ชื่อเรื่อง | : | ความเป็นไปได้ในการพัฒนาศูนย์กลางและโครงข่ายการส่งออกดอกกล้วยไม้สด ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง |
นักวิจัย | : | เจษฎาพร บุราคม |
คำค้น | : | การศึกษาความเป็นไปได้ , กล้วยไม้ , การใช้ที่ดิน , สินค้าเกษตร , การวิเคราะห์ที่ตั้ง (สถาปัตยกรรม) |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ดารณี ถวิลพิพัฒน์กุล , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9741765967 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2370 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อกำหนดที่ตั้งศูนย์กลางและโครงข่ายเพื่อส่งออกดอกกล้วยไม้สดในกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ นครปฐม สมุทรสาคร และนนทบุรี ซึ่งประกอบไปด้วย 10 เขตในกรุงเทพมหานครและ 15 อำเภอใน 3 จังหวัด โดยการศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญของสินค้าเกษตรที่ส่งออกที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาการเกษตร ลักษณะของสินค้าเกษตร ทฤษฎีการเลือกที่ตั้ง แนวคิดเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อนำมากำหนดปัจจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์หาที่ตั้งศูนย์กลางและโครงข่ายเพื่อการส่งออกที่เหมาะสมทั้งหมด 6 ปัจจัย ได้แก้ ปัจจัยด้านการเป็นแหล่งผลิตกล้วยไม้ ปัจจัยด้านมีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการคมนาคม ปัจจัยด้านการมีอยู่ของสาธารณูปโภค ปัจจัยด้านการมีอยู่ของการสื่อสาร ปัจจัยด้านการมีอยู่ของสถาบันการเงินการธนาคาร ปัจจัยด้านข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน หลังจากการเก็บข้อมูลปฐมภูมิเกี่ยวกับการให้ความสำคัญปัจจัยต่างๆจากกลุ่มเป้าหมายโดยใช้แบบสอบถาม 3 กลุ่ม ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไม้ส่งออก ผู้ส่งออกดอกกล้วยไม้ นักวิชาการและเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ทำการวิเคราะห์เพื่อกำหนดที่ตั้งศูนย์กลางและโครงข่ายเพื่อการส่งออกโดยใช้วิธีการคือ 1). การจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยทั้ง 6 ด้วยวิธี Average percentage weighting 2). การคำนวณค่ามาตรฐาน (Standard score) เพื่อปรับฐานข้อมูล แบ่งกลุ่มเขต/อำเภอออกเป็นกลุ่มด้วยการทำแผนภูมิฮีสโตแกรม และวิเคราะห์ความพร้อมของปัจจัย 3). กำหนดที่ตั้งศูนย์กลางและโครงข่ายเพื่อการส่งออกจากค่ามาตรฐานประกอบการใช้หลักเกณฑ์สำหรับศูนย์กลางและโครงข่ายแต่ละประเภทมาพิจารณาร่วมด้วย ผลการวิจัยสรุปว่า บริเวณที่มีความเป็นไปได้ในการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการส่งออกดอกกล้วยไม้สดที่ให้บริการแบบครบวงจร (One stop service) มี 1 ศูนย์คือที่อำเภอสานพราน จังหวัดนครปฐม เนื่องจากเป็นพื้นที่มีศักยภาพสูง มีความพร้อมของปัจจัย 5 ปัจจัย เป็นแหล่งผลิตกล้วยไม้ที่สำคัญ มีรัศมีการให้บริการ 40 กิโลเมตร ส่วนโครงข่ายการส่งออกดอกกล้วยไม้สดมี 2 พื้นที่ คือที่อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี และอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ซึ่งพื้นที่มีศักยภาพปานกลาง มีความพร้อมของปัจจัย 5 และ 4 ปัจจัยตามลำดับ มีรัศมีการให้บริการ 20 กิโลเมตร และเป็นแปล่งผลิตกล้วยไม้ส่งออกที่สำคัญเช่นกัน |
บรรณานุกรม | : |
เจษฎาพร บุราคม . (2547). ความเป็นไปได้ในการพัฒนาศูนย์กลางและโครงข่ายการส่งออกดอกกล้วยไม้สด ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เจษฎาพร บุราคม . 2547. "ความเป็นไปได้ในการพัฒนาศูนย์กลางและโครงข่ายการส่งออกดอกกล้วยไม้สด ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เจษฎาพร บุราคม . "ความเป็นไปได้ในการพัฒนาศูนย์กลางและโครงข่ายการส่งออกดอกกล้วยไม้สด ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. เจษฎาพร บุราคม . ความเป็นไปได้ในการพัฒนาศูนย์กลางและโครงข่ายการส่งออกดอกกล้วยไม้สด ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|