ชื่อเรื่อง | : | แนวทางการออกแบบปรับปรุงบ้านเอื้ออาทร เพื่อสภาวะน่าสบายและการใช้พลังงานอย่ามีประสิทธิภาพ |
นักวิจัย | : | อธิคม วิมลวัตรเวที, 2522- |
คำค้น | : | โครงการบ้านเอื้ออาทร , การอนุรักษ์พลังงาน , สถาปัตยกรรมกับการอนุรักษ์พลังงาน , การออกแบบสถาปัตยกรรม , อาคาร--การใช้พลังงาน |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ธนิต จินดาวณิค , อรรจน์ เศรษฐบุตร , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9741765118 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2349 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 แสวงหากลยุทธ์และเสนอแนะแนวทางการออกแบบปรับปรุงอาคารที่พักอาศัย ของผู้มีรายได้ต่ำให้เกิดประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และสร้างสภาวะน่าสบายซึ่งมีความเหมาะสมในเชิงเทคนิคและเศรษฐศาสตร์ โดยใช้อาคารพักอาศัยเดี่ยวสองชั้น ในโครงการบ้านเอื้ออาทรเป็นอาคารกรณีศึกษา การศึกษาวิจัยประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ส่วนแรกเป็นการสำรวจ ประเมินและวิเคราะห์ระดับสภาวะแวดล้อมด้านอุณหภูมิ และการใช้พลังงานในอาคาร โดยจำลองสภาพอาคารด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ DOE 2.1 E ซึ่งใช้เป็นตัวแทนอาคารกรณีศึกษาในการประเมินและประสิทธิภาพอาคาร การศึกษาในส่วนหลังเป็นการพิจารณา แนวทางการปรับปรุงองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม และเสนอแนวทางการปรับปรุงที่เหมาะสมกับอาคารกรณีศึกษา ผลการวิจัยพบว่า ความร้อนที่เกิดขึ้นภายในอาคาร มาจากองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ที่ไม่มีคุณสมบัติและประสิทธิภาพเพียงพอที่จะต้านทานความร้อนจากภายนอกได้ ทำให้ค่าการถ่ายเทความร้อนรวมผ่านกรอบอาคารเกิดขึ้นสูง ซึ่งองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่พบสภาพปัญหา และควรนำมาพิจารณาปรับปรุงได้แก่ ผนังทึบและช่องเปิดหน้าต่าง จากสภาพปัญหาดังกล่าวนั้น ส่งผลให้อุณหภูมิภายในบางช่วงเวลาอยู่สูงกว่าระดับสภาวะน่าสบาย โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน ซึ่งมีอัตราส่วนจำนวนชั่วโมงที่เข้าสู่สภาวะน่าสบาย 66.69% ของชั่วโมงที่ใช้สอยพื้นที่ในช่วงกลางวัน และ 86.50% ของชั่วโมงที่ใช้สอยพื้นที่ในช่วงกลางคืน จากการศึกษา สามารถสรุปเป็นแนวทางการปรับปรุงอาคาร เพื่อสภาวะน่าสบายและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถเพิ่มอัตราส่วนจำนวนชั่วโมงที่เข้าสู่สภาวะน่าสบายได้ถึง 69.29% ของชั่วโมงที่ใช้สอยพื้นที่ในช่วงกลางวัน และ 93.97% ของชั่วโมงที่ใช้สอยพื้นที่ในช่วงกลางคืน โดยมีอัตราค่าก่อสร้างอาคารเพิ่มขึ้นจากเดิม 7.4% และได้ขยายผลการศึกษา โดยการนำแนวทางปรับปรุงอาคารกรณีศึกษามาใช้ร่วมกับ การระบายอากาศเฉพาะช่วงกลางคืน (night ventilation) ซึ่งทำให้มีอัตราส่วนชั่วโมงที่เข้าสู่สภาวะน่าสบายเพิ่มขึ้นเป็น 79.54% ของชั่วโมงที่ใช้สอยพื้นที่ในช่วงกลางวัน และ 94.65% ของชั่วโมงที่ใช้สอยพื้นที่ในช่วงกลางคืน |
บรรณานุกรม | : |
อธิคม วิมลวัตรเวที, 2522- . (2547). แนวทางการออกแบบปรับปรุงบ้านเอื้ออาทร เพื่อสภาวะน่าสบายและการใช้พลังงานอย่ามีประสิทธิภาพ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อธิคม วิมลวัตรเวที, 2522- . 2547. "แนวทางการออกแบบปรับปรุงบ้านเอื้ออาทร เพื่อสภาวะน่าสบายและการใช้พลังงานอย่ามีประสิทธิภาพ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อธิคม วิมลวัตรเวที, 2522- . "แนวทางการออกแบบปรับปรุงบ้านเอื้ออาทร เพื่อสภาวะน่าสบายและการใช้พลังงานอย่ามีประสิทธิภาพ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. อธิคม วิมลวัตรเวที, 2522- . แนวทางการออกแบบปรับปรุงบ้านเอื้ออาทร เพื่อสภาวะน่าสบายและการใช้พลังงานอย่ามีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|