ชื่อเรื่อง | : | แนวทางการสร้างแบบประเมินอาคารปรับอากาศ เพื่อประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานในภูมิอากาศเขตร้อนชื้น |
นักวิจัย | : | กัมปนาท กระภูชัย, 2521- |
คำค้น | : | การออกแบบสถาปัตยกรรม , สถาปัตยกรรมกับการอนุรักษ์พลังงาน , การปรับอากาศ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อรรจน์ เศรษฐบุตร , สุนทร บุญญาธิการ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741753047 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2319 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลัก คือ พัฒนาแบบประเมินอาคารพักอาศัยปรับอากาศที่ได้จากการวิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปรต่างๆ ต่อภาระการทำความเย็น เพื่อบ่งชี้ถึงศักยภาพด้านการประหยัดพลังงานของอาคารพักอาศัยปรับอากาศ โดยทำการศึกษาเฉพาะบ้านพักอาศัยที่มีพื้นที่ใช้สอยปรับอากาศ ไม่เกิน 400 ตารางเมตร ในเขตกรุงเทพมหานคร ขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วย 1. ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้านการออกแบบอาคารประหยัดพลังงานในประเทศไทย 2. ศึกษาและรวบรวมรูปแบบอาคารเพื่อนำมาแบ่งกลุ่มตามพื้นที่การใช้สอยปรับอากาศและคำนวณเปรียบเทียบค่าภาระการทำความเย็นในแต่ละตัวแปร 3. วิเคราะห์สัดส่วนของแต่ละตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อภาระการทำความเย็นต่อพื้นที่การใช้งาน ซึ่งนำไปสู่การสร้างแบบประเมินการประหยัดพลังงานที่มีระดับศักยภาพ 5 ระดับ ระดับละ 20 คะแนน โดยมีคะแนนรวมทั้งหมด 100 คะแนน อาคารปรับอากาศที่มีศักยภาพด้านการประหยัดพลังงานดีที่สุดจะอยู่ในระดับ 5 ซึ่งมีคะแนนอยู่ระหว่าง 80.5-100 คะแนน ผลจากการศึกษาพบว่า องค์ประกอบของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อภาระการทำความเย็นของอาคารปรับอากาศ คือ 1. ตัวแปรที่เกิดจากอิทธิพลภายนอกอาคาร ประกอบด้วย ตัวแปรด้านสภาพแวดล้อม การออกแบบรูปทรงอาคาร หลังคาอาคาร การรั่วซึมของอากาศ ส่วนผนังอาคาร การสะสมความร้อนและความชื้นของวัสดุก่อสร้าง และพื้น ตามลำดับ 2. ตัวแปรที่เกิดจากอิทธิพลภายในอาคาร ประกอบด้วย ตัวแปรด้านพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้า การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า หลอดไฟให้แสงสว่าง และภาระที่เกิดจากผู้ใช้งาน 3. ตัวแปรด้านประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศ การวิจัยนี้ได้ทดสอบแบบประเมินโดยเลือกบ้านพักอาศัยปรับอากาศ 3 แบบ คือ บ้านเดี่ยวพักอาศัยทั่วไปเรือนไทยประยุกต์ และบ้านชีวาทิตย์ พบว่า เรือนไทยประยุกต์มีศักยภาพระดับ 2 จัดเป็นระดับต่ำ บ้านเดี่ยวพักอาศัยทั่วไปมีศักยภาพระดับ 3 จัดเป็นระดับกลาง และบ้านชีวาทิตย์มีศักยภาพระดับ 5 จัดเป็นระดับสูงที่สุด แบบประเมินที่สร้างขึ้นนี้สามารถบ่งชี้ถึงศักยภาพรวมของอาคารปรับอากาศได้ และมีความเหมาะสมสำหรับการประเมินบ้านพักอาศัยปรับอากาศที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล |
บรรณานุกรม | : |
กัมปนาท กระภูชัย, 2521- . (2546). แนวทางการสร้างแบบประเมินอาคารปรับอากาศ เพื่อประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานในภูมิอากาศเขตร้อนชื้น.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กัมปนาท กระภูชัย, 2521- . 2546. "แนวทางการสร้างแบบประเมินอาคารปรับอากาศ เพื่อประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานในภูมิอากาศเขตร้อนชื้น".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กัมปนาท กระภูชัย, 2521- . "แนวทางการสร้างแบบประเมินอาคารปรับอากาศ เพื่อประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานในภูมิอากาศเขตร้อนชื้น."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. กัมปนาท กระภูชัย, 2521- . แนวทางการสร้างแบบประเมินอาคารปรับอากาศ เพื่อประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานในภูมิอากาศเขตร้อนชื้น. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|