ชื่อเรื่อง | : | ผลกระทบเนื่องจากความไม่ต่อเนื่องในหิน ที่มีต่อการระเบิดและการสั่นสะเทือน |
นักวิจัย | : | สง่า ตั้งชวาล , ฉดับ ปัทมสูต |
คำค้น | : | การระเบิด , การสั่นสะเทือน--การวัด , หิน--รอยแยก |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม |
ปีพิมพ์ | : | 2539 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2239 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | ปัญหาของความไม่ต่อเนื่องในมวลหิน ; การวิเคราะห์ในเรื่องการแตกหักของหิน ; การวิเคราะห์ในเรื่องผลกระทบจากการสั่นสะเทือน -- การวิเคราะห์ข้อมูลความไม่ต่อเนื่อง : หลักการของ Stereographic Projection ; การวิเคราะห์ clusters ของความไม่ต่อเนื่อง ; การตัดสินใจขั้นสุดท้ายของข้อมูลไม่ต่อเนื่องที่ได้วิเคราะห์ ; การวิเคราะห์การกระตุ้นของอิมพัลส์ : การวิเคราะห์ปัญหาคลื่นการสั่นสะเทือนในระบบ SDF ; การวิเคราะห์ปัญหาคลื่นการสั่นสะเทือนในระบบ N-DOF -- การสั่นสะเทือนเนื่องจากการระเบิด : พารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการสั่นสะเทือน ; การประเมินระดับการสั่นสะเทือน ; มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับการกำหนดค่าการสั่นสะเทือน -- เสียงดังจากการระเบิด หินปลิว และควันก๊าซพิษ -- การวัดขนาดการแตกหักของหินในภาคสนาม ; การวิเคราะห์เปรียบเทียบการแตกหักของหิน ; การตรวจวัดการสั่นสะเทือนจากการระเบิดในภาคสนาม ; การตรวจวัด Air Blast ในภาคสนาม -- แบบจำลองการคาดคะเนการสั่นสะเทือนของอนุภาค ; โปรแกรมแบบจำลองการสั่นสะเทือนและผลกระทบการระเบิดหิน ; การสรุปผลกระทบของการสั่นสะเทือนและผลกระทบของตัวแปรอื่น ; การตัดสินใจขั้นสุดท้ายในการเลือกช่วงระยะความปลอดภัย -- ชนิดของตัวแปรจากงานระเบิด ; ข้อเสนอแนะแนวทางควบคุมปัญหาผลกระทบและความเสียหาย ; การควบคุมผลกระทบและความเสียหายเพิ่มเติม การประยุกต์วิธีการหาค่าเฉลี่ยที่แท้จริงของระนาบความไม่ต่อเนื่องของมวลหินในภาคสนามได้ถูกนำเสนอเพื่อวิเคราะห์เชิงสถิติของความถูกต้องแม่นยำของ spherical distribution data ทฤษฎีเบื้องต้นของการสั่นสะเทือนและหลักการคำนวณในภาวะ Single Degree of Freedom และ Multi-Degree of Freedom ได้ถูกนำมาทบทวน คณะผู้วิจัยได้รวบรวมสมการแบบจำลองการสั่นสะเทือนหลายรูปแบบ เพื่อความรวดเร็วและแม่นยำ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ภาษาซี (C) ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อคาดคะเนผลการสั่นสะเทือนและผลกระทบอื่นต่อสิ่งแวดล้อมจากการระเบิดหิน ขั้นตอนสุดท้ายของการตัดสินใจหาค่าช่วงระยะปลอดภัยจากผลกระทบต่างๆ ได้มีการวิเคราะห์ตัวแปรหลายชนิดอย่างเป็นขั้นตอน ในบทสรุปได้มีการเสนอแนะแนวทางควบคุมและลดผลกระทบของการสั่นสะเทือนจากการใช้วัตถุระเบิดในเหมืองหินแบบขั้นบันไดอีกด้วย |
บรรณานุกรม | : |
สง่า ตั้งชวาล , ฉดับ ปัทมสูต . (2539). ผลกระทบเนื่องจากความไม่ต่อเนื่องในหิน ที่มีต่อการระเบิดและการสั่นสะเทือน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สง่า ตั้งชวาล , ฉดับ ปัทมสูต . 2539. "ผลกระทบเนื่องจากความไม่ต่อเนื่องในหิน ที่มีต่อการระเบิดและการสั่นสะเทือน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สง่า ตั้งชวาล , ฉดับ ปัทมสูต . "ผลกระทบเนื่องจากความไม่ต่อเนื่องในหิน ที่มีต่อการระเบิดและการสั่นสะเทือน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539. Print. สง่า ตั้งชวาล , ฉดับ ปัทมสูต . ผลกระทบเนื่องจากความไม่ต่อเนื่องในหิน ที่มีต่อการระเบิดและการสั่นสะเทือน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2539.
|