ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาผิวซีเล็กตีฟเพื่อใช้กับแผงรับแสงอาทิตย์ |
นักวิจัย | : | มานิจ ทองประะเสริฐ , สมศรี จงรุ่งเรือง , วิทยา ยงเจริญ |
คำค้น | : | พลังงานแสงอาทิตย์ , แผงรับแสงอาทิตย์ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล |
ปีพิมพ์ | : | 2526 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2316 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | ประสิทธิภาพเชิงความร้อนของแผงรับแสงอาทิตย์แบบแผ่นจะเพิ่มขึ้น ถ้านำแผ่นดูดแสงอาทิตย์ ชนิดที่มีผิวเป็นซีเล็กตีฟมาใช้แทนแผ่นดูดแสงอาทิตย์ชนิดผิวสีดำที่นิยมใช้กันอยู่ เพราะผิวซี เล็กตีฟให้ค่าการดูดแสงอาทิตย์สูงและให้ค่าการส่งออกรังสีความร้อนต่ำ ผิวซีเล็กตีฟที่นำมา ศึกษามีสามชนิดคือ คอปเปอร์ออกไซด์ นิเกิลดำและแบล็คโครม วัสดุที่ใช้ทำพื้นคือทองแดง เหล็กและอลูมินัม คอปเปอร์ออกไซด์บนชิ้นงานทองแดง เท่านั้นที่ใช้ความคงทนต่อการใช้งาน ส่วนนิเกิลดำและแบล็คโครมอาจนำไปใช้ได้ดีทั้งที่ชิ้นงานที่เป็นเหล็กและอลูมินัม การควบคุม คุณภาพของผิวซีเล็กตีฟซึ่งได้แก่ค่าการดูดแสงอาทิตย์และค่าการส่งออกรังสีความร้อน ทำได้ โดยศึกษาตัวแปรคือความเข้มของกระแสไฟฟ้าที่ใช้และระยะเวลาที่ใช้ชุบชิ้นงานในสารละลาย การศึกษาหาค่าตัวแปรดังกล่างที่เหมาะสมทำได้โดยการทดลองใช้ค่าตัวแปรหลายค่าสำหรับชิ้น งานและผิวซีเล็กตีฟชนิดเดียวกัน แล้วเปรียบเทียบคุณสมบัติของผิวซีเล็กตีฟทีได้ วิธีการวัดค่า การดูดแสงอาทิตย์ แอลฟา และค่าการส่งออกรังสีความร้อน แอลฟา ทำได้โดยใช้เครื่องมือซึ่ง ออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อใช้เฉพาะงานวิจัยนี้ ค่าการดูดแสงอาทิตย์ของผิววัดได้โดยติดตั้งชิ้น งานในภาชนะปิด ซึ่งมีด้านบนโปร่งใสและภายในเป็นสูญญากาศแล้ววัดอัตราส่วนของพลังงาน ความร้อนซึ่งดูดไว้โดยชิ้นงานต่อพลังงานแสงอาทิตย์ที่ตกบนชิ้นงาน ค่าการส่งออกรังสีความร้อน ของผิววัดได้จากอัตราส่วนของพลังงานซึ่งส่งออกจากชิ้นงานต่อพลังงานซึ่งชิ้นงานได้รับเมื่อชิ้น งานติดตั้งในภาชนะปิดและภายในเป็นสูญญากศ จากผลการทดลอง ค่าตัวแปรที่เหมาะสมของ ขบวนการทำผิวซีเล็กตีฟ: ค่าการดูดแสงอาทิตย์ แอลฟา และค่าการส่งออกรังสีความร้อน แอลฟา ของผิวซีเล็กตีฟที่ศึกษามีดังนี้ สำหรับคอปเปอร์ออกไซด์บนชิ้นงานทองแดง แอลฟา = 0.936 และอิปซีลอย = 0.052 สำหรับนิเกิลดำบนชิ้นงานเหล็กหรืออลูมินัม อแลฟา = 0.942 และ อิปซี ลอน = 0.185 และสำหรับแบล๋คโครมบนชิ้นงานเหล็กหรืออลูมินัม แอลฟา = 0.942 และ อิปซี ลอน = 0.112 เนื่องจากต้นแบบของแผงรับแสงอาทิตย์ชนิดที่แผ่นดูดแสงอาทิภตย์เป็นซีเล็กตี ฟมีราคาค่าสร้างสูงมากจึงไม่ได้สร้างขึ้น ประสิทธิภาพเชิงความร้อนของแผงรับแสงอาทิตย์ดัง กล่าวจึงไม่ได้วัดค่าโดยตรงแต่ใช้การสร้างแผงรับแสงอาทิตย์ชนิดแผ่นดูดแสงอาทิตย์เป็นสีดำ ขึ้นแทนแล้วติดตั้งทดสอบหาค่าประสิทธิภาพเชิงความร้อนแล้วใช้วิธีเปลี่ยนค่าตัวแปร ประสิทธิภาพเชิงความร้อนของแผงรับแสงอาทิตย์ซึ่งมีแผ่นดูดมีผิวเป้นซีเล็กตีฟจะคำนวณได้ จากผลการทดลองและการคำนวณได้ค่าความลาดชันของเส้นประสิทธิภาพเชิงความร้อนของ แผงรับแสงอาทิตย์ที่มีผิวของแผ่นดูดแสงอาทิตย์เป็นสีดำและซีเล็กตีฟเท่ากับ -7.11 และ -4.89 ตามลำดับและมีค่าจุดตัดบนแกนประสิทธิภาพเชิงความร้อนเท่ากับ 0.74 และ 0.76 ตามลำดับ |
บรรณานุกรม | : |
มานิจ ทองประะเสริฐ , สมศรี จงรุ่งเรือง , วิทยา ยงเจริญ . (2526). การศึกษาผิวซีเล็กตีฟเพื่อใช้กับแผงรับแสงอาทิตย์.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. มานิจ ทองประะเสริฐ , สมศรี จงรุ่งเรือง , วิทยา ยงเจริญ . 2526. "การศึกษาผิวซีเล็กตีฟเพื่อใช้กับแผงรับแสงอาทิตย์".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. มานิจ ทองประะเสริฐ , สมศรี จงรุ่งเรือง , วิทยา ยงเจริญ . "การศึกษาผิวซีเล็กตีฟเพื่อใช้กับแผงรับแสงอาทิตย์."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526. Print. มานิจ ทองประะเสริฐ , สมศรี จงรุ่งเรือง , วิทยา ยงเจริญ . การศึกษาผิวซีเล็กตีฟเพื่อใช้กับแผงรับแสงอาทิตย์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2526.
|