ชื่อเรื่อง | : | ความชุกและปัจจัยของภาวะซึมเศร้าในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตจังหวัดเพชรบุรี |
นักวิจัย | : | ศิริอร ฤทธิ์ไตรรัตน์, 2504- |
คำค้น | : | ความซึมเศร้า , ความซึมเศร้าในวัยรุ่น |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | พรชัย สิทธิศรัณย์กุล , วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2544 |
อ้างอิง | : | 9741700199 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2422 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ.จุดเวลาใดเวลาหนึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตจังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 1, 369 คน เป็นชาย 683 คน หญิง 686 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามปัญหาสุขภาพแบบตอบด้วยตนเอง แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลด้านจิตสังคม โดยเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2545 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้การทดสอบไคว์สแควร์ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ความชุกของภาวะซึมเศร้าในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตจังหวัดเพชรบุรี เท่ากับร้อยละ 14.4 โดยพบความชุกในโรงเรียน ก. ข. และ ค. เท่ากับร้อยละ 15.7, 14.8 และ 11.9 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ 1) บุคคลที่นักเรียนอาศัยอยู่ด้วย โดยนักเรียนที่อาศัยกับบิดามารดา และมีญาติอาศัยอยู่ด้วย มีภาวะซึมเศร้าสูงที่สุด นักเรียนที่อาศัยเฉพาะกับบิดามารดา มีภาวะซึมเศร้าต่ำที่สุด 2) การมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนเพียงพอหรือไม่ นักเรียนที่มีค่าใช้จ่ายต่อเดือนไม่เพียงพอ มีภาวะซึมเศร้ามากกว่ากลุ่มที่ได้รับค่าใช้จ่ายเพียงพอ 3) สัมพันธภาพระหว่างสมาชิกในครอบครัว นักเรียนที่มีสัมพันธภาพระหว่างสมาชิกในครอบครัวแบบต่างคนต่างอยู่ มีภาวะซึมเศร้าสูงที่สุด 4) ลักษณะการเลี้ยงดู นักเรียนที่ถูกเลี้ยงดูแบบควบคุมอย่างเข้มงวด หรือปล่อยปละล ะเลย มีภาวะซึมเศร้าสูง 5) ความรู้สึกสูญเสียครั้งสำคัญในชีวิต นักเรียนที่เคยมีความสูญเสียครั้งสำคัญในชีวิต มีภาวะซึมเศร้ามากกว่านักเรียนที่ไม่เคยมีความสูญเสีย การศึกษาวิจัยต่อไป ว่าปัจจัยใดบ้างที่ทำให้โรงเรียนทั้ง 3 โรงเรียน มีอัตราความชุกของภาวะ ซึมเศร้าในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแตกต่างกัน อาจช่วยให้เข้าใจธรรมชาติ ปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้าของนักเรียนได้ และสามารถนำไปเป็นข้อมูลในการส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตได้ต่อไป โดยการเพิ่มปัจจัยป้องกัน การลดปัจจัยเสี่ยง และการจัดระบบรองรับและดำเนินการ ให้ความช่วยเหลือนักเรียนที่มีภาวะซึมเศร้าในระยะเริ่มต้นก่อนที่จะพัฒนาไปสู่ภาวะซึมเศร้าในระดับรุนแรง |
บรรณานุกรม | : |
ศิริอร ฤทธิ์ไตรรัตน์, 2504- . (2544). ความชุกและปัจจัยของภาวะซึมเศร้าในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตจังหวัดเพชรบุรี.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศิริอร ฤทธิ์ไตรรัตน์, 2504- . 2544. "ความชุกและปัจจัยของภาวะซึมเศร้าในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตจังหวัดเพชรบุรี".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศิริอร ฤทธิ์ไตรรัตน์, 2504- . "ความชุกและปัจจัยของภาวะซึมเศร้าในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตจังหวัดเพชรบุรี."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544. Print. ศิริอร ฤทธิ์ไตรรัตน์, 2504- . ความชุกและปัจจัยของภาวะซึมเศร้าในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตจังหวัดเพชรบุรี. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.
|