ชื่อเรื่อง | : | การดูแลสุขภาพหญิงหลังคลอดด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน : กรณีศึกษาชุมชนมอญ วัดหงษ์ปทุมาวาส จังหวัดปทุมธานี |
นักวิจัย | : | กุสุมา ศรียากูล |
คำค้น | : | สุขภาพมารดา , ระยะหลังคลอด , การแพทย์แผนโบราณ , ชุมชนมอญ , ปทุมธานี |
หน่วยงาน | : | สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2549 |
อ้างอิง | : | ธรรมศาสตร์เวชสาร 6, 4 (ก.ย.-ธ.ค.2549) 425-433 , http://dspace.library.tu.ac.th/handle/3517/2549 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ความรู้ วิธีการปฏิบัติตนของหญิงหลังคลอดและวิเคราะห์วิธีการดูแลหญิงหลังคลอดด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านอย่างเป็นเหตุเป็นผล เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึกและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ ๑) หญิงหลังคลอด ๖-๘ สัปดาห์ จำนวน ๘ ราย และ ๒) ผู้ดูแลหญิงหลังคลอดที่ได้รับความเชื่อถือจากชุมชน จำนวน ๑ ราย ผลการศึกษาพบว่า หญิงหลังคลอดทั้ง ๘ ราย มีความเชื่อและได้รับคำแนะนำจากบรรพบุรุษเรื่องการดูแลหลังคลอดด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน โดยการอยู่ไฟ หรือนึ่งหม้อเกลือหลังคลอด จะช่วยให้ผิวพรรณดี ร่างกายแข็งแรง สัดส่วนของร่างกายได้รูปทรง ไม่เจ็บป่วยง่ายและสามารถทำงานหนักได้ จากการสัมภาษณ์ผู้ดูแลหญิงหลังคลอด พบว่า ผู้ดูแลหญิงหลังคลอดมีความรู้ความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของวิธีการและประโยชน์อย่างชัดเจน โดยได้รับองค์ความรู้ดังกล่าวมาจากบรรพบุรุษและยังคงถือปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบันและได้มีการประยุกต์วิธีการให้สอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม โดยมีการประยุกต์บางขั้นตอนให้สะดวกยิ่งขึ้น แต่หลักการยังคงเดิม และเมื่อนำวิธีการในการดูแลหญิงหลังคลอดมาวิเคราะห์เชิงเหตุผล พบว่า การดูแลหญิงหลังคลอดด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านสามารถอธิบายได้ ดังนี้ การนวดตัว ช่วยเพิ่มขบวนการเมตาบอลิซึมในร่างกาย อาจสามารถลดการคั่งของของเสียและไขมันได้ การประคบร้อนด้วยสมุนไพรช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ลดอาการคัดเต้านม การทาผิวและประคบสมุนไพร ตัวยาสมุนไพรในลูกประคบเช่น ไพล ขมิ้นชัน เป็นกลุ่มที่มีสารเคอร์คูมินอยด์ จะออกฤทธิ์ได้ดีเมื่อถูกความร้อนกลายเป็นน้ำมันหอมระเหย ซึ่งช่วยลดผื่นคัน และลดปวด และคลายกล้ามเนื้อ ส่วนใบมะขาม มีกรดผลไม้ ช่วยกระตุ้นผิวหนัง ชั้นหนังกำพร้าให้ลอกตัวเร็วขึ้น ทำให้ผิวขาวใส และลบรอยดำที่เกิดจากฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์ การประคบสมุนไพรที่มีความร้อนและการกดแรงๆ ร่วมกับการดื่มน้ำอุ่นมากๆ ช่วยกระตุ้นการขับของเสียออกจากเซลล์ และการแลกเปลี่ยนสารเกลือแร่ในร่างกายได้มากขึ้น อาจช่วยลดภาวะตะคริวหลังคลอดได้ การเข้ากระโจม จัดเป็นการส่งเสริมประสิทธิผลของกระบวนการดูแลหลังคลอดในทุกขั้นตอน เนื่องจากการเข้ากระโจมเป็นการใช้ความร้อนชื้นร่วมกับสมุนไพรส่งผลให้มีการขับถ่ายของเสียทางผิวหนังมากขึ้น นอกจากนั้นกลิ่นของสมุนไพรทำให้หญิงหลังคลอดคลายเครียดและสดชื่น ในขณะเข้ากระโจมจนมีการนั่งถ่าน ซึ่งใช้ความร้อนและตัวยาสมุนไพรกลุ่มที่มีสารเคอร์คูมินอยด์ สามารถช่วยให้แผลฝีเย็บแห้ง ลดอาการบวม ลดอาการปวด และแผลหายเร็วขึ้น ส่วนความพึงพอใจของหญิงหลังคลอด พบว่า ทุกคนมีความพึงพอใจ ทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ หลังจากได้รับบริการดูแลหลังคลอด ได้แก่ ลดอาการปวดเกร็งหน้าขา ปวดหลังปวดเอวขณะให้นมลูก หน้าใสผิวสวย ผิวพรรณของร่างกายผุดผ่อง มีน้ามีนวล หน้าอกนิ่มลง ลูกสามารถดูดนมได้ สะโพกเล็กลง สัดส่วนของร่างกายกลับคืนสภาพเดิมอย่างรวดเร็ว |
บรรณานุกรม | : |
กุสุมา ศรียากูล . (2549). การดูแลสุขภาพหญิงหลังคลอดด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน : กรณีศึกษาชุมชนมอญ วัดหงษ์ปทุมาวาส จังหวัดปทุมธานี.
กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ . กุสุมา ศรียากูล . 2549. "การดูแลสุขภาพหญิงหลังคลอดด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน : กรณีศึกษาชุมชนมอญ วัดหงษ์ปทุมาวาส จังหวัดปทุมธานี".
กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ . กุสุมา ศรียากูล . "การดูแลสุขภาพหญิงหลังคลอดด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน : กรณีศึกษาชุมชนมอญ วัดหงษ์ปทุมาวาส จังหวัดปทุมธานี."
กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , 2549. Print. กุสุมา ศรียากูล . การดูแลสุขภาพหญิงหลังคลอดด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน : กรณีศึกษาชุมชนมอญ วัดหงษ์ปทุมาวาส จังหวัดปทุมธานี. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ; 2549.
|