายุเมื่อคลอดครั้งแรก ของแม่โคนมลูกผสม 1,263 ตัว ซึ่งคลอดระหว่างปี พ.ศ. 2533 ถึง 2545 (ค.ศ. 1990 ถึง 2002) บันทึกข้อมูลโดยองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) จาก 79 ฟาร์มในเขตพื้นที่จังหวัดสระบุรี ค่าพารามิเตอร์ทางพันธุศาสตร์ ของลักษณะทางเศรษฐกิจทั้งสาม ถูกประมาณค่าด้วยวิธี average information restricted maximum likelihood (AI-REML) และแบบหุ่นสัตว์ที่วิเคราะห์ลายลักษณะพร้อมกัน (multiple-trait animal model) โดยโปรแกรมสำเร็จรูป BLUPF90-DAIRYPAK 2.5 ค่าอัตราพันธุกรรมของลักษณะ 3 ลักษณะข้างต้น เท่ากับ 0.05097, และ 0.2712 ตามลำดับ ค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมและลักษณะปรากฏ ระหว่างปริมาณน้ำนมที่ 305 วันกับอายุเมื่อคลอดครั้งแรก ปริมาณน้ำนมที่ 305 วันกับช่วงการคลอดครั้งแรก อายุเมื่อคลอดครั้งแรกกับช่วงการคลอดครั้งแรก มีค่าเท่ากับ 0.1699, 0.2634, 0.9952 และ 0.0874, 0.0862, -0.1235 ตามลำดับ ค่าการผสมพันธุ์ ถูกประมาณค่าด้วยวิธี Best Linear Unbiased Prediction (BLUP) สำหรับค่าเศรษฐกิจของ แต่ละลักษณะ คำนวณได้จากสมการกำไร ซี่งอยู่บนพื้นฐานข้อมูลรายได้และค่าใช้จ่ายปี 2542 ทำการวิเคราะห์หาค่าเศรษฐกิจ เมื่อมูลค่าราคาน้ำนมเพิ่มขึ้น 0 - 30% และราคาอาหารสัตว์เพิ่มขึ้น 0 - 60% ในการศึกษานี้ นำเสนอดัชนีการคัดเลือกที่ประกอบด้วยค่าการผสมพันธุ์ของแต่ละลักษณะในสมการ การกำหนดลักษณะทางการสืบพันธุ์ไว้ในเป้าหมายการปรับปรุงพันธ์ จะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ถ้าหากสถานการณ์วันข้างหน้ามูลค่าราคาน้ำนมไม่เพิ่มขึ้น ขณะที่ราคาอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นอยู่ในช่วง 10- 60% แสดงให้เห็นถึงการคัดเลือกโดยใช้ดัชนีการคัดเลือก มีความเหมาะสมมากกว่าการคัดเลือกที่มุ่งลักษณะปริมาณน้ำนมที่ 305 วัน แต่เพียงอย่างเดียว |
บรรณานุกรม | : |
เทอดไชย ระลึกมูล, 2521- . (2547). ดัชนีการคัดเลือกโคนมลูกผสม จากลักษณะปริมาณน้ำนม อายุเมื่อคลอดครั้งแรก และช่วงการคลอดครั้งแรก.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เทอดไชย ระลึกมูล, 2521- . 2547. "ดัชนีการคัดเลือกโคนมลูกผสม จากลักษณะปริมาณน้ำนม อายุเมื่อคลอดครั้งแรก และช่วงการคลอดครั้งแรก".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เทอดไชย ระลึกมูล, 2521- . "ดัชนีการคัดเลือกโคนมลูกผสม จากลักษณะปริมาณน้ำนม อายุเมื่อคลอดครั้งแรก และช่วงการคลอดครั้งแรก."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. เทอดไชย ระลึกมูล, 2521- . ดัชนีการคัดเลือกโคนมลูกผสม จากลักษณะปริมาณน้ำนม อายุเมื่อคลอดครั้งแรก และช่วงการคลอดครั้งแรก. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|