ชื่อเรื่อง | : | ผลของบัวบก (Centella asiatica) ต่อระบบภูมิคุ้มกันของกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei) |
นักวิจัย | : | วรรณา ศิริมานะพงษ์, 2520- |
คำค้น | : | ภูมิคุ้มกัน , บัวบก , กุ้งขาวแวนนาไม |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | จิรศักดิ์ ตั้งตรงไพโรจน์ , ชัยโย ชัยชาญทิพยุทธ , นนทวิทย์ อารีย์ชน , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9741766068 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2581 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารสกัดบัวบกอย่างหยาบต่อระบบภูมิคุ้มกันของกุ้งขาวแวนนาไมระยะโพสต์ลาวา 15 (PL15) และระยะตัวเต็มวัย น้ำหนัก 10-15 กรัม โดยให้กุ้งกินอาหารที่ผสมสารสกัดบัวบก (2.52 % w/w ของสาร Asiaticoside) ความเข้มข้น 0, 1, 5 และ10 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม แบ่งการทดลองออกเป็น 2 ส่วนด้วยกันคือ 1. การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดบัวบกอย่างหยาบด้านความคุ้มโรคต่อเชื้อ Vibrio vulnificus ในลูกกุ้งระยะ PL15 หลังจากให้กินอาหารผสมสารสกัดบัวบกอย่างหยาบเป็นระยะเวลา 15 และ 30 วัน พบว่าจำนวนกุ้งรอดชีวิตหลังจากจุ่มเชื้อ Vibrio vulnificus ความเข้มข้น 1.19x10[superscript 16] CFU/ml. (วันที่ 15) และ 5.4x10[superscript 21] CFU/ml. (วันที่ 30) เป็นระยะเวลา 3 นาที กุ้งที่ได้รับอาหารผสมสารสกัดบัวบกอย่างหยาบความเข้มข้น 5 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม มีอัตรารอดชีวิตของกุ้งสูงที่สุด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับอาหารผสมสารสกัดบัวบกอย่างหยาบความเข้มข้น 0, 1 และ 10 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม (P<0.05) 2. การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดบัวบกอย่างหยาบต่อระบบภูมิคุ้มกันของกุ้งขาวแวนนาไมระยะตัวเต็มวัย พบว่า ปริมาณเม็ดเลือดแดงรวมปริมาณเอ็นไซม์ ฟีนอลออกซิเดส ความสามารถในการกำจัดเชื้อแบคทีเรียของน้ำเลือด และความสามารถในการกำจัดเชื้อแบคทีเรียออกจากระบบไหลเวียนของกุ้งที่ได้รับสารสกัดบัวบกความเข้มข้นต่างๆ ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) จากการศึกษานี้ควรเลือกใช้สารสกัดบัวบกอย่างหยาบความเข้มข้น 5 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม ให้ลูกกุ้งกินเพื่อช่วยควบคุมการติดเชื้อ Vibrio vulnificus ในลูกกุ้งได้ ในขณะที่กุ้งตัวเต็มวัยไม่มีผลในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน |
บรรณานุกรม | : |
วรรณา ศิริมานะพงษ์, 2520- . (2547). ผลของบัวบก (Centella asiatica) ต่อระบบภูมิคุ้มกันของกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei).
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วรรณา ศิริมานะพงษ์, 2520- . 2547. "ผลของบัวบก (Centella asiatica) ต่อระบบภูมิคุ้มกันของกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei)".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วรรณา ศิริมานะพงษ์, 2520- . "ผลของบัวบก (Centella asiatica) ต่อระบบภูมิคุ้มกันของกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei)."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. วรรณา ศิริมานะพงษ์, 2520- . ผลของบัวบก (Centella asiatica) ต่อระบบภูมิคุ้มกันของกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|