ชื่อเรื่อง | : | การใช้พื้นที่อยู่อาศัยของชุมชนที่ถูกรื้อย้ายจากบ้านใต้สะพานในกรุงเทพมหานคร |
นักวิจัย | : | ศุภชัย ถาวรสุภเจริญ, 2514- |
คำค้น | : | การใช้ที่ดิน--ไทย--กรุงเทพฯ , การย้ายที่อยู่อาศัย , ที่ว่าง (สถาปัตยกรรม) |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ชวลิต นิตยะ , กุลฑลทิพย พานิชภักดิ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741711433 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2308 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 ในปี พ.ศ. 2544 ได้มีการรื้อย้ายชุมชนใต้สะพานในเขตกรุงเทพมหานครให้มาอยู่ในชุมชนประชาอุทิศ, ชุมชนอ่อนนุช 3 และชุมชนเพิ่มสิน-ออเงิน ซึ่งเป็นพื้นที่ว่างที่ทางการเคหะแห่งชาติจัดซื้อ, แบ่งขนาดแปลงที่ดินและก่อสร้างสาธารณูปโภคให้ โดยชุมชนมีส่วนร่วมคัดเลือกที่ดินและเป็นผู้สร้างที่อยู่อาศัยของตนเอง เนื่องจากเดิมเมื่ออยู่ใต้สะพานผู้อยู่อาศัยเป็นผู้มีรายได้น้อย มีการใช้พื้นที่อยู่อาศัยแบบจำกัด ในการศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้พื้นที่อยู่อาศัย และศึกษาความสัมพันธ์ของการใช้พื้นที่อยู่อาศัยกับสภาพเศรษฐกิจ และสังคมของชุมชนที่ถูกรื้อย้ายจากใต้สะพานมาอยู่ในที่อยู่อาศัยแห่งใหม่ที่กำหนดให้ เพื่อนำมาใช้เป็นข้อพิจารณาในการวางแผนการใช้พื้นที่อยู่อาศัยสำหรับการรื้อย้ายของชุมชนผู้มีรายได้น้อยที่มีลักษณะเช่นนี้ในครั้งต่อไป ในการวิจัยนี้เป็นการศึกษาข้อมูลภาคสนามจากการสังเกต เขียนแบบร่าง ภาพถ่าย พร้อมๆ กับการสัมภาษณ์ รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้วิจัยที่ทำการศึกษาชุมชนที่ถูกรื้อย้ายมาจากชุมชนใต้สะพานมาอยู่ ณ ที่แห่งใหม่ทั้ง 3 แห่ง โดยลงทำการศึกษาเป็นเวลา 9 เดือน จากการศึกษาพบว่า พื้นที่ภายในบ้านมีส่วนประกอบคือส่วนนอน ส่วนนั่งเล่น พักผ่อน ส่วนรับประทานอาหาร ส่วนเก็บของ โดยมีส่วนประกอบหลักของบ้านเพิ่มขึ้นจากที่อยู่อาศัยเดิม และชุมชนแออัด โดยลักษณะอาคารเป็นแบบกึ่งเปิดโล่งแบบมีห้องน้ำ ซึ่งแตกต่างจากเมื่อครั้งอยู่ใต้สะพานอย่างชัดเจน แต่จะเป็นลักษณะอาคารที่เห็นทั่วไปของชุมชนผู้มีรายได้น้อย นอกจากนี้ยังพบว่า มีการใช้พื้นที่นอกแปลงที่ดินตนเองมากถึงร้อยละ 79.01 ใช้สำหรับตากผ้า ซักล้าง เก็บเครื่องมือประกอบอาชีพ รวมถึง เก็บวัสดุก่อสร้าง ซึ่งเป็นการใช้พื้นที่ว่างที่ไม่มีการครอบครองสิทธิ บ้านชั้นเดียวในชุมชนใหม่มีพื้นที่เฉลี่ย 32.81 ตร.ม./หลัง คิดเป็น 8.62 ตร.ม./คน โดยมีมิติของตัวบ้านเฉลี่ย 4.87 x 6.51 เมตร โดยบ้านชั้นเดียวที่มีขนาดเล็กที่สุดมีพื้นที่ 5.11 ตร.ม./คน และบ้าน 2 ชั้นชุมชนใหม่มีพื้นที่เฉลี่ย 79.01 ตร.ม./หลัง คิดเป็น 14.96 ตร.ม./คน มีมิติของตัวบ้านเฉลี่ย 5.83 x 6.85 เมตร โดยที่บ้าน 2 ชั้นที่มีขนาดเล็กที่สุดจะมีพื้นที่ 7.36 ตร.ม./คน ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ และสังคมที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้พื้นที่อยู่อาศัยมากที่สุด คือ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน, ลักษณะอาชีพ และการประกอบอาชีพ, ความสามารถในการหาเงินมาใช้เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย จากการวิจัยนี้เห็นว่า ควรมีการกำหนดขอบเขตแปลงที่ดินให้ชัดเจน และป้องกันการรุกล้ำแปลงที่ดินอื่น ในด้านการวางแผนแบ่งแปลงที่ดินควรมีการศึกษาลักษณะอาชีพและจำนวนผู้อยู่อาศัยเพื่อให้สอดคล้องกับการขนาดของพื้นที่อยู่อาศัยด้วย ควรมีผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและก่อสร้างอาคารให้คำปรึกษาในช่วงการดำเนินการสร้างบ้าน รวมถึงมีการปรับปรุงมาตรฐานหรือกฎหมายที่เกี่ยวกับขนาดพื้นที่อยู่อาศัยแก่ชุมชนผู้มีรายได้น้อย โดยเทียบกับจำนวนผู้อยู่อาศัย และใช้การศึกษาวิจัยนี้ประกอบ เพื่อให้มาตรฐานดังกล่าวสอดคล้องกับสภาพของผู้มีรายได้น้อย |
บรรณานุกรม | : |
ศุภชัย ถาวรสุภเจริญ, 2514- . (2545). การใช้พื้นที่อยู่อาศัยของชุมชนที่ถูกรื้อย้ายจากบ้านใต้สะพานในกรุงเทพมหานคร.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศุภชัย ถาวรสุภเจริญ, 2514- . 2545. "การใช้พื้นที่อยู่อาศัยของชุมชนที่ถูกรื้อย้ายจากบ้านใต้สะพานในกรุงเทพมหานคร".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศุภชัย ถาวรสุภเจริญ, 2514- . "การใช้พื้นที่อยู่อาศัยของชุมชนที่ถูกรื้อย้ายจากบ้านใต้สะพานในกรุงเทพมหานคร."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. ศุภชัย ถาวรสุภเจริญ, 2514- . การใช้พื้นที่อยู่อาศัยของชุมชนที่ถูกรื้อย้ายจากบ้านใต้สะพานในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|