ชื่อเรื่อง | : | ภาวะออกซิเดชั่นจากการให้เหล็กทางเส้นเลือดแบบเร็วและแบบช้าในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ทำการฟอกเลือด |
นักวิจัย | : | ขจร ตีรณธนากุล |
คำค้น | : | ไตวายเรื้อรัง , ออกซิเดชัน |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สมชาย เอี่ยมอ่อง , ปิยะรัตน์ โตสุโขวงศ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741731434 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2431 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 วัตถุประสงค์ ศึกษาผลการให้ IV iron ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ในแง่ทำให้เกิด oxidative stress ว่าวิธีการในการให้ IV iron ที่มีคำแนะนำการให้ระหว่างแบบเร็ว และแบบช้า วิธีใดจะทำให้เกิด oxidative stress น้อยที่สุด วิธีดำเนินการ เป็นการศึกษาแบบ Prospective Cross-over Clinical Trial ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ทำการฟอกเลือดและจำเป็นต้องให้เหล็กทางเส้นเลือดทุก 2 สัปดาห์ จำนวน 19 ราย แต่ละรายจะทำการศึกษาช่วงที่ผู้ป่วยฟอกเลือด 3 ครั้ง เป็นช่วงที่ให้เหล็ก2ครั้ง ด้วยวิธีที่ต่างกัน และอีกครั้งฟอกเลือดโดยไม่ให้เหล็ก แต่ละครั้งเก็บข้อมูล ภาวะเหล็กในร่างกาย (serum iron, UIBC, TIBC, ferritin) ตัวแทนภาวะออกซิเดชั่น (plasma และ Rbc MDA) และตัวแทนภาวะต้านออกซิเดชั่น (Total antioxidant) เป็นระยะ เพื่อมาเปรียบเทียบกันโดยใช้พื้นที่ใต้กราฟ ผลการศึกษา การให้เหล็กด้วยวิธีฉีดใน5นาที และหยดใน1ชั่วโมง เกิดภาวะเหล็กเกินความสามารถของ transferin ที่จะจับ 11/19 และ 10/19 รายตามลำดับ ภาวะออกซิดั่นที่ดูจากพื้นที่ใต้กราฟของ plasma MDA (mM.min) และ Rbc MDA (nM.min/gHb) พบว่ากลุ่มที่ได้ IV iron 5 นาที เท่ากับ 726.2 +- 258.6, 8377.9 +- 11600.6 กลุ่มที่ได้ IV iron 60 นาที เท่ากับ 803.2 +- 174.3, 9305.0 +- 11839.9 ไม่แตกต่างกันในทางสถิติ (p=0.27 และ 0.24) ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้ให้เหล็กเท่ากับ 687.7 +- 176.0, 10135.0 +- 17362.7 ส่วน total antioxidant capacity มีค่าลดลงระหว่างการฟอกเลือดทั้งและไม่แตกต่างกันระหว่างการให้เหล็กสองวิธี การเกิดอาการแสดงไม่พึงประสงค์ระหว่างการให้เหล็กไม่แตกต่างกันในสองวิธี สรุป การให้เหล็กทั้ง 2 วิธี ไม่ได้ก่อให้เกิดผลข้างเคียงในแง่อาการทางคลินิก และการเปลี่ยนแปลงของภาวะออกซิเดชั่นที่แตกต่างไปจากการไม่ให้ในประชากรกลุ่มที่ศึกษา ดังนั้นเป็นการยืนยันถึงความปลอดภัยในการให้เหล็กในผู้ป่วย และการให้แบบเร็ว 5 นาที ไม่ก่อให้เกิดผลเสียเมื่อเทียบกับการให้ช้าใน 1ชั่วโมง ในขณะที่มีความสะดวก ประหยัด และลดการสูญเสียยาจากการฟอกเลือดได้ |
บรรณานุกรม | : |
ขจร ตีรณธนากุล . (2545). ภาวะออกซิเดชั่นจากการให้เหล็กทางเส้นเลือดแบบเร็วและแบบช้าในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ทำการฟอกเลือด.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ขจร ตีรณธนากุล . 2545. "ภาวะออกซิเดชั่นจากการให้เหล็กทางเส้นเลือดแบบเร็วและแบบช้าในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ทำการฟอกเลือด".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ขจร ตีรณธนากุล . "ภาวะออกซิเดชั่นจากการให้เหล็กทางเส้นเลือดแบบเร็วและแบบช้าในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ทำการฟอกเลือด."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. ขจร ตีรณธนากุล . ภาวะออกซิเดชั่นจากการให้เหล็กทางเส้นเลือดแบบเร็วและแบบช้าในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ทำการฟอกเลือด. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|