ชื่อเรื่อง | : | การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยที่ได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ |
นักวิจัย | : | ณัฎฐดา อารีเปี่ยม, 2517- |
คำค้น | : | การบริบาลทางเภสัชกรรม , การให้อาหารทางหลอดเลือด |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สมฤทัย วัชราวิวัฒน์ , กมลศักดิ์ เรืองเจริญรุ่ง , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9745320854 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2096 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดเนื่องจากยาที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่ได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำ และรวมทั้งศึกษาเกี่ยวกับ ข้อบ่งใช้ ความเหมาะสมของพลังงานและสารอาหารที่ผู้ป่วยได้รับ ภาวะแทรกซ้อน ประสิทธิผล และแนวโน้มการยอมรับของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องเมื่อเภสัชกรให้ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ในผู้ป่วย 82 รายที่ได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ระหว่างเดือนมีนาคม ถึง ธันวาคม 2547 พบว่าส่วนใหญ่ 42 ราย (ร้อยละ 51.2) เป็นชาย มีอายุเฉลี่ย 58+-13 ปี โรคที่พบมากที่สุดได้แก่โรคมะเร็ง 39 ราย (ร้อยละ 47.6) และโรคที่พบมากเป็นลำดับที่ 2 ได้แก่ โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร พบในผู้ป่วยจำนวน 19 ราย (ร้อยละ 23.2) ผู้ป่วยทั้งหมดได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำ 122 ครั้ง 98 ครั้ง (ร้อยละ 80) เป็นการให้สารอาหารบางส่วนทางหลอดเลือดดำ และ 24 ครั้งเป็นการให้สารอาหารทั้งหมดทางหลอดเลือดดำ พบว่า สารอาหารบางส่วนทางหลอดเลือดดำส่วนใหญ่ (ร้อยละ 31.6) ถูกสั่งใช้ในผู้ป่วยที่ได้รับอาหารจากทางเดินอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการ พบว่าผู้ป่วยได้รับพลังงานเพียงพอและโปรตีนเหมาะสมกับความต้องการร้อยละ 41.8 ของการให้สารอาหารบางส่วนทางหลอดเลือดดำ ภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุดหลังจากได้รับสารอาหารบางส่วนทางหลอดเลือดดำคือ ภาวะโซเดียมและโพแทสเซียมต่ำซึ่งเกิดขึ้นในระดับที่ไม่รุนแรง สำหรับสารอาหารทั้งหมดทางหลอดเลือดดำถูกสั่งใช้ในผู้ป่วยที่เกิดการอุดตันในทางเดินอาหารเป็นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 29.2) ผู้ป่วยทุกรายได้รับพลังงานและสารอาหารเพียงพอกับความต้องการ ภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุดหลังได้รับสารอาหารทางทั้งหมดหลอดเลือดดำคือภาวะไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์ ซึ่งเกิดขึ้นทั้งหมด 89 ครั้ง และสามารถประเมินประสิทธิผลของการให้สารอาหารทั้งหมดทางหลอดเลือดดำจากการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักได้จากการให้สารอาหารทั้งหมดทางหลอดเลือดดำ 13 ครั้งซึ่งพบว่าน้ำหนักของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 2 ครั้ง และพบว่าผู้ป่วยสามารถกลับมารับอาหารทางทางเดินอาหารได้ 9 ครั้ง ในการศึกษานี้เภสัชกรปัญหาที่เกิดเนื่องจากยาทั้งสิ้น 454 ครั้ง เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ 372 ครั้ง (ร้อยละ 81.9) และเป็นปัญหาที่เกิดเนื่องจากยาอื่น 81 ครั้ง (ร้อยละ 18.1) เภสัชกรให้ข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขและป้องกันปัญหาทั้งสิ้น 154 ครั้ง เป็นการเสนอแนะเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ 117 ครั้ง (ร้อยละ 76) และปัญหาที่เกิดเนื้องจากยาอื้น 37 ครั้ง (ร้อยละ 24) เป็นการให้ข้อเสนอแนะแก่แพทย์ 68 ครั้ง ได้รับการยอมรับ 41 ครั้ง เป็นเข้อเสนอแนะที่ให้แก่พยาบาลและโภชนาการซึ่งได้รับการยอมรับทั้งหมดจำนวน 74 ครั้ง และ 12 ครั้ง ตามลำดับ จากผลการศึกษา เ ภสัชกรพบปัญหาที่เกิดเนื้องจากยาที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่ได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำจำนวนมากและสามารถให้ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาแก่บุคลากรทางการแพทย์ที่ร่วมกันดูแลรักษาผู้ป่วยซึ่ข้อเสนอแนะส่วนใหญ่ของเภสัชกรได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี การบริบาลทางเภสัชกรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญและเป็นความต้องการของผู้ป่วยกลุ่มนี้ จึงควรมีเภสัชกรปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ โดยมีการวางแผนอย่างดีและดำเนินงานร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์อื่น ๆ เพื้อค้นหา ป้องกัน และแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับยาที่อาจพบได้ในผู้ป่วยที่ได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำ |
บรรณานุกรม | : |
ณัฎฐดา อารีเปี่ยม, 2517- . (2547). การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยที่ได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ณัฎฐดา อารีเปี่ยม, 2517- . 2547. "การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยที่ได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ณัฎฐดา อารีเปี่ยม, 2517- . "การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยที่ได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. ณัฎฐดา อารีเปี่ยม, 2517- . การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยที่ได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|