ชื่อเรื่อง | : | การตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (แบบก่อนสัมผัสโรค) ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 |
นักวิจัย | : | วราภรณ์ พลเมือง, 2515- |
คำค้น | : | วัคซีน , เบาหวาน -- ผู้ป่วย , การตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | วราภรณ์ วงศ์ถาวราวัฒน์ , ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741730993 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2442 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 ความสำคัญและที่มา : ผู้ป่วยเบาหวานบางรายมีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันได้แก่ ความผิดปกติของลิมโฟซัยท์ชนิดทีเซลล์ และความสามารถในการจับกินของแมคโครฟาจ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระดับภูมิคุ้มกันที่จะเกิดขึ้นภายหลังได้รับการฉีดวัคซีน แต่ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนในผู้ป่วยเบาหวานนั้นมีน้อย และยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนเนื่องจากการศึกษาส่วนใหญ่นั้น ศึกษาจากวัคซีนชนิดที่มนุษย์มีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นตามธรรมชาติได้ เช่น วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่และวัคซีนป้องกันการติดเชื้อนิวโมคอคคอล ส่วนโรคพิษสุนัขบ้าแม้เป็นโรคที่มีอันตรายถึงกับชีวิตแต่ก็สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนซึ่งมีประสิทธิภาพสูง การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้านั้นมีจำนวนมากถึง 240,000 รายต่อปี จึงควรมีการศึกษาถึงประสิทธิภาพของวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสัดส่วนของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีระดับภูมิคุ้มกันถึงระดับป้องกันโรคภายหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบบก่อนสัมผัสโรค รูปแบบการวิจัย : การศึกษาเชิงพรรณนา ระเบียบวิธีวิจัย : ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์จำนวน 33 คน ทุกคนจะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบบก่อนสัมผัสโรค โดยวิธีฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ในวันที่ 0,7 และ 28 ตามลำดับ โดยจะมีการวัดระดับภูมิคุ้มกันในวันก่อนที่จะฉีดวัคซีนและวันที่ 42 หลังจากฉีดวัคซีนเข็มแรก ผลการวิจัย : ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ทุกคนมีระดับภูมิคุ้มกันถึงระดับที่สามารถป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้ (ระดับภูมิคุ้มกัน > 0.5 ยูนิตต่อมิลลิลิตร) และระดับค่าเฉลี่ยของระดับภูมิคุ้มกันคือ 20.82 ยูนิตต่อมิลลิลิตร โดยมีค่าอยู่ในช่วง 2.04 ถึง 92.54 ยูนิตต่อมิลลิลิตร ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาการเป็นเบาหวาน,ระดับการควบคุมน้ำตาลหรือผลแทรกซ้อนของเบาหวานกับการเกิดภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อวัคซีนและไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรงจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในผู้ป่วยเบาหวานที่มาศึกษาครั้งนี้เลย สรุป : ผู้ป่วยเบาหวานมีภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อโรคพิษสุนัขบ้าได้ดี ณ 42 วัน ภายหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบบก่อนสัมผัสโรค |
บรรณานุกรม | : |
วราภรณ์ พลเมือง, 2515- . (2545). การตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (แบบก่อนสัมผัสโรค) ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วราภรณ์ พลเมือง, 2515- . 2545. "การตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (แบบก่อนสัมผัสโรค) ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วราภรณ์ พลเมือง, 2515- . "การตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (แบบก่อนสัมผัสโรค) ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. วราภรณ์ พลเมือง, 2515- . การตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (แบบก่อนสัมผัสโรค) ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|