ชื่อเรื่อง | : | การให้ความรู้โดยเภสัชกรต่อความร่วมมือในการใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ ณ โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต |
นักวิจัย | : | ศุทธินี ตันพงศ์เจริญ |
คำค้น | : | โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต , สารต้านไวรัส , โรคเอดส์--การรักษาด้วยยา , เภสัชกร , โรคเอดส์ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | พรอนงค์ อร่ามวิทย์ , ยุคลธร จิรพงศ์ทักษ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741750374 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2067 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลของการให้ความรู้ที่มีต่อความร่วมมือของผู้ป่วยในการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ และผลของการให้ความรู้ที่มีต่อระดับความรู้ และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยทำการศึกษาในผู้ป่วยนอกโรคติดเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์ โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ระหว่างเดือนธันวาคม 2546 ถึงเดือนมีนาคม 2547 จำนวน 50 ราย ผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ย 35.08+-6.72 ปี สัดส่วนเพศชายใกล้เคียงกับเพศหญิง ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีจากการมีเพศสัมพันธ์ ระดับความรุนแรงของโรคก่อนเริ่มต้นรักษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับ C3 และ B3 ค่าซีดีโฟร์เซลล์เฉลี่ย 83.86+-63.69 เซลล์/มคล. ผู้ป่วยร้อยละ 72 มีประวัติเคยเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาส โดยโรคติดเชื้อฉวยโอกาสที่พบมาก 3 ลำดับแรก ได้แก่ เชื้อราในช่องปาก, ปอดอักเสบจากเชื้อ Pneumocystis carinii และวัณโรคปอด ขณะที่เริ่มต้นการวิจัยผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันของร่างกายเพิ่มขึ้นจากเริ่มต้น โดยมีค่าซีดีโฟร์เซลล์เฉลี่ย จากการตรวจครั้งหลักสุดเมื่อเริ่มการวิจัย เท่ากับ 318.87+-219.95 เซลล์/มคล. และมีผู้ป่วยเพียงร้อยละ 8 เท่านั้นที่ยังคงมีโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ยาต้านไวรัสเอดส์ที่ผู้ป่วยทุกคนได้รับ คือ GPO-Vir(R) ซึ่งเป็นยาสูตร HAART ใน 1 เม็ด ประกอบด้วยยา 3 ชนิด คือ Stavudine (d4T), Lamivudine (3TC) และ Nevirapine ระยะเวลาเฉลี่ยที่ผู้ป่วยเริ่มได้รับยาครั้งแรก จนถึงวันแรกที่เริ่มเก็บข้อมูลเท่ากับ 9.34+-6.64 เดือน นอกจากยาต้านไวรัสเอดส์แล้วผู้ป่วยยังได้รับยาป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาส และยาบำรุงร่วมด้วย โดยผู้ป่วยได้รับยาทั้งสิ้นเฉลี่ย 3.93+-1.68 ขนาน จำนวนเม็ดยาเฉลี่ย 5.34+-1.84 เม็ดต่อวัน และมีความถี่ในการรับประทานยาวันละ 2 ครั้ง ยาป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาสที่ผู้ป่วยได้รับ คือ Cotrimoxazole และ Fluconazole หลังจากผู้ป่วยได้เข้าโปรแกรมการให้ความรู้ และคำแนะนำปรึกษาโดยเภสัชกรเป็นจำนวน 2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันเฉลี่ยประมาณ 29 วัน ผลการวิจัยพบว่า คะแนนความรู้ของผู้ป่วยเกี่ยวกับภาวะโรคและยาสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อย่างไรก็ตามคะแนนคุณภาพชีวิตทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตในช่วง 3 เดือนไม่แตกต่างกัน สำหรับสัดส่วนของผู้ป่วยที่ให้ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังให้ความรู้ครบ 2 ครั้ง (p<0.05) และแม้ในช่วงให้ความรู้ครั้งแรกสัดส่วนของผู้ป่วยที่ให้ความร่วมมือและไม่ให้ความร่วมมือจะไม่แตกต่างกัน แต่ผู้ป่วยก็มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงความร่วมมือไปในทางบวก และปัจจัยที่มีผลต่อความร่วมมือในการใช้ยาตามสั่ง คือ คะแนนคุณภาพด้านสุขภาพจิต (OR = 1.1) ... |
บรรณานุกรม | : |
ศุทธินี ตันพงศ์เจริญ . (2546). การให้ความรู้โดยเภสัชกรต่อความร่วมมือในการใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ ณ โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศุทธินี ตันพงศ์เจริญ . 2546. "การให้ความรู้โดยเภสัชกรต่อความร่วมมือในการใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ ณ โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศุทธินี ตันพงศ์เจริญ . "การให้ความรู้โดยเภสัชกรต่อความร่วมมือในการใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ ณ โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. ศุทธินี ตันพงศ์เจริญ . การให้ความรู้โดยเภสัชกรต่อความร่วมมือในการใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ ณ โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|