ชื่อเรื่อง | : | ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ |
นักวิจัย | : | ลำยวน โชคชัยชำนาญกิจ, 2504- |
คำค้น | : | ไข้เลือดออก--การป้องกันและควบคุม |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ทัสสนี นุชประยูร , สมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9741766742 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2493 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยกำหนดอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกของประชาชนไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร ในปี พ.ศ. 2544-2546 อำเภอพระประแดงมีอัตราการป่วย 137.9, 138.2 และ 126.0 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนโดยใช้การสัมภาษณ์หัวหน้าหรือผู้แทน 967 ครัวเรือน และสำรวจความชุกของลูกน้ำยุงลายในครัวเรือนและสถานที่ไม่ใช่ครัวเรือน จำนวน 27 แห่ง ด้วยวิธี Multistage cluster sampling ระหว่างเดือน กันยายน ตุลาคม 2547 ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 15-44 ปี จบประถมศึกษา อาชีพรับจ้าง ได้รับข้อมูลข่าวสารไข้เลือดออกจากโทรทัศน์/วิทยุ มีบทบาทต่องานไข้เลือดออกในชุมชนเพียงร้อยละ 9.6 ในการสำรวจครัวเรือนพบว่าส่วนใหญ่เป็นบ้านเดี่ยว มีผู้อาศัยเฉลี่ย 4 คน 2 ใน 3 ของครัวเรือนไม่มีเศษวัสดุและไม่มี น้ำท่วมขังใต้ถุนบ้าน ในช่วง1ปีที่ผ่านมานับถึงวันสัมภาษณ์มีบุคคลในครัวเรือนป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก จำนวน 14 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 369.4 ต่อแสนประชากร ซึ่งสูงกว่าจากรายงานของระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของอำเภอฯ ในช่วงเวลาเดียวกันถึง 4 เท่า พบผู้ป่วยมีอายุ < 15 ปี ร้อยละ 50.0 ดัชนีชี้วัดลูกน้ำยุงลายครัวเรือน [ค่า Breteau Index (BI) และค่า House Index (HI) เฉลี่ย 164.7 และ 52.9 ตามลำดับ]สูงกว่าเกณฑ์กระทรวงสาธารณสุขกำหนดมาก ส่วนดัชนีชี้วัดลูกน้ำยุงลายสำหรับสถานที่ไม่ใช่ครัวเรือน [ค่า Container Index (CI) เฉลี่ย 18.0] สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานฯเช่นกัน ครัวเรือนที่มีภาชนะพบลูกน้ำมากที่สุดคือภาชนะที่ไม่ใช้เก็บกัก น้ำดื่มน้ำใช้ เช่น กระป๋อง วัสดุที่ไม่ใช้(ร้อยละ 52.4) วิธีการควบคุมและกำจัดลูกน้ำยุงลายในภาชนะน้ำดื่มน้ำใช้ที่ ครัวเรือนส่วนใหญ่ใช้มากที่สุดคือ การปิดฝาภาชนะตลอดเวลา(ร้อยละ 58.8) ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของประชาชนในครัวเรือนพบว่าส่วนใหญ่ อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 67.4,77.4 และ 68.7 ตามลำดับ และเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับทัศนคติของประชาชน ความรู้กับการปฏิบัติของประชาชน และทัศนคติกับการปฏิบัติของประชาชนพบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.01 การศึกษาครั้งนี้พบว่าโรคไข้เลือดออกยังมีการระบาดอยู่ ยังพบเศษวัสดุและน้ำท่วมขังให้ถุนครัวเรือนใช้วิธีการควบคุมและกำจัดลูกน้ำในภาชนะต่างๆของครัวเรือนไม่ครอบคลุม ยังพบมีลูกน้ำในภาชนะขังน้ำมาก และมีระบบการแจ้งป่วยต่ำกว่าที่เป็นจริง ดังนั้นควรให้ความรู้แก่ประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ ตามความเหมาะสมและสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดีซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกวิธี ควรจัดระบบเฝ้าระวังททางระบาดวิทยาของอำเภอและเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพ และจัดอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อกระตุ้นในประชาชนมีการตื่นตัว รูและปฏิบัติในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องและจริงจัง |
บรรณานุกรม | : |
ลำยวน โชคชัยชำนาญกิจ, 2504- . (2547). ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ลำยวน โชคชัยชำนาญกิจ, 2504- . 2547. "ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ลำยวน โชคชัยชำนาญกิจ, 2504- . "ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. ลำยวน โชคชัยชำนาญกิจ, 2504- . ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|