ชื่อเรื่อง | : | การขจัดสารเบต้าทูไมโครโกลบูลินโดยวิธีออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่นในคนไทยที่ป่วยด้วยภาวะไตวายเรื้อรัง ระยะสุดท้าย |
นักวิจัย | : | อัญชนะ พานิช, 2512- |
คำค้น | : | ไตวายเรื้อรัง , การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สมชาย เอี่ยมอ่อง , เกรียง ตั้งสง่า , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741742665 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2461 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 ในภาวะไตวายเรื้อรังจะมีของเสียโมเลกุลใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สารเบต้าทูไมโครโกลบูลินคั่งในร่างกายและเชื่อว่าอาจก่อในเกิดความเจ็บป่วยตามมา การขจัดสารเหล่านี้ออกจากร่างกายด้วยการวิธีการฟอกเลือกในปัจจุบัน (high-flux hemodialysis) มีประสิทธิภาพต่ำ วิธีการฟอกเลือดที่เรียกว่า ออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่น (On-line hemodiafiltration) สามารถขจัดสารที่มีขนาดใหญ่ได้ดีกว่า รวมถึงสารเบต้าทูไมโครโกลบูลิน ยังไม่มีการศึกษาถึงประสิทธิภาพของการฟอกเลือดวิธีนี้ในประเทศไทย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลไกการขจัดสารเบต้าทูไมโครโกลบูลินโดยวิธีออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่นและศึกษาขนาดของอัตราและวิธีการให้สารน้ำที่เหมาะสมในคนไทย ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย 10 ราย เป็นชาย 5 คน หญิง 5 คน (อายุเฉลี่ย 58+14 ปี) สาเหตุของไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายจากโรคเบาหวาน 2 คน ภาวะความดันโลหิตสูง 2 คน เอส แอล อี 1 คน ภาวะทางเดินปัสสาวะอุดตัน 1คน โรคถุงน้ำในไต 1 คน RPGN 1 คนและไม่ทราบสาเหตุ 2 คน ผลการศึกษาพบว่าการให้สารน้ำตำแหน่งหลังตัวกรองในอัตรา 125 มิลลิลิตรต่อนาที มีอัตราการขจัดของสารเบต้าทูไมโครโกลบูลิน 124+-13 มิลลิลิตรต่อนาที มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) เมื่อเทียบกับการให้สารน้ำในอัตรา 75 มิลลิลิตรต่อนาที ซึ่งมีอัตราการขจัด 102+-13 มิลลิลิตรต่อนาทีและมากกว่าการฟอกเลือดแบบประสิทธิภาพสูง (high-flux hemodialysis) ซึ่งมีอัตราการขจัด 45+-8 มิลลิลิตรต่อนาที (p<0.0001) และพบว่าการขจัดที่เกิดจากการดูดซับตัวกรองไม่แตกต่างกันระหว่างการให้สารน้ำทั้งสองวิธี (48+-22 และ 44+-16 มิลลิลิตรต่อนาทีในอัตรา 125 และ 75 มิลลิลิตรต่อนาทีตามลำดับ, p >0.05) กล่าวโดยสรุป การให้สารน้ำตำแหน่งหลังตัวกรองในอัตราประมาณ 125 มิลลิลิตรต่อนาทีมีความเหมาะสมสำหรับคนไทยที่ป่วยด้วยภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายและการขจัดของสารเบต้าทู ไมโครโกลบูลินเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนกับขนาดของสารน้ำที่เพิ่มขึ้น |
บรรณานุกรม | : |
อัญชนะ พานิช, 2512- . (2546). การขจัดสารเบต้าทูไมโครโกลบูลินโดยวิธีออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่นในคนไทยที่ป่วยด้วยภาวะไตวายเรื้อรัง ระยะสุดท้าย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อัญชนะ พานิช, 2512- . 2546. "การขจัดสารเบต้าทูไมโครโกลบูลินโดยวิธีออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่นในคนไทยที่ป่วยด้วยภาวะไตวายเรื้อรัง ระยะสุดท้าย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อัญชนะ พานิช, 2512- . "การขจัดสารเบต้าทูไมโครโกลบูลินโดยวิธีออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่นในคนไทยที่ป่วยด้วยภาวะไตวายเรื้อรัง ระยะสุดท้าย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. อัญชนะ พานิช, 2512- . การขจัดสารเบต้าทูไมโครโกลบูลินโดยวิธีออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่นในคนไทยที่ป่วยด้วยภาวะไตวายเรื้อรัง ระยะสุดท้าย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|