ชื่อเรื่อง | : | แนวทางการพัฒนาพื้นที่ใต้ทางด่วนในเขตกรุงเทพมหานคร |
นักวิจัย | : | ปาจรีย์ ประเสริฐ, 2522- |
คำค้น | : | การทางพิเศษแห่งประเทศไทย , ที่ว่าง (สถาปัตยกรรม) , พื้นที่สาธารณะ , ทางด่วน--ไทย--กรุงเทพฯ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ขวัญสรวง อติโพธิ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741754051 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2333 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 ในปัจจุบันการใช้ประโยชน์พื้นที่กรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งปลูกสร้างเพื่อการอยู่อาศัย พาณิชยกรรมและระบบคมนาคมขนส่ง ในขณะที่พื้นที่สีเขียวและพื้นที่ว่างต่างๆ กำลังลดน้อยลงเรื่อยๆ ประกอบกับการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประชากรและการเติบโตของกรุงเทพมหานคร นำไปสู่ปัญหาการจราจรติดขัด ทางด่วนจึงเป็นทางเลือกเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรที่เกิดขึ้น และรองรับปริมาณการจราจรในอนาคต ในขณะที่การพัฒนาได้อำนวยประโยชน์ให้กับคนเดินทางบนถนน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ การเวนคืนที่ดิน และพื้นที่ว่างใต้ทางด่วนตามโครงข่ายที่พาดผ่านเข้าไปในพื้นที่เมืองต่างๆ บางแห่งถูกจับจองและเข้ามายึดใช้เพื่อประกอบกิจกรรมต่างๆ ทั้งที่ได้รับอนุญาตและไม้ได้รับอนุญาต การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและประเมินสภาพการใช้ประโยชน์ต่างๆ ของพื้นที่ใต้ทางด่วนในปัจจุบัน ประกอบกับศึกษาศักยภาพและข้อจำกัดของการพัฒนาพื้นที่ใต้ทางด่วน ที่มีความสัมพันธ์กับพื้นที่เมืองประเภทต่างๆ ที่ทางด่วนผ่าน เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาที่น่าจะเป็นไปได้ ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ใต้ทางด่วนแบ่งได้เป็น 6 ประเภท ได้แก่ แยกต่างระดับ ถนนขนาบทางด่วน ทางด่วนคร่อมถนน ทางด่วนระดับดิน ทางด่วนคร่อมแม่น้ำ คลองหรือบึง และจุดขึ้น-ลงทางด่วน โดยรูปแบบพื้นที่ใต้ทางด่วนเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์ ซึ่งแบ่งได้เป็น 8 ประเภท ได้แก่ ตลาด/แผงลอย สนามกีฬา/สนามเด็กเล่น สวนหย่อม/สวนสาธารณะ ที่จอดรถ ถนน/ซอย พื้นที่ให้เช่า ทางเดินเท้า/ทางรถจักรยาน และ พื้นที่ที่ถูกละเลย ซึ่งการพัฒนาพื้นที่ใต้ทางด่วน ต้องคำนึงถึงสภาพที่ตั้งที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยรอบ มีการเข้าถึงที่ดีและมีขนาดที่พอเหมาะกับกิจกรรม อีกทั้งร่มเงาก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการใช้ประโยชน์ในตอนกลางวัน นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับความผูกพันและความรู้สึกเป็นเจ้าของต่อพื้นที่ของคนในชุมชน ซึ่งจะส่งผลทำให้การพัฒนามีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีการใช้และได้รับการดูแลอย่างสม่ำเสมอ แนวทางการพัฒนาพื้นที่ใต้ทางด่วน จะช่วยลดปัญหาอันเกิดจากการยึดครองใช้พื้นที่ว่างของเมือง อย่างไม่เหมาะสมให้น้อยลง เป็นการนำเสนอพื้นที่ว่างรูปแบบใหม่ๆ ให้กับชีวิตคนเมือง และสร้างบรรยากาศของเมืองให้มีความสวยงาม |
บรรณานุกรม | : |
ปาจรีย์ ประเสริฐ, 2522- . (2546). แนวทางการพัฒนาพื้นที่ใต้ทางด่วนในเขตกรุงเทพมหานคร.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปาจรีย์ ประเสริฐ, 2522- . 2546. "แนวทางการพัฒนาพื้นที่ใต้ทางด่วนในเขตกรุงเทพมหานคร".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปาจรีย์ ประเสริฐ, 2522- . "แนวทางการพัฒนาพื้นที่ใต้ทางด่วนในเขตกรุงเทพมหานคร."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. ปาจรีย์ ประเสริฐ, 2522- . แนวทางการพัฒนาพื้นที่ใต้ทางด่วนในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|