ชื่อเรื่อง | : | การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการตั้งถิ่นฐานจากชุมชนน้ำสู่เมืองบก ในพื้นที่เมืองฝั่งธนบุรี |
นักวิจัย | : | กิติศักดิ์ วิทยาโกมลเลิศ, 2521- |
คำค้น | : | เมือง--การเจริญเติบโต , การตั้งถิ่นฐานมนุษย์ , ธนบุรี (กรุงเทพฯ) , ไทย--ประวัติศาสตร์--กรุงธนบุรี, 2310-2325 |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ขวัญสรวง อติโพธิ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741721056 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2315 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 ธนบุรี เป็นเมืองที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน จากลักษณะรูปแบบการตั้งถิ่นฐานจากเดิม คลองและแม่น้ำเป็นจุดกำเนิดของชุมชนต่างๆ ซึ่งอำนวยประโยชน์ต่อชุนชนทั้งความเป็นอยู่ สภาพวิถีชีวิต ที่อยู่อาศัย อาชีพ และขนบธรรมเนียมประเพณี ทั้งหมดเกี่ยวข้องผูกพันกับสายน้ำ รูปแบบดังกล่าวนั้นเป็นการดำรงชีวิตของชุมชนพึ่งน้ำ จนในปัจจุบันเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาประเทศ การพัฒนาถูกนำไปสู่การดำรงชีวิตของเมืองสมัยใหม่แบบ เมืองพึ่งบก ที่อยู่กับถนน อันเป็นรูปแบบของการตั้งถิ่นฐานจากพื้นฐานที่แตกต่างกัน การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์ศึกษาถึงลักษณะรูปแบบการตั้งถิ่นฐาน ที่เปลี่ยนแปลงของชุมชนที่เคยพึ่งน้ำ เป็นเมืองสมัยใหม่แบบเมืองพึ่งบก โดยแสดงให้เห็นถึงรูปแบบต่างๆ ของการเปลี่ยนแปลง จากนั้นจึงศึกษาเพื่อให้ได้ทราบถึงข้อดีและข้อเสีย ของรูปแบบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยขั้นตอนการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ในช่วงแรกจะศึกษาถึง เหตุแห่งการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพ ออกเป็น 11 ช่วงยุคที่ตามสาเหตุการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในพื้นที่ศึกษา ซึ่งเมื่อได้ทราบถึงลักษณะและรูปแบบการเปลี่ยนแปลงที่เป็นมาแล้ว จากนั้นจึงศึกษาต่อถึง ผลของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จากการเข้ามาของปัจจัยการดำรงชีวิตแบบเมืองบก ผ่านตัวอย่างชุมชนในพื้นที่ศึกษาทั้ง 11 แห่ง ผลจากการศึกษาทำให้ได้ทราบถึง ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงจากชุมชนพึ่งน้ำสู่เมืองพึ่งบก โดยเกิดจาก 1. บทบาทที่เป็นมาของพื้นที่ทั้งจากการเชื่อมโยงในระดับที่แตกต่างกัน 2. นโยบายและค่านิยมในแต่ละช่วงยุค 3. ปัจจัยทางกายภาพที่เปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติ และโดยฝีมือคน ทั้งหมดต่างผูกผันและเกี่ยวเนื่องกันมาโดยตลอด ทั้งในช่วงยุคเดียวกันและระหว่างช่วงยุค เป็นกระบวนการที่ส่งผลต่อเนื่องมาจนถึงในปัจจุบัน และได้ทราบถึงผลของปัจจัย การเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับบทบาทเดิมของพื้นที่ และสภาพทางกายภาพที่เปลี่ยนไป ทำให้ชี้แจ้งได้ถึงข้อดีและข้อเสีย ของแต่ละปัจจัยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งจากทั้งเหตุและผลของการเปลี่ยนแปลงที่ได้ทราบมานั้น ถือเป็นองค์ความรู้สำคัญที่เป็นแนวทางต่อไป ในการพัฒนาเมืองที่มีพื้นฐานเช่นเดียวกัน และได้สร้างทางเลือกในการพัฒนา เพื่อการรับมือต่อปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการพัฒนาเมือง ที่แตกต่างจากพื้นฐานเดิมของพื้นที่ อันเป็นข้อเท็จจริงในปัจจุบันและอนาคตที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป |
บรรณานุกรม | : |
กิติศักดิ์ วิทยาโกมลเลิศ, 2521- . (2545). การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการตั้งถิ่นฐานจากชุมชนน้ำสู่เมืองบก ในพื้นที่เมืองฝั่งธนบุรี.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กิติศักดิ์ วิทยาโกมลเลิศ, 2521- . 2545. "การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการตั้งถิ่นฐานจากชุมชนน้ำสู่เมืองบก ในพื้นที่เมืองฝั่งธนบุรี".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กิติศักดิ์ วิทยาโกมลเลิศ, 2521- . "การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการตั้งถิ่นฐานจากชุมชนน้ำสู่เมืองบก ในพื้นที่เมืองฝั่งธนบุรี."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. กิติศักดิ์ วิทยาโกมลเลิศ, 2521- . การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการตั้งถิ่นฐานจากชุมชนน้ำสู่เมืองบก ในพื้นที่เมืองฝั่งธนบุรี. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|